ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (7 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 12 มกราคม พ.ศ. 2565) มีชื่อจริงว่า พาน สกุลนี เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งและเพลงแหล่[1] ชื่อดังระดับตำนานของประเทศไทย และอยู่ในวงการมานานหลายสิบปี โดยสร้างผลงานเพลงออกมามากมายนับไม่ถ้วน นอกจากนั้นก็ยังมีความเชี่ยวชาญด้านเพลงพื้นเมืองภาคกลางและได้สร้างผลงานเพลงประเภทนี้ออกมามากมาย และยังมีความสามารถด้านการแต่งเพลง ได้แต่งเพลงดังให้กับนักร้องหลายคน ทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างพุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีลูกทุ่งคนที่ 2 ด้วย[2]

ข้อมูลเบื้องต้น ไวพจน์ เพชรสุพรรณจ.ภ., ข้อมูลพื้นฐาน ...
ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
Thumb
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดพาน สกุลนี
เกิด7 มีนาคม พ.ศ. 2485
ที่เกิดอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
เสียชีวิต12 มกราคม พ.ศ. 2565 (79 ปี)
โรงพยาบาลตากสิน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงลูกทุ่ง, เพลงแหล่
อาชีพนักร้อง, นักแต่งเพลง, นักแสดง
ช่วงปีพ.ศ. 2504 - 2565​ (61 ปี)
ค่ายเพลงวงดนตรีลูกทุ่ง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (2504 - 2540)
โฟร์เอส (2540 - 2542)
โอเอฟ (2542 - 2545)
ท็อปไลน์มิวสิค (2545 - 2547)
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (2547 - 2565)
คู่สมรสอรชร สกุลณี
ปิด

ไวพจน์ ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) เมื่อ พ.ศ. 2540[3]

ประวัติ

ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เกิดเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485[4] ที่ หมู่ 2 ตำบลมะขามล้ม (ปัจจุบันเป็น ตำบลวังน้ำเย็น) อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรนายจำปี และนางอ่ำ สกุลนี เป็นชาวไทยเชื้อสายลาว[5] เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดวังน้ำเย็น อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

เข้าสู่วงการ

ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เริ่มหัดร้องเพลงอีแซว เพลงพื้นบ้านของ จ.สุพรรณบุรี ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ โดยได้ฝึกหัดและหัดตามมารดา ซึ่งเป็นแม่เพลงอีแซว จนสามารถร้องเพลงอีแซว และเพลงแหล่ได้เมื่ออายุ 14 ปี จากนั้นได้หัดร้องลิเกกับคณะลิเกประทีป แสงกระจ่าง เมื่ออายุ 16 ปีได้เข้าประกวดร้องเพลงครั้งแรกที่วัดท่าตลาด ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เพลงที่ร้องเป็นเพลงแหล่ของ พร ภิรมย์ ชื่อเพลง “จันทโครพ” ปรากฏว่าได้รางวัลที่ 1

ในช่วงนั้น ไวพจน์สนใจขับร้องเพลงลูกทุ่งมาก เพราะเป็นช่วงที่มีนักร้องลูกทุ่งมีชื่อเสียงเกิดขึ้นมากมาย เช่น ชัยชนะ บุญนะโชติ, ไพรวัลย์ ลูกเพชร และ ชาย เมืองสิงห์ ครั้งหนึ่งชัยชนะ บุญนะโชติ ได้นำวงดนตรีมาเล่นที่ตลาดสวนแตงและมีการรับสมัครประกวดร้องเพลง ไวพจน์จึงสมัครประกวดร้องเพลงด้วย และได้รับการชมเชยจากผู้ชมผู้ฟังเป็นจำนวนมาก ชัยชนะ บุญนะโชติ จึงชักชวนให้เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งและตั้งชื่อให้ใหม่ว่า " ไวพจน์ เพชรสุพรรณ " หลังจากนั้นได้นำไวพจน์ ไปฝากเป็นศิษย์ของครูสำเนียง ม่วงทอง นักแต่งเพลงซึ่งเป็นชาว จ.สุพรรณบุรี เช่นกัน ซึ่งเป็นเจ้าของวงดนตรี “รวมดาวกระจาย” ไวพจน์ จึงได้เข้ามาร่วมวงในฐานะนักร้องนำ ครูสำเนียงได้แต่งเพลงให้ร้อง และประสบความสำเร็จอย่างมาก คือ เพลง "ให้พี่บวชเสียก่อน" และยังได้ขับร้องเพลงของนักแต่งเพลงผู้อื่น คือ จิ๋ว พิจิตร เช่น เพลง ”แบ่งสมบัติ” และ “ไวพจน์ลาบวช” เป็นต้น

