จอร์จ ลูคัส
นักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (เกิด ค.ศ. 1944) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
นักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (เกิด ค.ศ. 1944) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอร์จ วอลตัน ลูคัส จูเนียร์ (อังกฤษ: George Walton Lucas, Jr.; เกิด 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1944) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้อำนวยการสร้าง ผู้เขียนบทภาพยนตร์ ชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์ชุดมหากาพย์สตาร์ วอร์ส และอินเดียน่า โจนส์ อีกทั้งเป็นหนึ่งในบรรดาผู้กำกับและผู้ผลิตที่ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจอุตสาหกรรมทางภาพยนตร์ โดยมีผลกำไรสุทธิที่ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ. 2010 [1]
จอร์จ ลูคัส | |
---|---|
จอร์จ ลูคัส ใน ค.ศ. 2009 | |
เกิด | จอร์จ วอลตัน ลูคัส จูเนียร์ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1944 โมเดสโต รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | 1965–ปัจจุบัน |
คู่สมรส | มาร์เซีย ลูคัส (สมรส 1969; หย่า 1983) เมลโลดี้ ฮอบสัน (สมรส 2013) |
จอร์จ ลูคัสเคยฝันอยากเป็นนักขับรถแข่ง แต่เขาได้ประสบอุบัติเหตุในวันก่อนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม ต่อจากนั้นได้เข้าเรียนในโรงเรียนสอนทำหนังของมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย และในฐานะนักเรียนหนัง เขาผลิตภาพยนตร์สั้นมาหลายเรื่องรวมทั้ง THX-1138: 4EB (Electronic labyinth) ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลจากเทศกาลหนังนักเรียนแห่งชาติเป็นครั้งแรกในปี 1967-68
และในปี 67 นั้น เขายังได้รับทุนการศึกษาจากทางวอร์เนอร์ บราเธอร์ส เพื่อให้เข้ามาสังเกตการณ์ในกองถ่ายหนังของฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา เรื่อง Finian's Rainbow ทั้งคู่สนิทสนมกันจนร่วมกันจัดตั้งบริษัท อเมริกัน โซโทรป ในปี 1969 และลูคัสก็ส่ง THX-1138 ฉบับภาพยนตร์ยาวออกสู่สายตาประชาชน จากนั้นไม่นานคอปโปลาก็มีผลงานเรื่อง The Godfather ที่เป็นที่รู้จัก ลูคัสแยกมาตั้งบริษัทของตัวเองในชื่อ ลูคัสฟิล์ม จำกัด
ปี 1973 หนังกึ่งอัตชีวประวัติเรื่อง American Graffiti ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลลูกโลกทองคำและเข้าชิงรางวัลออสการ์ถึง 5 สาขา และด้วยความสำเร็จในครั้งนี้นี่เอง เป็นแรงผลักดันให้เขาเขียนบทหนังสงครามอวกาศซึ่งได้แรงบันดาลใจจาก แฟลช กอร์ดอน และหนังเรื่อง Planet of the Apes จนออกมาเป็นสตาร์ วอร์ส ในปี 1977 และเขายังก่อตั้ง บริษัท ไอแอลเอ็ม (ILM-Industrial Light & Magic) ผลิตงานด้านวิชวลเอฟเฟ็กต์ซึ่งเป็นส่วนที่จำเป็นของหนัง รวมทั้งยังมีการตั้งบริษัท สปร็อกเก็ต ซิสเต็มส์ ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อกำกับและมิกซ์เสียง จนต่อมาเป็นที่รู้จักกันดีในนาม สกายวอล์กเกอร์ ซาวนด์
แต่หนังของเขาถูกสตูดิโอหลายเจ้าปฏิเสธจนท้ายที่สุด ค่ายทเว็นตีเซ็นจูรีฟ็อกซ์ จึงหยิบยื่นโอกาสให้ ลูคัสยอมไม่รับค่าจ้างจากการกำกับหนังเรื่องนี้ แต่ขอส่วนแบ่งจากบ็อกซ์ออฟฟิส 40% และสิทธิในการจัดจำหน่ายสินค้าของหนังเป็นข้อแลกเปลี่ยน และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็สถิติของบ็อกซ์ออฟฟิส และรับออสการ์ให้หนังถึง 7 สาขาด้วยกัน (แต่ไม่มีให้ตัวเอง) พร้อมทั้งก่อให้เกิดคำว่า blockbuster หรือหนังฟอร์มยักษ์ทำเงินถล่มทลายขึ้นมาด้วย
