Remove ads
ยุคทางธรณีวิทยาที่ใช้ในปัจจุบัน ครอบคลุม 11,700 ปีที่ผ่านมา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โฮโลซีน (อังกฤษ: Holocene) เป็นสมัยทางธรณีวิทยาในปัจจุบัน เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 11,650 ปีปรับเทียบก่อนปัจจุบัน ภายหลังจากช่วงอายุธารน้ำแข็งครั้งล่าสุด ซึ่งจบลงด้วยการล่าถอยของธารน้ำแข็งโฮโลซีน[2] โดยสมัยโฮโลซีนนั้นเป็นสมัยที่ต่อเนื่องมาจากสมัยไพลสโตซีน[3] ซึ่งทั้งสองสมัยนั้นรวมกันเป็นยุคควอเทอร์นารี สมัยโฮโลซีนนั้นได้รับการระบุว่าเป็นยุคอบอุ่นปัจจุบัน หรือรู้จักกันในชื่อ MIS 1 แต่บ้างก็ถือว่าเป็นช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งในสมัยไพลสโตซีน เรียกว่า ช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งฟลันเดรียน[4]
สมัยโฮโลซีน | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
0.0117 – 0 ล้านปีก่อน | |||||||||||||||
วิทยาการลำดับเวลา | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
นิรุกติศาสตร์ | |||||||||||||||
ความเป็นทางการของชื่อ | ทางการ | ||||||||||||||
ข้อมูลการใช้ | |||||||||||||||
เทห์วัตถุ | โลก | ||||||||||||||
การใช้ระดับภาค | ทั่วโลก (ICS) | ||||||||||||||
การใช้ช่วงเวลา | ธรณีกาลของ ICS | ||||||||||||||
การนิยาม | |||||||||||||||
หน่วยวิทยาการลำดับเวลา | สมัย | ||||||||||||||
หน่วยลำดับชั้นหิน | หินสมัย | ||||||||||||||
ความเป็นทางการของช่วงกาล | ทางการ | ||||||||||||||
คำนิยามขอบล่าง | จุดสิ้นสุดของธารน้ำแข็งถอยกลับยังเกอร์ดรายแอส | ||||||||||||||
ขอบล่าง GSSP | แกนน้ำแข็งของ NGRIP2 กรีนแลนด์ 75.1000°N 42.3200°W | ||||||||||||||
การอนุมัติ GSSP | 2008 (เป็นฐานของสมัยโฮโลซีน)[1] | ||||||||||||||
คำนิยามขอบบน | ปัจจุบัน | ||||||||||||||
ขอบบน GSSP | N/A | ||||||||||||||
การอนุมัติ GSSP | N/A |
สมัยโฮโลซีนนั้นสอดคล้องกับการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว การโตขึ้น และผลกระทบของเผ่าพันธุ์มนุษย์ทั่วโลก รวมไปถึงประวัติศาสตร์ที่ได้รับการเขียนไว้ทั้งหมด การปฏิวัติเทคโนโลยี การพัฒนาของอารยธรรมใหญ่ ๆ และการเปลี่ยนแปลงสำคัญโดยรวมซึ่งนำไปสู่การใช้ชีวิตเมืองในปัจจุบัน ผลกระทบของมนุษย์ในโลกยุคปัจจุบันและระบบนิเวศนั้นอาจพิจารณาได้ว่ามีความสำคัญต่อการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในอนาคตทั่วโลก รวมไปถึง หลักฐานธรณีภาคที่เกิดขึ้นพร้อมกันโดยประมาณ หรือหลักฐานด้านอุทกภาคและบรรยากาศภาคเกี่ยวกับผลกระทบของมนุษย์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 สหพันธ์ธรณีวิทยาสากลได้ทำการแบ่งสมัยโฮโลซีนออกเป็นสามการแบ่งย่อย ได้แก่ ช่วงอายุกรีนแลนด์เดียน (11,700 ปีก่อนถึง 8,200 ปีก่อน) ช่วงอายุนอร์ทกริปเปียน (8,200 ปีก่อนถึง 4,200 ปีก่อน) และช่วงอายุเมฆาลายัน (4,200 ปีก่อนถึงปัจจุบัน) ตามที่คณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากลเสนอ[5] โดยขอบชั้นหินแบบฉบับของช่วงอายุเมฆาลายัน คือ หินถ้ำในถ้ำ Mawmluh ในประเทศอินเดีย[6] และชั้นหินแบบฉบับแทรกทั่วโลก คือ แกนน้ำแข็งจากภูเขาโลแกนในประเทศแคนาดา[7]
ชื่อโฮโลซีน (Holocene) ในภาษาอังกฤษได้รับมาจากคำในภาษากรีกโบราณ โดยคำว่า โฮโลส (Holos หรือ ὅλος) นั้นหมายถึง "ทั้งหมดทั้งมวล" และคำว่า "ซีน" นั้นมาจากคำว่า ไคนอส (kainos หรือ καινός) หมายถึง "ใหม่" ตามแนวคิดของสมัยนี้ คือ "ใหม่ทั้งหมด" (entirely new)[8][9][10] โดยคำเสริมท้าย "-ซีน" (-cene) นั้นถูกใช้กับทั้งเจ็ดสมัยของมหายุคซีโนโซอิก
คณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากลยอมรับว่าสมัยโฮโลซีนนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 11,650 ปีปรับเทียบก่อนปัจจุบัน[2] ซึ่งคณะอนุกรรมธิการว่าด้วยยุคควอเทอร์นารีนั้นเลิกใช้คำว่า 'ล่าสุด' และเลือกชื่อโฮโลซีนมาใช้แทน และยังมีการสนใจในชื่อฟลันเดรียนด้วย ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับมาจากตะกอนการรุกล้ำของทะเลที่ชายหาดฟลันเดอร์สของประเทศเบลเยียม โดยมีการใช้เป็นชื่อพ้องกับโฮโลซีนโดยผู้เขียนที่พิจารณาว่าใน 10,000 ปีที่ผ่านมานั้นควรมีระยะเดียวกันกับเหตุการณ์ช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งครั้งก่อน และถูกรวมอยู่ในสมัยไพลสโตซีน[11] อย่างไรก็ตาม คณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากลพิจารณาว่าสมัยโฮโลซีนนั้นเป็นสมัยอันต่อเนื่องมาจากสมัยไพลสโตซีน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคธารน้ำแข็งล่าสุด ซึ่งท้องถิ่นของยุคธารน้ำแข็งล่าสุดนั้น ได้แก่ การเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งวิสคอนซินในทวีปอเมริกาเหนือ[12] การเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งไวคเซอเลียนในทวีปยุโรป[13] เดเวนเซียนในบริเตน[14] การเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งลังกีอวยในประเทศชิลี[15] และออตีรันในประเทศนิวซีแลนด์[16]
สมัยโฮโลซีนสามารถแบ่งย่อยออกเป็นห้าช่วงคั่นหรือหินรุ่น ตามความผันแปรของสภาพอากาศ ได้แก่[17]
นักธรณีวิทยาซึ่งทำงานในภูมิภาคต่าง ๆ นั้นกำลังทำการศึกษาระดับน้ำทะเล บึงพีด (peat bogs) และตัวอย่างแกนน้ำแข็งด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและขัดเกลาลำดับลิตต์–เซร์นันเดร์ ซึ่งเป็นการจำแนกประเภทของยุคทางภูมิอากาศโดยการใช้ซากพืชในพีทมอสเป็นตัวกำหนด[18] แม้ว่าครั้งหนึ่งจะเคยมีความคิดว่าวิธีนี้นั้นมีความน่าสนใจเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการอ้างอิงอายุจาก 14C ของพีทมอสนั้นไม่สอดคล้องกับหินรุ่นที่อ้างอิง[19] แต่ผู้ตรวจสอบพบความสอดคล้องกันโดยทั่วไปทั่วทั้งทวีปยูเรเชียและทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเดิมแผนการนี้ถูกวางไว้สำหรับยุโรปเหนือ แต่ความแปรปรวนของสภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั้นเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยช่วงของแผนการนี้นั้นรวมไปถึงความแปรปรวนสุดท้ายก่อนโฮโลซีนของยุคธารน้ำแข็งครั้งล่าสุดด้วย และจากนั้นจึงจำแนกภูมิอากาศของยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ใหม่กว่า[20]
นักบรรพชีวินวิทยาไม่ได้ทำการกำหนดหินช่วงอายุกลุ่มซากดึกดำบรรพ์ใด ๆ สำหรับสมัยโฮโลซีน หากจำเป็นต้องมีการแบ่งย่อย ช่วงเวลาของการพัฒนาเทคโนโลยีของมนุษย์ เช่น ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่ และ ยุคสัมฤทธิ์ มักถูกนำมาใช้ อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาอ้างอิงของคำเหล่านี้นั้นจะแตกต่างกันไปตามเกิดขึ้นของเทคโนโลยีนั้น ๆ ตามส่วนต่าง ๆ ของโลก[21]
