ภาษาดาร์ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดาร์ต (Dart) เป็นภาษาโปรแกรมที่ออกแบบโดย Lars Bak และ Kasper Lund และพัฒนาโดยกูเกิล[7] สามารถใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ และ แอปมือถือ ตลอดจนแอปพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ และ แอปพลิเคชันเดสก์ท็อป

ข้อมูลเบื้องต้น กระบวนทัศน์, ผู้ออกแบบ ...
Dart
Thumb
กระบวนทัศน์Multi-paradigm: functional, imperative, object-oriented, reflective[1]
ผู้ออกแบบLars Bak, Kasper Lund
ผู้พัฒนาGoogle
เริ่มเมื่อ10 ตุลาคม 2011; 13 ปีก่อน (2011-10-10)[2]
รุ่นเสถียร
3.7.3[3]  / 17 เมษายน 2025; 9 วันก่อน (17 เมษายน 2025)
ระบบชนิดตัวแปร1.x: Optional
2.x: Inferred[4] (static, strong)
แพลตฟอร์มCross-platform
ระบบปฏิบัติการCross-platform
สัญญาอนุญาตBSD
นามสกุลของไฟล์.dart
เว็บไซต์dart.dev
ตัวแปลภาษาหลัก
Dart VM, dart2native, dart2js, DDC, Flutter
ได้รับอิทธิพลจาก
C, C++, C#, Erlang, Java, JavaScript, Ruby, Smalltalk, Strongtalk,[5] TypeScript[6]
ปิด

ดาร์ตเป็นภาษาเชิงวัตถุอิงคลาส และมีการเก็บขยะ ที่มีวากยสัมพันธ์แบบภาษาซี[8] ดาร์ตสามารถทำการคอมไพล์ออกมาเป็นรหัสเครื่อง, จาวาสคริปต์ หรือ WebAssembly

ความเป็นมา

ดาร์ตได้รับการเปิดตัวในการประชุม GOTO ใน ออร์ฮูส ประเทศเดนมาร์ก ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม พ.ศ. 2554[9] Lars Bak และ Kasper Lund เป็นผู้ก่อตั้งโครงการดาร์ต[10] ดาร์ต 1.0 เปิดตัวเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556[11]

ดาร์ต 2.0 ได้รับการเปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2561 โดยมีการเปลี่ยนแปลงภาษารวมถึงระบบชนิดข้อมูล[12]

การป้องกันตัวชี้ที่เป็นโมฆะ

ตั้งแต่เวอร์ชัน 2.12 เป็นต้นไป ภาษาดาร์ตมีการป้องกันตัวชี้ที่เป็นโมฆะ (อังกฤษ: null safety)[13] สิ่งนี้เป็นการรับประกันว่าตัวชี้ที่เป็นโมฆะจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างจัดแจ้ง

ฟลัตเตอร์

Google เปิดตัว Flutter สำหรับการพัฒนาแอพ ฟลัตเตอร์ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ Dart, C, C++ และ Skia ฟลัตเตอร์เป็นเฟรมเวิร์ก UI ที่โอเพ่นซอร์สและหลายแพลตฟอร์ม ก่อน Flutter 2.0 นักพัฒนาสามารถกำหนดเป้าหมายได้เฉพาะ Android, iOS และเว็บเท่านั้น การเปิดตัว Flutter 2.0 เพิ่มการรองรับ macOS, Linux และ Windows ในรูปแบบเบต้า[14] Flutter 2.10 เปิดตัวพร้อมการสนับสนุนการผลิต (production support) สำหรับ Windows[15] และ Flutter 3 เปิดตัวการสนับสนุนการผลิตสำหรับแพลตฟอร์มเดสก์ท็อปทั้งหมด[16]

ตัวอย่าง

ตัวอย่างโปรแกรมเฮลโลเวิลด์

void main() {
  print('Hello, World!');
}

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.