ราชาเพลงแหล่

ไวพจน์ เป็นผู้มีความสามารถรอบตัว เพราะนอกจากจะร้องเพลงลูกทุ่งได้ยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีความสามารถเล่นเพลงพื้นบ้านได้เกือบทุกชนิดทั้งเพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ เล่นได้หมดและเล่นได้ดีขนาดโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวีได้ โดยเฉพาะการแหล่ ทุกคนในวงการล้วนยกย่องให้ไวพจน์เป็น " ราชาเพลงแหล่ " เพราะมีเพลงแหล่บันทึกแผ่นเสียงมากที่สุดในประเทศไทย ทั้งยังสามารถแหล่ด้นกลอนสดได้อย่างไม่ติดขัด

ในจำนวนนักร้องลูกทุ่งอาวุโส ไวพจน์ มีผลงานบันทึกแผ่นเสียงมากที่สุดถึงประมาณ 2,000 เพลง และยังคงผลิตผลงานออกมาเพิ่มเติมในระดับที่ถี่กว่าคนอื่น ทั้งเพลงที่ครูเพลงแต่งให้และแต่งเองร้องเอง ไวพจน์ เพชรสุพรรณยังสามารถแต่งเพลงสร้างชื่อให้ลูกศิษย์มาแล้วมากมาย โดยศิษย์เอกที่โด่งดังของไวพจน์มี ขวัญจิต ศรีประจันต์, เพชร โพธาราม (เพลง ต.ช.ด.ขอร้อง) และ พุ่มพวง ดวงจันทร์ (เพลงแก้วรอพี่ , นักร้องบ้านนอก) นอกจากนั้นก็ยังเป็นหมอทำขวัญซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นหมอทำขวัญอันดับหนึ่งของเมืองไทยในปัจจุบัน[6]

ผลงานเพลงดัง

  • หนุ่มนารอนาง
  • สาละวันรำวง
  • แตงเถาตาย
  • ฟังข่าวทิดแก้ว
  • ใส่กลอนหรือเปล่า
  • สามปีที่ไร้นาง
  • อยากซิเห็นขาอ่อน
  • พี่เกี้ยวไม่เป็น
  • ซามักคักแท้น้อ
  • ลำเลาะทุ่ง
  • ไอ้แจ้งมีเมีย
  • หลอกให้เหนี่อย
  • แหล่ประวัติยอดรัก
  • สายเปลสายใจ
  • เซิ้งบ้องไฟ
  • ครวญหาแฟน
  • เบี้ยวเป็นเบี้ยว
  • แบ่งสมบัติ
  • 21 มิถุนา
  • เจ้าชู้บ้านไกล
  • ยายสำอาง
  • ตามน้อง
  • มีคู่เสียเถิด
  • น.ป.พ ครวญ
  • เพลงใหม่ไวพจน์
  • มองนิดๆอย่าคิดว่ารัก
  • บ่เป็นหยังดอก
  • แสบหัวใจ
  • มันมากับความแค้น
  • ด้านได้อายอด
  • คอยทั้งคืน
  • หน้าด้านหน้าทน
  • ลาน้องไปเวียดนาม
  • จักรยานคนจน
  • อีลุ๊ปตุ๊บป่อง
  • หนุ่มเรือนแพ
  • เพราะคุณคนเดียว
  • เหล้าจ๋า
  • จำกันบ่ได้นาง
  • ชุมทางเขาชุมทอง
  • ไก่นาตาฟาง
  • คุณนายโรงแรม
  • ทหารห่วงเมีย
  • ขวัญใจโชเฟอร์
  • เด็กปั้ม
  • เมาลูกเดียว
  • ปีนบ่มีลูก
  • บ่นแก้กลุ้ม
  • เจ็บแท้น้อ
  • รำวงกลางทุ่ง
  • หัวทิ่มบ่อ
  • ทำบุญร่วมชาติ
  • คอยน้องจนเมา
  • แหล่อาลัยรักพ่อดม
  • ไทเท่ คณะวง ไททศมิตร เพลงสุดท้ายในชีวิต

