กบ เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anura (/อะ-นู-รา/)
กบ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคจูแรสซิกตอนต้น – ปัจจุบัน, 200–0Ma | |
---|---|
กบชนิดต่าง ๆ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก |
เคลด: | Salientia |
อันดับ: | กบ Duméril, 1806 (as Anoures) |
อันดับย่อย | |
Archaeobatrachia | |
การกระจายพันธุ์ของกบ (ในสีเขียว) |
มีรูปร่างโดยรวม คือ เป็นสัตว์ไม่มีหาง เพราะกระดูกสันหลังส่วนหางได้เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียวยาวกระดูกสันหลังลดจำนวนลงมาจากสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เพราะมีไม่เกิน 9 ปล้อง มีขาหลังยาวจากการยืดของกระดูกทิเบียกับกระดูกฟิบูลาและของกระดูกแอสทรากากัสกับกระดูกแคลลาเนียม โดยมีบางส่วนเชื่อมติดกันและเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อแข็งแรง เพื่อใช้ในการกระโดด มีส่วนหัวที่ใหญ่และแบนราบ ปากกว้างมาก
กบในระยะวัยอ่อนจะมีลักษณะแตกต่างไปจากตัวเต็มวัยอย่างชัดเจน เรียกว่า "ลูกอ๊อด"[1] โดยมีรูปร่างคล้ายปลา มีส่วนหัวที่โตมาก มีหาง ไม่มีฟัน โดยในส่วนโครงสร้างของจะงอยปากเป็นสารประกอบเคอราติน หายใจด้วยเหงือกเหมือนซาลาแมนเดอร์ พฤติกรรมการกินอาหารของลูกอ๊อดจะแตกต่างกันไป โดยอาจจะกินแบบกรองกิน หรือกินพืช และกินสัตว์ เมื่อเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยจึงเปลี่ยนลักษณะการกิน รวมทั้งเปลี่ยนสภาพโครงสร้างของอวัยวะระบบย่อยอาหารรวมทั้งระบบอวัยวะอย่างอื่น ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของกบนั้นจะต่างจากซาลาแมนเดอร์เป็นอย่างมาก
การสืบพันธุ์ของกบนั้นมีหลากหลายมาก ส่วนการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายนอกตัว โดยทั้ง 2 เพศมีพฤติกรรมกอดรัดกันระหว่างผสมพันธุ์ กบส่วนมากจะป้องกันดูแลไข่ นอกจากบางชนิดเท่านั้นที่เก็บไข่ไว้บนหลัง ที่ขา ในถุงบนหลัง หรือในช่องท้อง หรือบางชนิดวางไข่ติดไว้กับพืชน้ำที่เติบโตในน้ำหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้เหนือน้ำและเฝ้าไข่ไว้ การปฏิสนธิที่เกิดขึ้นภายในตัวจะพบเพียงกับกบบางชนิดเท่านั้น เช่น Ascaphus truei เป็นต้น และการเจริญของเอมบริโอภายในไข่และวัยอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างเป็นเหมือนตัวเต็มวัยเลย โดยไม่ผ่านขั้นการเป็นลูกอ๊อดเกิดขึ้นกับหลายสกุลในหลายวงศ์ อาทิ สกุล Hemiphractus และStefania เป็นต้น
กบ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาแล้วราว 200 ล้านปีก่อน และเป็นสัตว์ที่อยู่รอดพ้นมาได้จากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาถึงเรื่องนี้ เชื่อว่า เพราะกบเป็นสัตว์ที่หลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดินได้อย่างเป็นดี และเป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้ดีให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศแบบใหม่ จากการศึกษาพบว่า กบในยุคปัจจุบันราวร้อยละ 88 เป็นกบที่มีที่มาจากอดีตที่สามารถย้อนไปไกลได้ถึง 66–150 ล้านปีก่อน โดยศึกษาจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมและเปรียบเทียบระดับยีนและโมเลกุลระหว่างกบในยุคปัจจุบัน และซากดึกดำบรรพ์ของกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบว่า กบใน 3 วงศ์ คือ Microhylidae หรืออึ่งอ่าง, Natatanura ที่พบในทวีปแอฟริกา และHyloidea ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นกบที่สืบสายพันธุ์มาจากกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และปัจจุบันได้มีการสืบสายพันธุ์และแตกแขนงทางชีววิทยาไปทั่วโลก[2]
ปัจจุบัน ได้มีการอนุกรมวิธานกบออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 27 วงศ์ ใน 419 สกุล ปัจจุบันพบแล้วกว่า 6,700 ชนิด นับว่าเป็นอันดับที่มีความหลากหลายมากที่สุดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และก็ยังคงมีการค้นพบชนิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ประมาณ 60 ชนิดต่อปี โดยกบส่วนใหญ่จะพบในเขตร้อน โดยใช้หลักการพิจารณาจาก โครงสร้างกระดูก, กล้ามเนื้อขา, รูปร่างลักษณะของลูกอ๊อด และรูปแบบการกอดรัด เป็นต้น
วิวัฒนาการชาติพันธุ์
นี่คือแผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ที่แสดงความสัมพันธุ์ของกบในวงศ์ต่าง ๆ ในเคลด Anura ในแผนภาพต้นไม้นี้ แสดงวงศ์กบมีความสัมพันธ์กับกับวงศ์อื่น ๆ อย่างไร โดยแต่ละปุ่มแสดงถึงจุดที่มีบรรพบุรุษเดียวกัน ข้อมูลในนี้อิงจาก Frost และคณะ. (2006),[3] Heinicke และคณะ. (2009)[4] และ Pyron กับ Wiens (2011)[5]
Anura |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความสัมพันธ์กับมนุษย์
กบ ถือเป็นสัตว์ที่ผูกพันกับมนุษย์มาอย่างยาวนานแล้ว ในฐานะของสัตว์ที่มนุษย์กินเนื้อเป็นอาหาร จนเกิดเป็นความเชื่อและอยู่ในวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ มากมาย เช่น ชนชาติไทมีความเชื่อแต่โบราณว่า ปรากฏการณ์สุริยุปราคาและจันทรุปราคาเกิดจากกบอมดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เรียกว่า "กบกินเดือน" หรือ "กบกินตะวัน" ต้องใช้การตีเกราะเคาะไม้ จึงจะยอมคาย[7] และเป็นนิทานพื้นบ้าน ในเรื่อง "อุทัยเทวี"[8]
ชาวจีนเชื่อว่า มีกบหรือคางคกที่มีลำตัวสีทอง และมี 3 ขา เรียกว่า "เซียมซู่" เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ และให้ผลในทางโชคลาภวาสนาแก่ผู้ที่บูชาสักการะ เช่นเดียวกับ "ปี่เซียะ"[9] เป็นต้น ชาวจ้วง ชนพื้นเมืองทางภาคใต้ของจีนเชื่อว่า กบเป็นสัญลักษณ์ของน้ำและความอุดมสมบูรณ์ เมื่อฝนแล้ง ในพิธีขอฝน จะมีการเต้นรำด้วยการกางแขนกางขา ยกแขนสองข้างชูขึ้นฟ้า คล้ายกับกบ[10]
ในขณะที่ในประเทศไทย กบหลายชนิดได้ถูกเลี้ยงเพาะขยายพันธุ์เพื่อการบริโภค เช่น กบนา (Hoplobatrachus rugulosus), กบทูด (Limnonectes blythii)[11], อึ่งปากขวด (Glyphoglossus molossus) เป็นต้น[12] ขณะที่หลายชนิดก็เลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง
อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.