ปลากระเบนค้างคาว,[4] หรือ ปลากระเบนนก, ปลากระเบนเนื้อดำ, ปลากระเบนยี่สนหรือปลากระเบนนกจุดขาว (อังกฤษ: spotted eagle ray; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aetobatus Ocellatus[5]) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ (Aetobatidae)[6]
ปลากระเบนค้างคาว ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Upper Cretaceous–Recent[1] | |
---|---|
ปลากระเบนค้างคาวบริเวณ หมู่เกาะเติกส์และเคคอส | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
อันดับ: | Myliobatiformes |
วงศ์: | Myliobatidae |
สกุล: | Aetobatus |
สปีชีส์: | A. narinari |
ชื่อทวินาม | |
Aetobatus narinari (Euphrasén, 1790) | |
พื้นที่การกระจายพันธ์ | |
ชื่อพ้อง[3] | |
Aetobatis latirostris |
มีผิวหนังเรียบ ใกล้โคนหางด้านบนมีเงี่ยง 1–4 เงี่ยง พบมากที่สุด 6 เงี่ยง เรียงอยู่ชิดกัน ด้านหลังสีดำมีจุดสีขาวกระจายอยู่ส่วนท้าย ด้านท้องสีขาว หางเรียวยาวมาก มีส่วนหัวที่แยกออกจากครีบเห็นได้ชัดเจน จึงทำให้ว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนนกบิน มีขนาดกว้างได้ถึง 1.5 เมตร เคยพบสูงสุดถึง 3 เมตร น้ำหนัก 230 กิโลกรัม[7]
หากินจำพวกสัตว์น้ำหน้าดิน เช่น หอย, กุ้ง, กั้ง, ปู บริเวณใต้พื้นน้ำเป็นอาหาร โดยใช้ปากคุ้ยเขี่ยพื้นทรายหา บางครั้งอาจเข้ามาหากินถึงบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยได้ บางครั้งจะรวมตัวกันเป็นฝูงหลายตัว และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 80 เมตร
ในปี ค.ศ. 2010 มีงานวิจัย[5]ว่าด้วยเรื่องการแบ่งชื่อสายพันธุ์ใหม่จากสายพันธุ์เดิม Aetobatus Narinari เนื่องจากในงานวิจัยพบความแตกต่างที่ชัดเจนของตัวอย่างที่พบในแต่ละพื้นที่ทั่วโลก พบการกระจายพันธุ์ Aetobatus Narinari ในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก สายพันธุ์ Aetobatus Laticeps ในบริเวณตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก และ Aetobatus Ocellatus ในบริเวณตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก และ มหาสมุทรอินเดีย รวมถึงบริเวณ อ่าวไทย และ ทะเลอันดามัน ของประเทศไทย
ปลากระเบนค้างคาวออกลูกเป็นไข่ แต่ไข่ได้พัฒนาเป็นตัวในช่องท้องของปลาตัวเมีย เมื่อแรกเกิดลูกปลาจะมีถุงไข่แดงติดตัวมาด้วย
ปลากระเบนค้างคาวนั้น มักถูกล่าเป็นอาหารจากปลาฉลาม โดยเฉพาะปลาฉลามหัวค้อน[8] สำหรับความสัมพันธ์ต่อมนุษย์แล้ว นิยมเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ เพราะความสวยงามในสีสันและการว่ายน้ำ และยังนิยมใช้เนื้อเพื่อการบริโภคด้วยทั้งการบริโภคสดและเก็บรักษาเป็นปลาแห้ง และทำเป็นปลาหย็อง[9]
ณ ปัจจุบันกระเบนค้างคาวยังไม่สามารถเพาะพันธุ์ในเชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงในการจัดการพื้นที่ มีเพียงการเพาะพันธุ์โดยไม่ได้ตั้งใจจากพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแห่งเท่านั้น จึงยังไม่สามารถเพาะพันธุ์ทดแทนกับปริมาณที่ลดลงในธรรมชาติได้
รูปภาพ
- ขณะว่ายเป็นฝูงในทะเล
- ขณะคุ้ยเขี่ยหาอาหารกินบนพื้นทราย
- ส่วนปากและซี่กรองเหงือก
- คลิปวิดีโอในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
- ในน้ำตื้น
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.