เพลงพิเศษ

  • คนขายฝัน - เพลงพิเศษจากมหกรรมคอนเสิร์ต "ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย" (สิงหาคม 2545)
  • ราชาแห่งราชัน (2554) - จัดทำขึ้นเพื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
  • ฟ้าร้องให้ (2559) - จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
  • ศรีเมืองไทย (2559)
  • ราชาที่ฟ้าประทาน (2561)

ผลงานแสดงภาพยนตร์

  • ไทยน้อย (ปี 2512)
  • สาละวัน (ปี 2512)
  • จอมบึง (ปี 2513)
  • อยากดัง (ปี 2513)
  • ไทยใหญ่ (ปี 2513)
  • มนต์รักป่าซาง (ปี 2514)
  • ชาละวัน (ปี 2515)
  • มนต์เพลงลูกทุ่ง (ปี 2522) รับบท ไวพจน์ (รับเชิญ)
  • เทพเจ้าบ้านบางปูน (ปี 2525)
  • นักเพลงผู้ยิ่งใหญ่ (ปี 2527) รับบท ไวพจน์ (รับเชิญ)
  • เลือดแค้น เล็กนกใน (ปี 2532) รับบท ผู้ใหญ่บ้าน (รับเชิญ)
  • มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (ปี 2545) รับบท ผู้ใหญ่บ้าน
  • เหลือแหล่ (ปี 2554) รับบท ไวพจน์
  • เพลงรักบ้านทุ่ง ภาค 2 (ปี 2566) รับบท กรรมการ(รับเชิญ)

ผลงานละคร

  • นายฮ้อยทมิฬ ปี 2544 (ช่อง 7)

โฆษณา

  • กระเบื้องดังของไทย ไดนาสตี้ ไทล์ท้อป ปี 2543

หนังสือ

  • โน้ตคีย์บอร์ด คลาสสิค
  • ลูกทุ่งเพื่อชีวิต Vol.5

อัลบั้มเดี่ยว

  • อัลบั้ม ไวพจน์ พันล้าน (ปี 2529)
  • อัลบั้ม ลูกทุ่ง บิ๊ก บิ๊ก ชุด 2 (ปี 2530)
  • อัลบั้ม สุดยอดลูกทุ่งเสียงทอง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (ธันวาคม ปี 2534)
  • อัลบั้ม อภิมหาลูกทุ่ง ซูเปอร์ฮิต (กันยายน ปี 2536)
  • อัลบั้ม โบว์รักสีดํา (ปี 2540)
  • อัลบั้ม แห่นางแมว (ปี 2541)
  • อัลบั้ม ไอ้แจ้งมีเมีย (27 กันยายน ปี 2545)

