ฮะดีษ บ้างก็สะกด หะดีษ, หาดีษ, ฮาดีษ (อาหรับ: حديث, ฮะดีษ, พหุ. อะฮาดีษ, أحاديث[1], แปลว่า"คำพูด" หรือ "วาทกรรม") หรือ อะษัร[2] (อาหรับ: أثر, แปลว่า"ส่วนที่เหลือ"/"ผลกระทบ") สื่อถึงสิ่งที่มุสลิมและสำนักแนวคิดอิสลามสายหลักส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นบันทึกคำพูด การกระทำ และการยอมรับของนบีมุฮัมมัดที่ถ่ายทอดผ่านสายรายงาน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ฮะดีษคือสายรายงานที่ระบุถึงสิ่งที่นบี มุฮัมมัดเคยพูดและทำ[3]

บางคนกล่าวถึงฮะดีษเป็น "กระดูกสันหลัง" ของอารยธรรมอิสลาม[4] และสำหรับหลายคนถือว่าอำนาจของฮะดีษเป็นแหล่งนำทางทางศาสนาและศีลธรรมที่มีชื่อเรียกว่า ซุนนะฮ์ ซึ่งเป็นรองเพียงอัลกุรอาน[5] (ซึ่งมุสลิมเชื่อว่าเป็นดำรัสจากพระเจ้าที่ประทานแก่มุฮัมมัด) มุสลิมส่วนใหญ่เชื่อว่าอำนาจในคัมภีร์สำหรับฮะดีษมาจากอัลกุรอานที่กำชับให้มุสลิมทำตามแบบอย่างของมุฮัมมัดและเชื่อฟังคำตัดสินของท่าน (ดังปรากฏในซูเราะฮ์ที่ 24:54 และ 33:21)

เอกสารตัวเขียนหัวข้องานเขียนกฎหมายอิสลาม (ชะรีอะฮ์) ของอิบน์ ฮันบัล ผลิตในเดือนตุลาคม ค.ศ. 879

ในขณะที่โองการที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายในอัลกุรอานมีจำนวนค่อนข้างน้อย แต่หลายคนถือว่าฮะดีษเป็นแนวทางสำหรับทุกสิ่ง ตั้งแต่รายละเอียดของภาระหน้าที่ทางศาสนา (เช่น ฆุสล์ หรือ วุฎูอ์, การทำน้ำละหมาด[6]เพื่อละหมาด) จนถึงวิธีการเคารพที่ถูกต้อง[7] และความสำคัญของความเมตตากรุณาต่อทาส[8] ดังนั้น สำหรับหลายคนถือว่ากฎหมายชะรีอะฮ์ (กฎหมายอิสลาม) "จำนวนมาก" มีที่มาจากฮะดีษมากกว่าอัลกุรอาน[9][Note 1]

ฮะดีษเป็นคำศัพท์ภาษาอาหรับที่หมายถึงคำพูด รายงาน บันทึก เรื่องเล่า[1][11][12]:471 ซึ่งมีความแตกต่างจากอัลกุรอานตรงที่ มุสลิมทุกคนไม่เชื่อว่ารายงานฮะดีษ (หรืออย่างน้องก็ไม่ใช่บันทึกฮะดีษทั้งหมด) ได้รับการประทานจากพระเจ้า ชุดสะสมฮะดีษที่แตกต่างกันจะนำมาซึ่งความแตกต่างในสาขาต่าง ๆ ของความเชื่ออิสลาม[13] มุสลิมบางส่วนเชื่อว่าแนวทางอิสลามควรอิงตามอัลกุรอานเท่านั้น จึงปฏิเสธอำนาจของฮะดีษ บางคนถึงขั้นอ้างว่าฮะดีษส่วนใหญ่ถูกแต่งขึ้นมา (pseudepigrapha)[14] ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึง 9 และระบุอย่างผิด ๆ ว่ามาจากมุฮัมมัด[14][15][16] ในอดีต กลุ่มอัลมัวะอ์ตะซิละฮ์ก็ปฏิเสธฮะดีษที่เป็นพื้นฐานสำหรับกฎหมายอิสลาม แต่ยอมรับซุนนะฮ์และอิจญ์มาอ์[17]

เนื่องจากฮะดีษบางส่วนมีข้อความที่น่าสงสัยและขัดแย้งกัน การรับรองความถูกต้องของฮะดีษจึงกลายเป็นสาขาวิชาหลักในศาสนาอิสลาม[18] โดยในรูปแบบคลาสสิก ฮะดีษประกอบด้วยสองส่วน สายผู้รายงานที่ส่งผ่านรายงาน (อิสนัด) อลัข้อความหลักของรายงาน (มัตน์)[19][20][21][22][23] นักกฎหมายมุสลิมและมุสลิมที่สอนศาสนาจำแนกฮะดีษตามบุคคลได้เป็นหมวดหมู่ เช่น เศาะเฮียะห์ ("แท้"), ฮะซัน ("ดี") หรือ เฎาะอีฟ ("อ่อน")[24] อย่างไรก็ตาม นักวิชาการและกลุ่มต่าง ๆ จัดประเภทฮะดีษไม่เหมือนกัน

