Remove ads

คิตตีจีวายเอ็ม (อังกฤษ: Kitty GYM) เป็นวงชั่วคราวที่ก่อตั้งใน ค.ศ. 2006 เพื่อสนับสนุนวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2006[1] สมาชิกในกลุ่มได้แก่โทโมฮิซะ ยามาชิตะจากวงนิวส์ กอล์ฟ-ไมค์ คู่ป็อปจากไทย และสมาชิกวงคิตตี (ฮิโรมิตสึ คาตายามะ, เค อิโนโอะ, โชตะ ทตสึกะ และฮิการุ ยาโอโตเมะ) ของจอห์นนีส์จูเนียร์ ชื่อกลุ่มมาจากตัวอักษรแรกของนามสกุลสมาชิก และนามแฝงของสมาชิกชาวไทย

ข้อมูลเบื้องต้น คิตตีจีวายเอ็ม, รู้จักในชื่อ ...
คิตตีจีวายเอ็ม
รู้จักในชื่อGYM
ที่เกิดญี่ปุ่น
แนวเพลงป็อป
ช่วงปี2006
ค่ายเพลงจอห์นนีและสหาย
อดีตสมาชิก
ปิด

ในวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 จีวายเอ็ม (กอล์ฟ, ยามาชิตะ และไมค์) จัดงานที่เอ็นเอชเค ฮอลล์และแสดง "ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" ครั้งแรก[2] โดยเพลงนี้ถูกใช้เป็นเพลงหลักในการถ่ายทอดสดวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2006 ของช่องฟูจิเทเลวิชัน[3]

วงนี้ปล่อยเพลงแค่อันเดียวคือ "ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" ในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2006[4] ซึ่งรวมเพลงเดี่ยวโดยโทโมฮิซะ ยามาชิตะ และเพลงคู่โดยกอล์ฟ-ไมค์[5] ภายใต้ชื่อวง "จีวายเอ็ม" โดยติดท็อปในโอริคอนซิงเกิลชาร์ตในสัปดาห์ของวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2006.[6] ในเดือนเดียวกัน สมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงแห่งญี่ปุ่นได้ให้ใบรับรองแพลตตินัมสำหรับการขายเพลงไป 250,000 หน่วย[7] จากนั้นจึงขายมากกว่า 300,000 ฉบับ ทำให้เป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดประจำปีในอันดับ 25 ของประเทศญี่ปุ่น[8] ซิงเกิลนี้เผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2006 และไต้หวันในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2006[9]

นับตั้งแต่วันยุบวง สมาชิกทั้งหมดมีอาชีพทางดนตรีที่ดี โดยเค อิโนโอะกับฮิการุ ยาโอโตเมะเปิดตัวเป็นสมาชิกเฮย์! เซย์! จัมป์ใน ค.ศ. 2007[10] กอล์ฟ-ไมค์ยุบวงใน ค.ศ. 2010 และกลายเป็นนักร้องเดี่ยว ฮิโรมิตสึ คาตายามะเปิดตัวเป็นสมาชิกKis-My-Ft2ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011[11] โทโมฮิซะ ยามาชิตะออกจากวงนิวส์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011 เพื่อไปทำอาชีพเดี่ยว[12] และโชตะ ทตสึกะเปิดตัวเป็นสมาชิกในวง A.B.C-Z ใน ค.ศ. 2012[13]

Remove ads

"ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์"

ข้อมูลเบื้องต้น "ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์", ซิงเกิลโดยจีวายเอ็ม ...
"ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์"
ซิงเกิลโดยจีวายเอ็ม
ภาษาญี่ปุ่น
วางจำหน่าย30 สิงหาคม ค.ศ. 2006 (2006-08-30)
แนวเพลง
ความยาว19:12[14]
ค่ายเพลงจอห์นนีและสหาย
ผู้ประพันธ์เพลง
  • A to Z
  • H.U.B.
  • ชิง ทานิโมโตะ
ปิด

"ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" (Fever to Future) เป็นซิงเกิลของจีวายเอ็ม โดยเผยแพร่ในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ผ่านจอห์นนีและสหาย[14] "ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" แต่งโดย A to Z, H.U.B. และชิง ทานิโมโตะ และเรียบเรียงโดยนาโอยะ คูโรซาวะและชุนซูเกะ ยาบูกิ เป็นเพลงแดนซ์อัปเท็มโป[2]

แทร็ก

ข้อมูลเพิ่มเติม ลำดับ, ชื่อเพลง ...
ลำดับชื่อเพลงเนื้อเพลงทำนองยาว
1."ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์"
  • A to Z
  • H.U.B.
ชิง ทานิโมโตะ3:51
2."โฮกาโงะ บลูส์" (เดี่ยวของยามาชิตะ)โทโมฮิซะ ยามาชิตะยามาชิตะ4:05
3."รันฟอร์ยัวร์เลิฟ" (คู่ของกอล์ฟ-ไมค์)
  • Shusui
  • Stefan Åberg
  • Shusui
  • Åberg
3:51
4."มายแองเจิล"
  • ริตสึโกะ ยาโตะ
  • Zopp
  • Shusui
  • Axel Bellinder
  • Stefan Engblom
  • Per Lundberg
3:13
5."ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" (เสียงดนตรี) ทานิโมโตะ3:52
ความยาวทั้งหมด:19:12
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม ลำดับ, ชื่อเพลง ...
ลิมิเตดอิดิชัน
ลำดับชื่อเพลงเนื้อเพลงทำนองยาว
1."ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์"
  • A to Z
  • H.U.B.
ทานิโมโตะ3:51
2."โอกาโงะ บลูส์" (เดี่ยวของยามาชิตะ)ยามาชิตะยามาชิตะ4:05
3."รันฟอร์ยัวร์เลิฟ" (กอลฟ์-ไมค์)
  • Shusui
  • Åberg
  • Shusui
  • Åberg
3:51
ความยาวทั้งหมด:11:58
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม ลำดับ, ชื่อเพลง ...
ลิมิเตดอิดิชัน – ดีวีดี
ลำดับชื่อเพลงยาว
1."ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" (มิวสิกวิดีโอ) 
2."การจัดทำฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" 
3."การสัมภาษณ์พิเศษ" 
ความยาวทั้งหมด:20:00
ปิด
Remove ads

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.

Remove ads