อัลบั้มรวมเพลง

  • อัลบั้มชุด ดีที่สุด 30 ต้นฉบับเพลงฮิตดีที่สุด
  • อัลบั้มชุด แหล่ประวัติยอดรัก
  • อัลบั้มชุด แหล่ประวัติพุ่มพวง
  • อัลบั้มชุด 21 มิถุนา
  • อัลบั้มชุด สายเปลสายใจ
  • อัลบั้ม ชุดที่ 8 ขุนพลเพลงแหล่
  • อัลบั้ม เมดเล่ย์มันส์ระเบิด ชุด เพลงแหล่มันส์จังหวะสามช่า
  • อัลบั้ม ไวพจน์ ลืมแก่ 1-4
  • อัลบั้ม หยิบผิด
  • อัลบั้ม ไวพจน์ มันส์ยกนิ้ว
  • อัลบั้ม ลูกทุ่งยอดนิยม
  • อัลบั้ม ไวพจน์ ฮิตโดนใจ

อัลบั้มพิเศษ

  • เมตตาธรรม (ตุลาคม ปี 2528) - จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกองทุนเพื่อเด็กไทย
  • รักษ์ป่า-ปลูกไผ่ (2537)
  • มหกรรมดอนเจดีย์ (พฤศจิกายน ปี 2537)
  • เมดเล่ย์ สุดยอด ลูกทุ่งกึ่งศตวรรษ (กรกฎาคม ปี 2538)
  • จุดเทียนเบรกแตก ร้องคู่ อ้อยใจ แดนอีสาน ชุดที่ 1 (มีนาคม ปี 2538)
  • จุดเทียนเบรกแตก ร้องคู่ อ้อยใจ แดนอีสาน ชุดที่ 2 (มีนาคม ปี 2538)
  • ลูกทุ่งออเคสตร้า กาญจนาภิเษก (ปี 2540)
  • ลูกทุ่งสนั่นเมือง ไวพจน์ & ยอดรัก (ปี 2541)
  • ลูกทุ่งทองไทย 60 ปี ครูชลธี ธารทอง ไวพจน์ & เพลิน (ปี 2541)
  • ลูกทุ่งตลับทอง 1000 ล้าน (ปี 2543)
  • มนต์เพลงครูไพบูลย์ บุตรขัน (ปี 2543)
  • หมอลำเต็มร้อย (ปี 2543)
  • มันส์ยกสามนิ้ว (ปี 2544)
  • พันล้าน ชุด 1 (ปี 2544)
  • เพลงประกอบละคร อะเมซซิ่งโคกเจริญ (กุมภาพันธ์ ปี 2544)
  • เพลินเพลง วัฒนธรรม (ปี 2545)
  • อุ่นไอรัก (7 กุมภาพันธ์ ปี 2546)
  • ม่วนซูเปอร์แซบ (11 มีนาคม ปี 2546)
  • กรึ๊บ (3 มิถุนายน ปี 2546)
  • ลูกทุ่งซิ่งสะเดิด (27 มิถุนายน ปี 2546)
  • พยงค์ มุกดา ฝากไว้ในแผ่นดิน ชุดที่ 2 จากใจผูกพัน (ตุลาคม ปี 2547)
  • ลูกทุ่งโป๊งซึ่ง (ตุลาคม ปี 2547)
  • Funny Party (ปี 2548)
  • Top Hits Collection (ปี 2548)
  • HIT เพลงโฆษณา หัวกะทิ (มิถุนายน ปี 2548)
  • 10 ปี แกรมมี่ โกลด์ ดนตรีไม่มีพรมแดน ชุดที่ 3 (กรกฎาคม ปี 2548)
  • คู่บุญ คู่บวช (ปี 2549-2554)
  • เต้นกันสนั่นเมือง (ปี 2549)
  • GMM Combo Set (ปี 2549)
  • ลูกทุ่ง สุดคุ้ม (ปี 2549)
  • เกียรติยศมาลัยทอง นักร้องชาย (กุมภาพันธ์ ปี 2550)
  • มนต์เพลงคาราบาว (พฤษภาคม ปี 2550)
  • 20 ปี แกรมมี่ โกลด์ ที่สุดของที่สุด ชุด 4 (20 เมษายน ปี 2558)
  • 20 ปี แกรมมี่ โกลด์ ที่สุดของที่สุด ชุด 5 (20 เมษายน ปี 2558)
  • 20 ปี แกรมมี่ โกลด์ ที่สุดของที่สุด ลูกทุ่งกลาง เหนือ ใต้ ชุด 2 (1 กรกฎาคม ปี 2558)
  • The Retro Hits ชุด 1 (16 ธันวาคม ปี 2559)
  • Let’s Celebrate Hits 2022 (15 ธันวาคม ปี 2565)
  • Hits To The Max (25 มกราคม ปี 2566)