ในช่วงเวลาพัก ลูคัสก็ทำสตาร์ วอร์สภาคต่อทันที เคียงข้างไปกับการจับมือ สตีเฟน สปิลเบิร์ก สร้างสรรค์ซีรีส์การผจญภัยของ อินเดียนา โจนส์ ขึ้นมาซึ่งก็ถล่มบ็อกซ์ออฟฟิส ไปอีกครั้ง จากนั้นปี 1980-1985 ลูคัสก็ง่วนอยู่กับการสร้างกิ่งก้านสาขาให้กับสกายวอล์กเกอร์ ทั้งในเรื่องของการเพิ่มฝ่ายครีเอทีฟ ฝ่ายเทคนิคและการจัดการบริหารซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อลูคัสฟิล์มทั้งสิ้น
นอกจากนี้ลูคัสยังเป็นผู้วิวัฒนาการให้โรงหนังเกิดระบบ THX ซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อคงคุณภาพมาตรฐานสูงสุดของเสียงในการฉายภาพยนตร์ ทั้งยังสร้างหนังใหญ่ยักษ์ให้วงการอีกมากมาย พร้อมทั้งขึ้นเป็นประธานบอร์ดกองทุนเพื่อการศึกษา เดอะจอร์จ ลูคัสเอดดูวเคชันแนลฟาวเดชัน (The George Lucas Educational Foundation) อีกด้วย
ในปี 1992 จอร์จ ลูคัส ได้รับรางวัล ไอร์วิง จี ธัลเบิร์ก ซึ่งตัดสินโดยบอร์ดบริหารของทางสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์การภาพยนตร์ผู้ทำการมอบรางวัลออสการ์ ให้กับคนในวงการภาพยนตร์ สำหรับการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานตลอดชีวิตของเขานั่นเอง และในปี 2024 เขาได้รับรางวัลปาล์มทองคำเกียรติยศในงานเทศกาลภาพยนตร์กาน ครั้งที่ 77[2][3]
ลูคัสเป็นผู้บุกเบิกเทคนิคใหม่ ๆ ให้กับวงการภาพยนตร์มากมาย เขาก่อตั้งบริษัท อินดรัสเทรียลไลท์แอนด์เมจิก (Industrial Light and Magic - ILM) ซึ่งเป็นสตูดิโอที่ทำเกี่ยวกับด้านเทคนิคพิเศษ, มีส่วนร่วมในการพัฒนา ระบบเสียง THX และการถ่ายทำภาพยนตร์ด้วยกล้องวิดีโอดิจิทัลทั้งเรื่องใน สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 2: กองทัพโคลนส์จู่โจม
ปี | ชื่อ | ตำแหน่ง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|
ผู้กำกับ | เขียนบท | ผู้อำนวยการสร้าง ฝ่ายบริหาร | |||
1971 | THX 1138 | ใช่ | ใช่ | ไม่ | ตัดต่อด้วย |
1973 | อเมริกันกราฟฟิติ | ใช่ | ใช่ | ไม่ | ตัดต่อและโปรดิวเซอร์เพลงด้วย (ไม่มีเครดิต) |
1977 | สตาร์ วอร์ส | ใช่ | ใช่ | ใช่ | |
1979 | More American Graffiti | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ตัวละคร; กำกับร่วม, ตัดต่อสคริปต์ภาพยนตร์, ช่างภาพ, คัดเลือกเพลงด้วย (ไม่มีเครดิต) |
1980 | Kagemusha | ไม่ | ไม่ | ใช่ | เวอร์ชันสากล |
จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ | ไม่ | ใช่ | ใช่ | กำกับร่วม, ตัดต่อและโปรดิวเซอร์เพลงด้วย (ไม่มีเครดิต) | |
1981 | ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า | ไม่ | เขียนเรื่อง | ใช่ | ผู้ช่วยผู้กำกับสองและตัดต่อด้วย (ไม่มีเครดิต) |
เสน่ห์อำมหิต | ไม่ | ไม่ | ไม่มีเครดิต | ||
1983 | การกลับมาของเจได | ไม่ | ใช่ | ใช่ | กำกับร่วม, ตัดต่อและโปรดิวเซอร์เพลงด้วย (ไม่มีเครดิต) |
Twice Upon a Time | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ||
1984 | ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 2: ถล่มวิหารเจ้าแม่กาลี | ไม่ | เขียนเรื่อง | ใช่ | ตัดต่อและช่างภาพถ่ายเพิ่มด้วย (ไม่มีเครดิต) |
1985 | Latino | ไม่ | ไม่ | ไม่มีเครดิต | ตัดต่อด้วย (ไม่มีเครดิต) |
Mishima: A Life in Four Chapters | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ||
1986 | มหัศจรรย์เขาวงกต | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ตัดต่อสคริปต์ภาพยนตร์ (ไม่มีเครดิต) |
