ฟาโรห์อเคนาเทน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟาโรห์อเคนาเทน

อเคนาเทน (อังกฤษ: Akhenaten, /ˌækəˈnɑːtən/ ออกเสียง)[8] บางครั้งสะกดเป็น อเคนาทอน (Akhenaton)[3][9][10] หรือ เอคนาทอน (Echnaton;[11] อียิปต์โบราณ: ꜣḫ-n-jtn ʾŪḫə-nə-yātəy, ออกเสียง: [ˈʔuːχəʔ ˈjaːtəj] ,[12][13] หมายถึง 'Effective for the Aten') เป็นฟาโรห์อียิปต์โบราณที่ครองราชย์ ป.1353–1336[3] หรือ 1351–1334 ปีก่อน ค.ศ.[4] เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 แห่งราชวงศ์ที่สิบแปด ก่อนหน้าปีที่ 5 ในรัชสมัยของพระองค์ พระองค์มีพระนามว่า อาเมนโฮเทปที่ 4 (อียิปต์โบราณ: jmn-ḥtp หมายถึง "Amun is satisfied", แผลงกรีกเป็น อาเมโนฟิสที่ 4)

ข้อมูลเบื้องต้น ฟาโรห์, รัชกาล ...
ปิด

ฟาโรห์แอเคนาเทน มีพระมเหสีที่เป็นราชินีที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คือ ราชินีเนเฟอร์ติติ (Nefertiti) และพระราชโอรสที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน คือ ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน (Tutankhamun)

ฟาโรห์แอเคนาเทน ขึ้นครองราชย์ระหว่าง 1350 ปีก่อนคริสต์ศักราช และครองราชย์อยู่นาน 17 ปี ปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า พระองค์เป็นฟาโรห์องค์แรกที่ปฏิวัติความเชื่อในอาณาจักรอียิปต์ พระองค์ทรงนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว คือ อาเตน (Aten) (สุริยเทพ สันนิษฐานว่าเป็นไปได้ว่าอาจเป็นองค์เดียวกับ รา) ถึงขนาดสร้างเมืองใหม่ที่ชื่อ อมาน่า (Amarna) ที่มีศาสนสถานขนาดใหญ่เพื่อบูชาเทพอาเตน พร้อมกับเปลี่ยนพระนามใหม่เป็น แอเคนาเทน ด้วย เพื่อให้เชื่อมโยงกับคำว่า อาเตน (แอเคนาเทน แปลว่า "มีประโยชน์ต่ออาเตน"[14]) ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า การที่นับถือเทพเจ้าเพียงองค์เดียวของพระองค์นั้น เป็นแรงบันดาลใจให้โมเสสเป็นกบฏต่อฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 (Ramesses II) ในอีกราว 50 ปี ต่อมาที่วิหารและราชวังในเมือง อะมานา พระองค์ได้สร้างศิลปกรรมฝาผนังไว้อย่างงดงาม ที่มีบทสรรเสริญเทพอาเตน แต่เมื่อพระองค์สวรรคตลง เมืองอมาน่าแห่งนี้ก็ได้ถูกทิ้งร้างทันที ทายาทรุ่นหลังได้ทำลายวิหารและบทสรรเสริญเหล่านี้เสีย รวมทั้งได้ประณามพระองค์และทำลายรูปสลักพระพักตร์ของพระองค์ด้วย ซึ่งเชื่อว่า ทั้งนี้เป็นเพราะต้องการทำลายหลักความเชื่อของการนับถือเทพเจ้าองค์เดียว (Monotheism)

ภาพฝาผนังที่แสดงถึงฟาโรห์แอเคนาเทน พระนางเนเฟอร์ติติ และพระธิดา 3 องค์ ที่แสดงถึงความนับถือต่อเทพอาเตน (เทพเจ้าทรงฉายแสงอยู่ข้างบน)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.