อัลบั้มร่วมกับศิลปินคนอื่น

  • รวมฮิตท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน
  • ลูกทุ่งอมตะเพลงเมา
  • ท็อปฮิต 4 ดาว
  • ลูกทุ่ง พลังไทย
  • THE​ RETRO​ ​HITS​
  • ลูกทุ่ง รวมฮิตติดดาว ยอยศพระลอ
  • รวมฮิต ลูกทุ่งตลับทอง
  • รวมฮิตเพลงดังเงินล้าน
  • ต้นตระกูลเพลงดัง
  • 16 เพลงรักโดนใจ
  • ฮิตที่สุด
  • คู่แท้ คู่ฮิต 3
  • ลูกทุ่งสู่ฝัน
  • ลูกทุ่งปัดฝุ่น
  • ลูกทุ่งสามช่า
  • สุดยอดลูกทุ่ง ผู้ชายพันล้าน
  • รำวงย้อนยุด คณะ รวมดาวลูกทุ่ง
  • ลูกทุ่งเอฟเอ็ม
  • ซุปเปอร์ลูกทุ่ง
  • ลูกทุ่งสามช่า ชุด 2
  • ฮิตทั่วไทย ใจลูกทุ่ง
  • รวมเพลงฮิต 120 เพลงดัง ดีที่สุด
  • รวมเพลงแห่ขันหมาก 16 เพลงดัง
  • มหกรรม มันยกร่อง
  • อภิมหาลูกทุ่ง
  • เมา...มันส์ระเบิด
  • ต้นฉบับลูกทุ่งไทย
  • ต้นตำรับลูกทุ่งเสียงทอง 3
  • ย้อนรอย...ลูกทุ่ง ดาวจรัสแสง
  • ลูกทุ่งสามช่า มันส์พะยะค่ะ
  • ลูกทุ่งย้อนยุคฮิตตลอดกาล
  • อมตะเพลงดังโดนใจ
  • สุดยอดลูกทุ่งไทย
  • ฝากใจไว้ที่อีสาน
  • รวม 15 ศิลปินดัง
  • ลูกทุ่งฮิตโดนใจ
  • รวมดาวลูกทุ่ง
  • ขวัญใจรั้วของชาติ
  • ลูกทุ่งรวมดาวเพลงดัง
  • ต้นตำรับ 4 ลูกทุ่งเสียงทอง 4
  • ลูกทุ่งยอดฮิต
  • สุดฮิต มรดกลูกทุ่งไทย 2
  • ลูกทุ่งรวมพล คนหลายชื่อ
  • เพลงดังฟังสบาย 12 นักร้อง 12 เพลงอมตะ
  • หรรษาปาร์ตี้ปีใหม่ไทย
  • ลูกทุ่ง รวมดารา
  • ฮิตตัวพ่อ
  • ลูกทุ่งชูเปอร์ฮิต
  • ลูกทุ่งฮิตโดนใจ ทหาร หาญ
  • ลูกคอพันล้าน
  • ลูกทุ่ง เมดเล่ย์ สามซ่า มันส์ ระเบิด
  • ลูกทุ่งกรุงไทย
  • เพื่อชีวิต ฮิตสามช่า
  • ลูกทุ่งขวัญใจไทยอีสาน
  • ลูกทุ่ง ทองแท้ ถาม ตอบ
  • มนต์เพลง สุรพล สมบัติเจริญ ชุด 2
  • ลูกทุ่งเมดเล่ย์ เบรคไม่อยู่ ชุดพิเศษ 1 มันส์ไม่หยุด
  • ลูกทุ่งเพลงดัง โดนใจคอเพลง
  • ลูกทุ่งเพลงดังฟ้งไพเราะ
  • ขันหมากแต่งงาน