ฮาเวิร์ด ฮีโร่พันธุ์ใหม่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ||
1988 | Powaqqatsi | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ภาพยนตร์สารคดี |
ศึกแม่มดมหัศจรรย์ | ไม่ | เขียนเรื่อง | ใช่ | ||
Tucker: The Man and His Dream | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ||
ญาติไดโนเสาร์เจ้าเล่ห์ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ||
1989 | ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 3: ศึกอภินิหารครูเสด | ไม่ | เขียนเรื่อง | ใช่ | ตัดต่อด้วย (ไม่มีเครดิต) |
1994 | Radioland Murders | ไม่ | เขียนเรื่อง | ใช่ | |
1999 | สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 1 – ภัยซ่อนเร้น | ใช่ | ใช่ | ใช่ | |
2002 | สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 2 – กองทัพโคลนส์จู่โจม | ใช่ | ใช่ | ใช่ | ตัดต่อด้วย (ไม่มีเครดิต) |
2005 | สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 3 – ซิธชำระแค้น | ใช่ | ใช่ | ใช่ | |
2008 | ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 4: อาณาจักรกะโหลกแก้ว | ไม่ | เขียนเรื่อง | ใช่ | |
สตาร์ วอร์ส: สงครามโคลน | ไม่ | ตัวละคร | ใช่ | คิดเรื่องราว | |
2010 | The Nina Foch Course for Filmmakers and Actors | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ภาพยนตร์สารคดี |
2012 | สงครามกลางเวหาของเสืออากาศผิวสี | ไม่ | ไม่ | ใช่ | กำกับการถ่ายซ่อม (ไม่มีเครดิต) |
2015 | มนตร์มหัศจรรย์ | ไม่ | เขียนเรื่อง | ใช่ |
ผลตอบรับ ทั้งคำวิจารณ์และรายได้ จากการกำกับภาพยนตร์ทั้งหมด 6 เรื่องของ จอร์จ ลูคัส
ชื่อ | รอตเทนโทเมโทส์[4] | เมทาคริติก[5] | ซีเนม่าสกอร์[6] | ทุนสร้าง | รายได้ทั่วโลก | |
---|---|---|---|---|---|---|
THX 1138 | 86% (6.85/10) (63 รีวิว) | 75 (8 รีวิว) | — | $777,777 | $2,437,000 | |
อเมริกันกราฟฟิติ | 96% (8.49/10) (48 รีวิว) | 97 (15 รีวิว) | $775,000 | $140,000,000 | ||
สตาร์ วอร์ส | 93% (8.81/10) (124 รีวิว) | 90 (24 รีวิว) | $11,000,000 | $775,512,064 | ||
สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 1 – ภัยซ่อนเร้น | 53% (5.94/10) (228 รีวิว) | 51 (36 รีวิว) | A– | $115,000,000 | $1,027,082,707 | |
สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 2 – กองทัพโคลนส์จู่โจม | 66% (6.59/10) (253 รีวิว) | 54 (39 รีวิว) | $115,000,000 | $649,436,358 | ||
สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 3 – ซิธชำระแค้น | 80% (7.28/10) (299 รีวิว) | 68 (40 รีวิว) | $113,000,000 | $850,035,635 | ||
เฉลี่ย และ รวม | 79% (7.33/10) | 73 | A– | $355.6 ล้าน | $3,444,503,764 |
0–59% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบ 60–74% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบ 75–100% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบมาก
สีแดง 0–19 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบเลย 20–39 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบ สีส้ม 40–60 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ให้ปานกลาง สีเขียว 61–80 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบ 81–100 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบมาก
N/A ไม่ปรากฏ, หาข้อมูลไม่ได้
$ ดอลลาร์สหรัฐ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.