ราชวงศ์จาลุกยะ (กันนาดา: ಚಾಲುಕ್ಯರು, อังกฤษ: Chalukya dynasty) คือราชวงศ์อินเดียผู้ปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่ในอินเดียใต้และอินเดียกลางระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12

ข้อมูลเบื้องต้น ราชวงศ์จาลุกยะ ಚಾಲುಕ್ಯ ರಾಜವಂಶ, สถานะ ...
ราชวงศ์จาลุกยะ

ಚಾಲುಕ್ಯ ರಾಜವಂಶ
ค.ศ. 543ค.ศ. 753
Thumb
จักรวรรดิจาลุกยะ ค.ศ. 636, ค.ศ. 740
สถานะจักรวรรดิ
(ขึ้นกับจักรวรรดิกทัมพะจนกระทั่งปี ค.ศ. 543)
เมืองหลวงบาดามี
ภาษาทั่วไปกันนาดา, สันสกฤต
ศาสนา
ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน
การปกครองราชาธิปไตย
พระมหากษัตริย์ 
 ค.ศ. 543 - 566
ปุละเกศีที่ 1
 ค.ศ. 746 – 753
กีรติวรมันที่ 2
ประวัติศาสตร์ 
 หลักฐานเก่าที่สุด
ค.ศ. 543
 ก่อตั้ง
ค.ศ. 543
 สิ้นสุด
ค.ศ. 753
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิกทัมพะ
จักรวรรดิราษฏฺรกูฏ
จาลุกยะตะวันออก
ปิด

แม้ว่าความเห็นในเรื่องต้นกำเนิดของราชวงศ์จาลุกยะจะมีด้วยกันหลายทฤษฎีแต่โดยทั่วไปแล้วต่างก็เห็นพ้องกันว่าผู้ก่อตั้งจักรวรรดิที่บาดามีเป็นผู้ที่มาจากบริเวณรัฐกรณาฏกะ[1][2][3][4][5][6][7][8][9][10] ในช่วงที่มีอำนาจจาลุกยะปกครองแบ่งการปกครองเป็นสามราชวงศ์ที่ต่างกันแต่มีความสัมพันธ์กัน ราชวงศ์แรกที่สุดมีชื่อว่า “บาดามีจาลุกยะ” (Badami Chalukyas) ปกครองจากเมืองหลวงวาตาปี (บาดามีปัจจุบัน) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 บาดามีจาลุกยะเริ่มแสดงตัวเป็นอิสระเมื่อราชอาณาจักรพานาวสี (en:Banavasi) ของราชวงศ์กทัมพะ (en:Kadamba Dynasty) เริ่มเสื่อมโทรมลง และมารุ่งโรจน์ในรัชสมัยของปุละเกศีที่ 2 (en:Pulakesi II) หลังจากที่ปุละเกศีที่ 2 เสด็จสวรรคต จาลุกยะตะวันออก (en:Eastern Chalukyas) ก็แยกตัวเป็นราชอาณาจักรอิสระในเด็คคาน (Deccan) จาลุกยะตะวันออกปกครองจากเมืองหลวง เวงคิ จนกระทั่งถึงจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ทางตะวันตกของเด็คคานการเรืองอำนาจของราษฏฺรกูฏ (Rashtrakutas) ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 8 ก็ลบอำนาจของบาดามีจาลุกยะก่อนที่จะได้รับการฟื้นฟูโดยจาลุกยะตะวันตก (Western Chalukyas) ผู้เป็นผู้สืบเชื้อสายในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 จาลุกยะตะวันตกปกครองจากกัลยานี (ปัจจบีนคือเมืองพสภะกัลยาณ) จนกระทั่งถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12

การปกครองของราชวงศ์จาลุกยะเป็นการปกครองในยุคที่สำคัญของประวัติศาสตร์ของอินเดียใต้และเป็นยุคทองของรัฐกรณาฏกะ แนวโน้มทางการเมืองทางตอนใต้ของอินเดียเปลี่ยนจากราชอาณาจักรขนาดเล็กมาเป็นการก่อตั้งจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่เริ่มโดยบาดามีจาลุกยะ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่อินเดียใต้เริ่มรวมดินแดนทั้งภูมิภาคตั้งแต่แม่น้ำกาเวรี (Kaveri) ไปจนถึง แม่น้ำนัมมทา (Narmada) ความรุ่งเรืองของจักรวรรดินำมาซึ่งระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ การค้าขายกับต่างประเทศ และการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า "สถาปัตยกรรมจาลุกยะ" วรรณคดีกันนาดาที่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนักมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 ก็ได้รับการต้อนรับโดยจาลุกยะตะวันตกตามแบบฉบับของเชนและวีรไศวะ (Veerashaiva) เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ก็เป็นการกำเนิดของวรรณคดีเตลูกู (Telugu literature) ภายใต้การอุปถัมภ์ของจาลุกยะตะวันออก

ราชอาณาจักรยุคกลางของอินเดีย

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.