Remove ads
สารานุกรมองค์ความรู้ทั่วไปในภาษาอังกฤษ เผยแพร่ครั้งแรกที่ประเทศสก็อตแลนด์ใน ค.ศ. 1768 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สารานุกรมบริแทนนิกา (ละติน: Encyclopædia Britannica; "สารานุกรมบริติช") เป็นสารานุกรมในภาษาอังกฤษว่าด้วยความรู้ทั่วไป เดิมมีผู้พิมพ์เผยแพร่ คือ บริษัทสารานุกรมบริแทนนิกาและบุคคลอื่น ๆ และมีผู้เขียนเป็นบุคคลราว 100 คนซึ่งมาเขียนให้เต็มเวลา กับอีกราว 4,000 คนซึ่งมาเขียนให้นอกเวลา ปัจจุบัน ไม่ตีพิมพ์เป็นเล่มแล้ว แต่เผยแพร่แบบออนไลน์แทน
Encylopædia Britannica ฉบับพิมพ์ใหม่ของอเมริกัน (ค.ศ. 1899) | |
ผู้ประพันธ์ | ฉบับ ค.ศ. 2008 มีผู้เขียนที่ปรากฏชื่อ 4,411 คน |
---|---|
ประเทศ | สหราชอาณาจักร (ค.ศ. 1768–1900) สหรัฐ (ค.ศ. 1901–ปัจจุบัน) |
ภาษา | อังกฤษแบบบริติช |
หัวเรื่อง | ทั่วไป |
ประเภท | สารานุกรมสำหรับงานอ้างอิง |
สำนักพิมพ์ | Encyclopædia Britannica, Inc. |
วันที่พิมพ์ |
|
ชนิดสื่อ | ฉบับ ค.ศ. 2008 มี 32 เล่ม (ปกแข็ง) |
ISBN | 1-59339-292-3 |
OCLC | 71783328 |
031 | |
LC Class | AE5 .E363 2007 |
ข้อความ | สารานุกรมบริแทนนิกา ที่ วิกิซอร์ซ |
เว็บไซต์ | britannica |
สารานุกรมบริแทนนิกาตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วง ค.ศ. 1768–1771 ณ เอดินบะระ เมืองหลวงของสกอตแลนด์ เป็นฉบับที่แบ่งเป็น 3 เล่ม ฉบับที่ 2 ขยายเนื้อหามากเป็น 10 เล่ม[1] พอถึงฉบับที่ 4 (ค.ศ. 1801–1810) ปรากฏว่ามีถึง 20 เล่ม[2] ความที่เป็นงานวิชาการซึ่งมีเนื้อหาทวีขึ้นเรื่อย ๆ นี้ ทำให้ได้บุคคลสำคัญหลายคนมาร่วมเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉบับที่ 9 (ค.ศ. 1875–1889) นั้นถือกันว่าโดดเด่นมากในด้านเนื้อหาวิชาการและโวหารสำนวน ครั้นบริษัทสัญชาติอเมริกันได้สิทธิจัดพิมพ์ไปตั้งแต่ฉบับที่ 11 (ค.ศ. 1911) ก็เกิดกระบวนการ "ทำให้เป็นอเมริกัน" (Americanizing) โดยย่อเนื้อหาลง และใช้ภาษาเรียบง่ายขึ้น เพื่อตีตลาดในอเมริกาเหนือ พอถึง ค.ศ. 1933 สารานุกรมบริแทนนิกาก็กลายเป็นสารานุกรมแรกที่มีการชำระมาอย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุด แต่แม้จะมีการตีพิมพ์ในสหรัฐมาตั้งแต่ฉบับที่ 10 (ค.ศ. 1901) แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ยังรักษาการเขียนแบบบริติชไว้ มิได้เปลี่ยนไปใช้ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน
ฉบับที่ 15 (ค.ศ. 2010) เป็นฉบับพิเศษที่แบ่งเนื้อหาเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเรียก แมโครพีเดีย (Macropædia) มี 17 เล่ม เป็นบทความยาว กินเนื้อที่ตั้งแต่ 2 ถึง 310 หน้าต่อ 1 บทความ ส่วนถัดมาเรียก ไมโครพีเดีย (Micropædia) มี 12 เล่ม เป็นบทความสั้น โดยปรกติแล้วมีถ้อยคำไม่เกิน 750 คำต่อ 1 บทความ มีไว้ช่วยให้ตรวจสอบข้อมูลได้ไวขึ้น และไว้เป็นเครื่องช่วยนำทางในการอ่านแมโครพีเดีย และส่วนสุดท้ายเรียก พรอพีเดีย (Propædia) มีเล่มเดียว บรรจุคำอธิบายโครงสร้างของสารานุกรมแบบคร่าว ๆ
ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 มีประกาศว่า จะเลิกตีพิมพ์สารานุกรมนี้เป็นเล่ม และจะมุ่งทำฉบับออนไลน์แทน ฉบับสุดท้ายที่ตีพิมพ์เป็นเล่ม คือ ฉบับที่ 18 (ค.ศ. 2010) ซึ่งแบ่งเนื้อหาเป็น 32 เล่ม รวม 32,640 หน้า[3]
นับแต่ตีพิมพ์ครั้งแรกมาจนเลิกตีพิมพ์ เป็นเวลาได้ 244 ปี สารานุกรมบริแทนนิกาจึงเป็นสารานุกรมในภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์มายาวนานที่สุด[1]
บริแทนนิกาเปลี่ยนมือมาหลายต่อหลายครั้ง ผู้ที่เคยเป็นเจ้าของบริแทนนิกามาก่อนได้แก่ สำนักพิมพ์สัญชาติสกอต เช่น A & C Black, Horace Everett Hooper, Sears Roebuck and William Benton เป็นต้น เจ้าของบริแทนนิกาคนปัจจุบันคือ Jacqui Safra นักแสดงและมหาเศรษฐีชาวสวิส ซึ่งเป็นเจ้าของ Encyclopædia Britannica, Inc. จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบกับการเติบโตของสารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์หลายแห่ง เช่น Microsoft Encarta และ วิกิพีเดีย ทำให้ความจำเป็นในการตีพิมพ์สารานุกรมลดน้อยลง[4] ดังนั้นเพื่อให้ดำรงความสามารถในการแข่งขันเอาไว้ Encyclopædia Britannica, Inc. จึงชูความน่าเชื่อถือของสารานุกรมบริแทนนิกาเป็นหลัก ลดราคาและลดต้นทุนการผลิตลง รวมถึงพัฒนาสารานุกรมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมบนซีดีรอม ดีวีดี และเวิลด์ไวด์เว็บ นับแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1930 บริษัทยังเพิ่มการประชาสัมพันธ์งานอ้างอิงรูปแบบอื่น ๆ มากขึ้นด้วย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.