คอนเสิร์ต

  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งออเคสตร้า กาญจนาภิเษก (24-25 มกราคม 2540)
  • คอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย (18 สิงหาคม 2545)
  • คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2003 (23 มีนาคม 2546)
  • คอนเสิร์ต รวมพลังศรัทธา สมัชชาศิลปิน (11 กันยายน 2546)
  • คอนเสิร์ต สวัสดี 10 ปี แกรมมี่ โกลด์ (28 สิงหาคม 2548)
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งโฟร์เอส ปี 49 (2549)
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งโฟร์เอส ปี 50 (2550)
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่ง ซูปเปอร์โฟร์เอส ปี 51 (2551)
  • คอนเสิร์ต เพลงดี ดนตรีดัง จิตรกร บัวเนียม ครั้งที่ 2 (14 มิถุนายน 2552)
  • คอนเสิร์ต กตัญญูครูเพลง ชาญชัย บัวบังศร (26 มิถุนายน 2554)
  • คอนเสิร์ต เฮฮานาวี กับ สมศรี ม่วงศรเขียว (2 ตุลาคม 2554)
  • คอนเสิร์ต รำลึก 20 ปี ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ (17 มิถุนายน 2555)
  • คอนเสิร์ต คีตศิลปินไทย ร่วมร้อยใจ เทิดไท้แม่แห่งแผ่นดิน (29 สิงหาคม 2555)
  • คอนเสิร์ต โฟร์เอส ไทยแลนด์ ชุด 5 (2555)
  • คอนเสิร์ต โฟร์เอส รวมพลคนรักพี่เป้า (2556)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมวัฒนธรรม 4 ภาค (25 - 27 สิงหาคม 2558)
  • คอนเสิร์ต big mountain music festival 7 (19 - 20 ธันวาคม 2558)
  • คอนเสิร์ต The Producer คอนเสิร์ตหนึ่งจักรวาลและล้านดวงดาว (17 กันยายน 2559)
  • คอนเสิร์ต รำลึก 26 ปี ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ (25 มิถุนายน 2561)
  • คอนเสิร์ต รำลึก พ่อดม ชวนชื่น (30 ธันวาคม 2561)
  • คอนเสิร์ต สงกรานต์บ้านนา (21 เมษายน 2562)
  • คอนเสิร์ต น้อมคารวะศิลปินแห่งชาติ (11 สิงหาคม 2562)

ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่นๆ

  • เพลง ขันหมากลูกทุ่ง ร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินลูกทุ่ง โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ ไวพจน์)
  • เพลง สามช่าจงเจริญ ร้องโดย คาราบาว (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินหลายคน โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ)

การเสียชีวิต

ไวพจน์ เพชรสุพรรณได้เข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลตากสิน แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 และในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565 ไวพจน์ เพชรสุพรรณได้เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริอายุรวม 79 ปี[7]

วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 14.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพไวพจน์ เพชรสุพรรณ ณ เมรุชั่วคราว วัดวังน้ำเย็นตำบลวังน้ำเย็น อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

เกียรติยศ

  • ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) พ.ศ. 2540
  • เข็มพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ พ.ศ. 2514
  • รางวัลนักร้องดีเด่นจากงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยทั้ง 2 ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ. 2532 จากเพลง สาละวันรำวง และ พ.ศ. 2534 จากเพลง แตงเถาตาย
  • รางวัลพระพิฆเนศทองคำพระราชทาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.