ในบรรดานักวิชาการของศาสนาอิสลามนิกายซุนนี คำว่าฮะดีษไม่ได้มีเพียงคำพูด คำแนพนำ การปฏิบัติ ฯลฯ ของมุฮัมมัดเท่านั้น แต่ยังรวมของผู้ติดตามท่านด้วย[25][26] ส่วนชีอะฮ์ถือว่าฮะดีษเป็นศูนย์รวมซุนนะฮ์ คำพูดและการกระทำของมุฮัมมัดและอะฮ์ลุลบัยต์ ครอบครัวของท่าน (อิมามทั้งสิบสองและฟาฏิมะฮ์ ลูกสาวของท่าน)[27]

ความหมายทางภาษา

ในภาษาอาหรับ รูปคำนาม ฮะดีษ (حديث) หมายถึง "รายงาน", "บันทึก" หรือ "เรื่องเล่า"[28][29] ซึ่งมีรูปพหุพจน์เป็น อะฮาดีษ (أحاديث)[1] ฮะดีษ ยังหมายถึงคำพูดของบุคคลด้วย[30]

ความหมายทางวิชาการอิสลาม


ในทัศนะของอิสลามซุนนีย์

ฮะดีษ คือ คำพูด การกระทำ การยอมรับ และคุณลักษณะ ตลอดจนชีวประวัติของท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) อิบนุหะญัร อัลอัสกอลานีย์ให้นิยามของฮะดีษว่า “ทุก ๆ สิ่งที่พาดพิงถึงท่านนบี (ศ)”

ประเภทของฮะดีษ

การจำแนกประเภทของฮะดีษนั้นนักวิชาการได้จำแนกฮะดีษเป็นดังนี้

1. จำแนกตามลักษณะของกระแสรายงาน แบ่งออกเป็นได้ สองประเภทคือ ฮะดีษมุตะวาติรและ ฮะดีษอาฮาด

2. จำแนกตามลักษณะของการนำมาใช้มาเป็นหลักฐานอ้างอิง แบ่งได้เป็นสองประเภท คือ

2.1 ฮะดีษที่นำมาเป็นหลักฐานได้ คือ ฮะดีษศอฮีฮฺ และ ฮะดีษฮะซัน

2.2 ฮะดีษที่ใช้เป็นหลักฐานไม่ได้ คือ ฮะดีษฎออีฟ(ฮะดีษอ่อน)และฮะดีษเมาฎั๊วะ(ฮะดีษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้น)

