แต้ฮวย แต้ฮั้งฮวย ชาญี่ปุ่น หรือ ชากุหลาบแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Camellia japonica) เป็นหนึ่งในชนิดพรรณไม้ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดของสกุลชา (Camellia) ในวงศ์ชา (Theaceae) พันธุ์ป่าพบได้ในจีนแผ่นดินใหญ่ (มณฑลชานตงและภาคตะวันออกของมณฑลเจ้อเจียง) ไต้หวัน เกาหลีใต้ และภาคใต้ของญี่ปุ่น[2] โดยเติบโตในป่าที่ระดับความสูงประมาณ 300–1,100 เมตร[3] พันธุ์ปลูกมีหลายพันธุ์ซึ่งมีสีและลักษณะของดอกแตกต่างกันไป
แต้ฮวย | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | แอสเทอริด Asterids |
อันดับ: | อันดับกุหลาบป่า Ericales |
วงศ์: | วงศ์ชา Theaceae |
สกุล: | Camellia Camellia (Linnaeus, 1753) |
สปีชีส์: | Camellia japonica |
ชื่อทวินาม | |
Camellia japonica (Linnaeus, 1753) | |
แต้ฮวยเป็นไม้พุ่มมีดอก โดยทั่วไปสูง 1.5–6 เมตร แต่บางครั้งสูงได้ถึง 11 เมตร กิ่งอ่อนมีสีน้ำตาลอมม่วงซึ่งจะกลายเป็นสีน้ำตาลอมเทาเมื่อแก่ขึ้น ใบมีลักษณะคล้ายแผ่นหนัง เรียงสลับ มีสีเขียวสดด้านบนและสีเขียวซีดด้านล่าง โดยทั่วไปยาว 5–11 เซนติเมตร และกว้าง 2.5–6 เซนติเมตร โคนใบสอบ ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยถี่ และปลายใบค่อนข้างแหลม[3] พันธุ์ป่าออกดอกในเดือนมกราคมถึงมีนาคม ดอกปรากฏค่อนไปทางปลายกิ่งและมีก้านดอกสั้นมาก เป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ มีกลีบซ้อนกัน 6–7 กลีบ (พันธุ์ปลูกมักมีกลีบดอกมากกว่า) แต่ละกลีบยาว 3–4.5 เซนติเมตร และกว้าง 1.5–2.5 เซนติเมตร มีสีแดงเลือดนก ชมพู หรือสีขาว ผลเป็นทรงค่อนข้างกลม แบ่งเป็นสามช่อง แต่ละช่องมีเมล็ดสีน้ำตาลขนาดใหญ่ 1–2 เมล็ด มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1–2 เซนติเมตร พันธุ์ป่าติดผลในเดือนกันยายนถึงตุลาคม[3]
ใบของแต้ฮวยอุดมไปด้วยสารกลุ่มเทอร์พีนอยด์อย่างลูพีออลและสเกวลีนซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ[4]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.