การดับเพลิงทางอากาศ (อังกฤษ: aerial firefighting) การดับเพลิงทางอากาศเป็นการใช้อากาศยานและทรัพยากรทางอากาศอื่น ๆ เพื่อต่อสู้กับไฟป่า ประเภทของอากาศยานที่ใช้ ได้แก่ อากาศยานปีกคงที่และเฮลิคอปเตอร์ ส่วนสโมกจัมเปอร์และนักโรยตัวก็ได้รับการจัดเป็นนักดับเพลิงทางอากาศ โดยส่งไปยังกองไฟด้วยร่มชูชีพจากอากาศยานปีกคงที่หลายแบบ หรือโรยตัวจากเฮลิคอปเตอร์ สารเคมีที่ใช้ในการดับเพลิงอาจรวมถึงน้ำ, สารเพิ่มคุณภาพน้ำ เช่น โฟมและเจล ตลอดจนสารหน่วงไฟสูตรพิเศษ เช่น ฟอส-เช็ก[1]
คำศัพท์
ความคิดในการต่อสู้ไฟป่าจากอากาศย้อนกลับไปอย่างน้อยถึงการสังเกตของฟรีดริช คาร์ล ฟ็อน เคอนิก-วาร์เทาเซิน เมื่อเห็นเปลวไฟขณะบินข้ามเทือกเขาซานตาลูเซีย ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ใน ค.ศ. 1929[2]: 142
มีการใช้คำศัพท์ที่หลากหลายในสื่อยอดนิยมสำหรับอากาศยาน (และวิธีการ) ที่ใช้ในการดับเพลิงทางอากาศ ซึ่งคำว่า แอร์แทงเกอร์ หรือ แอร์ แทงเกอร์ โดยทั่วไปหมายถึงอากาศยานที่มีปีกยึดติดกับลำตัวซึ่งตั้งฐานอยู่ในสหรัฐ โดย "แอร์แทงเกอร์" ได้ใช้ในเอกสารทางการ[3] ส่วนคำว่า "วอเตอร์บอมเบอร์" ใช้ในเอกสารของรัฐบาลแคนาดาสำหรับยานพาหนะประเภทเดียวกัน[4][5] แม้ว่าบางครั้งจะมีความหมายแฝงของสะเทินน้ำสะเทินบกก็ตาม[6]
ส่วน แอร์แอตแทก เป็นคำศัพท์ทางอุตสาหกรรมที่ใช้สำหรับการใช้วิธีการทางอากาศ ทั้งอากาศยานประเภทปีกตรึงและอากาศยานปีกหมุนในเหตุไฟไหม้ อย่างไรก็ตาม ภายในอุตสาหกรรม "แอร์แอตแทก" อาจหมายถึงผู้ควบคุมในอากาศ (โดยปกติจะอยู่ในอากาศยานปีกตรึง) ผู้ดูแลกระบวนการต่อสู้ไฟป่าจากทางอากาศ รวมถึงแอร์แทงเกอร์ปีกตรึง, เฮลิคอปเตอร์ และวิธีการทางอากาศอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ไปดับเพลิง ส่วนแอร์แทกติคอลกรุปซูเปอร์ไวเซอร์ (ATGS) ซึ่งมักเรียกว่า "แอร์แอตแทก" มักจะบินอยู่ในระดับความสูงเหนือวิธีการอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายต่อเหตุไฟไหม้ดังกล่าว บ่อยครั้งในเครื่องบินปีกตรึง แต่ในบางครั้ง (ขึ้นอยู่กับวิธีการที่ได้รับมอบหมาย หรือความพร้อมของกำลังพลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม) ในเฮลิคอปเตอร์
ขึ้นอยู่กับขนาด, สถานที่ และศักยภาพของไฟป่าที่ประเมินไว้ "แอร์แอตแทก" หรือกำลังพลแอร์แทกติคอลกรุปซูเปอร์ไวเซอร์อาตทำหน้าที่ผจญขั้นแรก (การตอบสนองครั้งแรกของทรัพยากรดับเพลิงในการระงับอัคคีภัย) หรือด้วยการผจญระยะยาว, การตอบสนองและการจัดการไฟป่าครั้งใหญ่อย่างต่อเนื่องซึ่งต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มเติมรวมทั้งเครื่องยนต์, ทีมงานภาคพื้นดิน ตลอดจนกำลังพลด้านการบินรวมถึงอากาศยานอื่น ๆ ที่จำเป็นในการควบคุมไฟและสร้างแนวควบคุม หรือแนวกันไฟก่อนเกิดไฟป่า[5]
อุปกรณ์
เฮลิคอปเตอร์และอากาศยานปีกคงที่ที่หลากหลายใช้สำหรับการดับเพลิงทางอากาศ ใน ค.ศ. 2003 มีรายงานว่า "กรมป่าไม้สหรัฐและสำนักงานบริหารจัดการที่ดินเป็นเจ้าของ, เช่า หรือทำสัญญาสำหรับอากาศยานเกือบ 1,000 ลำในแต่ละฤดูที่เกิดเพลิงไหม้ โดยมีค่าใช้จ่ายต่อปีเกินกว่า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา"[7]
เฮลิคอปเตอร์
