Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
67พี/ชูรูย์มอฟ–เกราซีเมนโค (อังกฤษ: 67P/Churyumov–Gerasimenko) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า 67พี เป็นดาวหางที่มีคาบดาราคติ 6.45 ปี[1] และมีคาบการหมุนรอบตัวเอง 12.4 ชั่วโมง[5] มีความเร็วสูงสุด 135,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง[6] (38 กิโลเมตร/วินาที) ดาวหางมีขนาดราว 4.1 กิโลเมตร เช่นเดียวกับดาวหางอื่น ๆ ดาวหาง 67พี ได้รับการตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ ซึ่งคือ คลิม ชูรูย์มอฟและสเวตลานา อีวานอฟนา เกราซีเมนโค นักดาราศาสตร์ชาวโซเวียต ซึ่งค้นพบดาวหางนี้เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1969
ภาพของดาวหาง 67พี/ชูรูย์มอฟ–เกราซีเมนโค ถ่ายโดยยาน โรเซตตา | ||||||||||
การค้นพบ | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค้นพบโดย: | คลิม อีวาโนวิช ชูรูย์มอฟ สเวตลานา อีวานอฟนา เกราซีเมนโค | |||||||||
ค้นพบเมื่อ: | 20 กันยายน ค.ศ. 1969 | |||||||||
หลักการค้นพบ: | อัลมาเตอ ประเทศคาซัคสถาน | |||||||||
ชื่ออื่น ๆ: | 1969 R1, 1969 IV, 1969h 1975 P11976 VII, 1975i 1982 VIII, 1982f, 1989 VI, 1988i[1] | |||||||||
ลักษณะของวงโคจร[1] | ||||||||||
ต้นยุคอ้างอิง 2014-Aug-10 (JD 2456879.5) | ||||||||||
ระยะจุดไกล ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 5.6829 AU (850,150,000 km) | |||||||||
ระยะจุดใกล้ ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 1.2432 AU (185,980,000 km) | |||||||||
กึ่งแกนเอก: | 3.4630 AU (518,060,000 km) | |||||||||
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.64102 | |||||||||
คาบดาราคติ: | 6.44 ปีจูเลียน | |||||||||
มุมกวาดเฉลี่ย: | 303.71° | |||||||||
ความเอียง: | 7.0405 ° | |||||||||
ลองจิจูด ของจุดโหนดขึ้น: | 50.147° | |||||||||
มุมของจุด ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 12.780° | |||||||||
ลักษณะทางกายภาพ | ||||||||||
มวล: | (1.0±0.1)×1013 kg[2] | |||||||||
ความหนาแน่นเฉลี่ย: | 0.4 g/cm³[3] | |||||||||
ความเร็วหลุดพ้น: | 1 m/s (3 ft/s)[4] (ประมาณการ) | |||||||||
คาบการหมุน รอบตัวเอง: | 12.4043±0.0007 ชั่วโมง[5] | |||||||||
เดคลิเนชัน ของขั้วเหนือ: | 64.00°[3] | |||||||||
อุณหภูมิพื้นผิว: ฟาเรนไฮต์ เซลเซียส |
|
ดาวหาง 67พี ยังเป็นจุดหมายของยานอากาศ โรเซตตา ขององค์การอวกาศยุโรป ซึ่งได้ปล่อยจากฐานเมื่อ 2 มีนาคม 2004[7][8][9] ซึ่งโรเซตตาได้เดินทางถึง 67พี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2014[10][11] และเข้าสู่วงโคจรของ 67พี เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2014[12] ก่อนที่ต่อมาในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2014 โรเซตตาได้ปล่อยยานลูก ฟีเล ลงจอดบนดาวหาง 67พี นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่มีการลงจอดบนดาวหาง[13][14][15]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.