3. จำแนกตามลักษณะของผู้สืบ (ที่มา ,

รายนามพระวจนานุกรม

พระวจนานุกรมรวบรวมฮะดีษมีมากกว่า 10 พระวจนานุกรม ที่สำคัญคือ 6 พระวจนานุกรม คือ

1. เศาะฮีฮ์ อัลบุคอรี รวบรวมโดย อัลบุคอรีย์

2. เศาะฮีฮ์ มุสลิม รวบรวมโดย มุสลิม อิบน์ อัลฮัจญาจญ์

3. ญามิอ์ อัตติรมิซี รวบรวมโดย อัตตัรมีซี

4. ซุนัน อะบีดาวูด รวบรวมโดย อะบูดาวูด

5. ซุนัน อิบน์ มาญะฮ์ รวบรวมโดย อิบน์ มาญะฮ์

6. ซุนัน อัศศุฆรอ รวบรวมโดย อันนะซาอี

นอกจากนี้ยังมีพระวจนานุกรม

  1. อัลมุวัฏเฏาะอ์ รวบรวมโดย มาลิก บิน อะนัส (เจ้าสำนักมาลิกี)
  2. มุสนัด อะฮ์หมัด อิบน์ ฮัมบัล รวบรวมโดย อะฮ์หมัด อิบน์ ฮัมบัล (เจ้าสำนักฮัมบะลี)
  3. เศาะฮีฮ์ อิบน์ คุซัยมะฮ์ รวบรวมโดย อิบน์ คุซัยมะฮ์
  4. เศาะฮีฮ์ อิบน์ ฮิบบาน รวบรวมโดย อิบน์ ฮิบบาน
  5. มุศ็อนนัฟ อับดุรร็อซซาก รวบรวมโดย อับดุรร็อซซาก อัศศ็อนอานีย์
  6. มุสนัด อัชชาฟิอี รวบรวมโดย อัชชาฟิอี (เจ้าสำนักชาฟิอี)
  7. มุสนัด อะบูฮะนีฟะฮ์ รวบรวมโดย อะบูฮะนีฟะฮ์ (เจ้าสำนักฮะนะฟี)
  8. กิตาบ อัลอาษาร รวบรวมโดย มุฮัมมัด อัชชัยบานี และ อะบูยูซุฟ
  9. ซุนัน อัลกุบรอ รวบรวมโดย อัลบัยฮะกี
  10. อัลมุสตัดร็อก อัลฮากิม รวบรวมโดย อัลฮากิม อันนัยซาบูรี
  11. ซุนัน อัดดาริมี รวบรวมโดย อัดดาริมี
  12. อัลมุอ์ญัม อัลกะบีร รวบรวมโดย อัฏเฏาะบะรอนี
  13. อัลมุอ์ญัม อัลเอาซาฏ รวบรวมโดย อัฏเฏาะบะรอนี
  14. อัลมุอ์ญัม อัลเศาะฆีร รวบรวมโดย อัฏเฏาะบะรอนี
  15. มุสนัด อัฏเฏาะยาลิซี รวบรวมโดย อะบูดาวูด อัฏเฏาะยาลิซี
  16. มุศ็อนนัฟ อิบน์ อะบีชัยบะฮ์ รวบรวมโดย อิบน์ อะบีชัยบะฮ์
  17. มุสนัด อะบูยะอ์ลา รวบรวมโดย อะบูยะอ์ลา อัลเมาศิลี
  18. ซุนัน อัดดารุกุฏนี รวบรวมโดย อัดดารุกุฏนี
  19. มุสนัด อัลบัซซาร รวบรวมโดย อะบูบักร์ อัลบัซซาร
  20. ตะฮ์ซีบ อัลอาษาร รวบรวมโดย อัฏเฏาะบะรี (เจ้าสำนักมัซฮับญะรีรี)

พระวจนานุกรมที่ใช้ตามมหาวิทยาลัยอิสลาม

  1. มะศอบีฮ์ อัสซุนนะฮ์ รวบรวมโดย อัลบะเฆาะวี
  2. มิชกาฮ์ อัลมะศอบีฮ์ รวบรวมโดย อัตตับรีซี
  3. ริยาฎุศศอลิฮีน รวบรวมโดย อันนะวะวี
  4. อัลอัรบะอีน รวบรวมโดย อันนะวะวี
  5. มัจญ์มูอ์ อัซซะวาอิด รวบรวมโดย อัลฮัยษะมี
  6. อัลเมาฎูอาต อัลกุบรอ รวบรวมโดย อิบน์ อัลเญาซี
  7. บุลูฆ อัลมะรอม รวบรวมโดย อิบน์ ฮะญัร อัลอัสเกาะลานี
  8. ญามิอ์ อัลกะบีร รวบรวมโดย อัสซุยูฏี
  9. ญามิอ์ อัศเศาะฆีร รวบรวมโดย อัสซุยูฏี
  10. ซิลซิละฮ์ อะฮาดีษ อัศเศาะฮีฮะฮ์ รวบรวมโดย อัลอัลบานี
  11. อัลญามิอ์ อัศเศาะฮีฮ์ มิน มะลัยซะฟิศเศาะฮีฮัยน์ รวบรวมโดย มุกบิล อิบน์ ฮาดี อัลวาดิอี

ฮะดีษในทัศนะของอิสลามชีอะหฺ

ฮะดีษ หมายถึงคำพูด การกระทำ และการยอมรับของนบีมุฮัมมัด และของบรรดามะอฺศูม

สายชีอะหฺได้มีการรวบรวมเป็นเล่ม ที่สำคัญที่สุดมี 4 เล่มคือ

1. อัลกาฟี รวมรวมโดย อัลกุลัยนีย์

2. มัน ลายะฮฺฎุรุฮุ อัลฟะกีหฺ รวมรวมโดย เชคศอดูก (ฮ.ศ.305-381)

3. ตะหฺซีบ อัลอะฮฺกาม รวบรวมโดย เชคอัตตูซีย์ (ฮ.ศ.385-460)

4. อัลอิสติบศอร รวบรวมโดย เชคอัตตูซีย์ เช่นเดียวกัน


หมายเหตุ

    1. "The full systems of Islamic theology and law are not derived primarily from the Quran. Muhammad's sunna was a second but far more detailed living scripture, and later Muslim scholars would thus often refer to Muhammad as 'The Possessor of Two Revelations'".[10]

    อ้างอิง

    บรรณานุกรม

    อ่านเพิ่ม

    แหล่งข้อมูลอื่น

    Wikiwand in your browser!

    Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

    Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

    Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.