เฮลิคอปเตอร์อาจติดตั้งแท็งก์น้ำ (เฮลิแทงเคอร์) หรืออาจบรรทุกถังได้ เฮลิแทงเคอร์บางรุ่น เช่น เอริกสันแอร์เครน ก็ติดตั้งปืนใหญ่โฟมด้านหน้าด้วยเช่นกัน ถังมักจะเติมโดยการแช่หรือจุ่มลงในทะเลสาบ, แม่น้ำ, อ่างเก็บน้ำ หรือถังแบบพกพา ซึ่งถังที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือถังแบมบีที่ยืดหยุ่นได้ ถังสามารถเติมน้ำบนพื้น (โดยเครื่องฉีดน้ำหรือระบบที่ติดตั้งบนรถบรรทุก) หรือสามารถสูบน้ำจากทะเลสาบ แม่น้ำ, อ่างเก็บน้ำ หรือถังแบบพกพาผ่านท่อที่แขวนอยู่ เฮลิคอปเตอร์ดับเพลิงยอดนิยม ได้แก่ เบลล์ 204, เบลล์ 205, เบลล์ 212, โบอิง เวอร์ทอล 107, โบอิง เวอร์ทอล 234 และเฮลิแทงเคอร์ซิคอร์สกี เอส-64 แอร์เครน ซึ่งมีท่อสำหรับเติมจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นขณะโผบิน รวมทั้งปัจจุบัน มิล เอ็มไอ-26 ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้ถังแบมบี
- เคแมน เค-แมกซ์ เค-1200 ใช้สำหรับการดับเพลิงทางอากาศในรัฐไอดาโฮ
- เบลล์ 205 ของหน่วยดับเพลิงเทศมณฑลเคิร์น (รัฐแคลิฟอร์เนีย) ปล่อยน้ำระหว่างการฝึกซ้อมที่ท่าอวกาศยานโมฮาวี
- ซิคอร์สกี เอส-70ซี ไฟเออร์ฮอว์ก ของหน่วยดับเพลิงเทศมณฑลลอสแอนเจลิส ระหว่างการสาธิตการปล่อยน้ำที่สถานี 129 ในแลงแคสเตอร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย
- นักบินสหรัฐพร้อมกองบินกู้ภัยที่ 129 กองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ กองทัพอากาศแคลิฟอร์เนีย ปล่อยน้ำบนกองไฟริมใกล้โยเซมิตี รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 2013
เครื่องบินทิ้งระเบิดน้ำและสารหน่วงไฟ
บรรดาแอร์แทงเกอร์ หรือบรรดาวอเตอร์บอมเบอร์ เป็นเครื่องบินปีกที่ติดตั้งถังที่สามารถบรรจุบนพื้นดินที่ฐานเครื่องบินสำหรับบรรทุกของเหลว หรือในกรณีของเรือบินและอากาศยานสะเทินน้ำสะเทินบก โดยการตักน้ำจากทะเลสาบ, อ่างเก็บน้ำ หรือแม่น้ำขนาดใหญ่โดยไม่จำเป็นต้องลงจอด
หลายปีที่ผ่านมามีการใช้อากาศยานหลายลำในการดับเพลิง ซึ่งใน ค.ศ. 1947 กองทัพอากาศสหรัฐและกรมป่าไม้สหรัฐได้ทดลองให้เครื่องบินทหารทิ้งระเบิดน้ำ โดยการทิ้งระเบิดน้ำดังกล่าวไม่สำเร็จ และมีการใช้ถังเก็บน้ำภายในแทน[8] แม้ว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และยุคสงครามเกาหลีจะเป็นแกนนำของกองบินดับเพลิงทางอากาศมาช้านาน[9] แต่บรรดาแทงเกอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ได้เผยแพร่สู่ระบบออนไลน์ ที่เล็กที่สุดคือเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงเครื่องยนต์เดียว (SEAT) เครื่องพ่นสารเคมีเหล่านี้คือเครื่องพ่นสารเคมีเพื่อการเกษตรที่โดยทั่วไปจะหย่อนน้ำหรือสารหน่วงน้ำประมาณ 800 แกลลอนสหรัฐ (3,000 ลิตร) ตัวอย่าง ได้แก่ แอร์แทรกเตอร์ เอที-802 ซึ่งสามารถส่งน้ำหรือน้ำยาหน่วงไฟได้ประมาณ 800 แกลลอนในแต่ละการปล่อย และเครื่องบินปีกสองชั้นอานโตนอฟ อาน-2 ของโซเวียต อากาศยานทั้งสองรุ่นนี้สามารถติดตั้งทุ่นลอยน้ำที่ตักน้ำจากผิวน้ำได้ ส่วนแคนาแดร์ ซีแอล-215 และซีแอล-415 ซึ่งพัฒนาออกมา คล้ายกันในรูปร่างกับคันซอดิเลเต็ด พีบีวาย แคทาลินา ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นสำหรับการดับเพลิงโดยเฉพาะ โดยกองทัพอากาศโครเอเชียใช้ซีแอล-415 หกเครื่อง และเอที 802 หกเครื่องเพื่อวัตถุประสงค์ในการดับเพลิง
หมายเหตุ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.