ปานแดงในทารก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้องอกหลอดเลือดในทารก[6] (อังกฤษ: infantile hemangioma) หรือ ปานแดง, ปานสตรอว์เบอร์รี่[7][8]: 593 [9][10] เป็นเนื้องอกไม่ร้ายชนิดหนึ่งของหลอดเลือด พบในเด็ก[1][2] มีลักษณะเป็นรอยนูนสีแดงหรือสีม่วงบนผิวหนัง[3] มักปรากฎขึ้นในช่วงอายุแรกเกิดถึง 4 สัปดาห์[11] มีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ จนโตที่สุดที่อายุประมาณ 5 เดือน หลังจากนั้นจะค่อยๆ เล็กลงจนหายไปใน 2-3 ปี[1][2] หลังหายไปแล้วอาจทิ้งร่องรอยเอาไว้บนผิวหนังได้[1][5] ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ ได้แก่ เจ็บ มีเลือดออก เป็นแผล เสียรูปลักษณ์ รวมถึงอาจทำให้หัวใจวายได้[1] ถือเป็นเนื้องอกของตาและอวัยวะรอบตาที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก อาจเกิดขึ้นที่ผิวหนัง ชั้นใต้ผิวหนัง ผิวเยื่อเมือก ในช่องปาก ริมฝีปาก และที่อื่นที่ไม่ใช่ผิวหนัง เช่น ในตับ หรือในทางเดินอาหาร ก็ได้
เนื้องอกหลอดเลือดในทารก (Infantile hemangioma) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Infantile haemangioma, emangioma, capillary hemangioma, capillary angioma, strawberry haemangioma, strawberry mark [1][2] |
![]() | |
ปานแดงขนาดเล็กบนผิวหนังทารก | |
สาขาวิชา | ตจวิทยา, วิทยาทางเดินอาหาร, Oral and Maxillofacial Surgery |
อาการ | Raised red or blue lesion[3] |
ภาวะแทรกซ้อน | เจ็บ, เลือดออก, เป็นแผล, หัวใจวาย, เสียรูปลักษณ์[1] |
การตั้งต้น | แรกเกิดถึงอายุ 4 สัปดาห์[1] |
ประเภท | Superficial, deep, mixed[1] |
ปัจจัยเสี่ยง | เพศหญิง, ผิวขาว, เกิดก่อนกำหนด, น้ำหนักแรกเกิดน้อย[1] |
วิธีวินิจฉัย | วินิจฉัยจากอาการและลักษณะที่ปรากฎ[1] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Congenital hemangioma, pyogenic granuloma, kaposiform hemangioendothelioma, tufted angioma, venous malformation,[1] other vascular anomaly[4] |
การรักษา | การสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด, การใช้ยา[5][1] |
ยา | Propranolol, Timolol, steroids[5][1] |
ความชุก | Up to 5%[5] |
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.