ตามที่นักวิชาการบางคนกล่าวว่า การแบ่งที่สาม หรือ แอนโทรโปซีน ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วนั้น[22] คำนี้ถูกนำมาใช้เพื่อแสดงถึงช่วงเวลาปัจจุบัน ซึ่งเงื่อนไขและกระบวนการสำคัญทางธรณีวิทยาหลายประการได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากโดยกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งชื่อ 'แอนโทรโปซีน' (Anthropocene) (ซึ่งได้รับการบัญญัติโดยพอล เจ. ครูทเซนและยูจีน สเตอร์เมอร์ในปี 2543) นั้นไม่ใช่หน่วยทางธรณีวิทยาอย่างเป็นทางการ โดยคณะอนุกรรมาธิการว่าด้วยยุคควอเทอร์นารีของคณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากล มีคณะทำงานเพื่อการพิจารณาความเหมาะสมของสิ่งเหล่านี้ โดยในเดือนพฤษภาคม 2562 สมาชิกของคณะทำงานได้ลงมติเห็นชอบให้คำว่า แอนโทรโปซีน เป็นหน่วยทางการของหน่วยอายุลำดับชั้นหิน (chrono-stratigraphic unit) โดยมีสัญญาณทางลำดับชั้นหินในราวกลางศตวรรษที่ยี่สิบตามสากลศักราช (ส.ศ.) เป็นฐาน ส่วนเกณฑ์ที่แน่นอนนั้นยังคงจำเป็นต้องมีการพิจารณาต่อไป ซึ่งหลังจากนี้จะต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัดตามลำดับเสียก่อน (โดยขั้นสุดท้าย คือ สหพันธ์ธรณีวิทยาสากล)[23]
การเคลื่อนที่ของแผ่นทวีปเนื่องการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคนั้นเกิดขึ้นน้อยกว่าหนึ่งกิโลเมตรในช่วงเวลาเพียง 10,000 ปี อย่างไรก็ตาม การละลายของน้ำแข็งนั้นทำให้เกิดระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นประมาณ 35 m (115 ft) ในช่วงต้นของสมัยโฮโลซีน และอีก 30 เมตรในช่วงหลังของสมัยโฮโลซีน นอกจากนี้ หลายพื้นที่ที่อยู่เหนือประมาณเส้นขนานที่ 40 องศาเหนือนั้น ยังได้รับแรงกดดันจากน้ำหนักของธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนและเพิ่มขึ้นมากเท่ากับ 180 m (590 ft) เนื่องจากการเด้งกลับหลังธารน้ำแข็งในช่วงปลายของสมัยไพลสโตซีนถึงสมัยโฮโลซีน และยังคงเพิ่มขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้[24]
การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและการเป็นแอ่งบนแผ่นดินชั่วคราวนั้น ทำให้เกิดการรุกล้ำของทะเลชั่วคราวเข้าไปจนถึงพื้นที่ซึ่งในปัจจุบันอยู่ไกลจากทะเล โดยซากดึกดำบรรพ์ทะเลของสมัยโฮโลซีนที่เป็นที่รู้จัก เช่น จากรัฐเวอร์มอนต์ และ รัฐมิชิแกน สหรัฐ นอกเหนือจากการรุกล้ำของทะเลชั่วคราวในละติจูดสูงนั้นเกี่ยวข้องกับแอ่งจากธารน้ำแข็ง ซากดึกดำบรรพ์ของสมัยโฮโลซีนนั้นยังพบได้ในก้นทะเลสาบที่ราบน้ำท่วมถึงและตอนกอนหินถ้ำ โดยตอนแกนทะเลสมัยโฮโลซีนตามแนวชายฝั่งในละติจูดต่ำนั้นหาได้ยาก เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเกินความเป็นไปได้ในการยกตัวของธรณีภาคของแหล่งที่ไม่ได้มาจากธารน้ำแข็ง[ต้องการอ้างอิง]
การเด้งกลับหลังธารน้ำแข็งในภูมิภาคสแกนดิเนเวียนั้นส่งผลให้ทะเลบอลติกลดลง โดยการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของภูมิภาคนี้ยังคงทำให้เกิดแผ่นดินไหวเบา ๆ ทั่วยุโรปเหนือ เหตุการณ์ที่เท่ากันในทวีปอเมริกาเหนือ คือ การเด้งกลับของอ่าวฮัดสัน โดยตัวอ่าวนั้นหดตัวลงจากระยะทะเลไทรเรลที่ใหญ่กว่าในช่วงหลังธารน้ำแข็งโดยทันที จนใกล้ขอบเขตปัจจุบัน[25]
เมื่อเทียบกับในช่วงก่อนหน้าที่มีอากาศหนาวเย็น (การเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็ง) ภูมิอากาศในสมัยโฮโลซีนนั้นค่อนข้างคงที่ บันทึกที่อยู่ในแกนน้ำแข็งแสดงให้เห็นว่าก่อนสมัยโฮโลซีนนั้นมีภาวะโลกร้อนหลังจากสิ้นสุดยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด และมีช่วงที่อากาศเย็นตัวลง แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในระดับใหญ่นั้นมีมากขึ้นในช่วงเริ่มต้นยังเกอร์ดรายแอส ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากช่วงอายุธารน้ำแข็งครั้งล่าสุดมาเป็นสมัยโฮโลซีนนั้น การพลิกกลับอากาศเย็นฮูเอลโม–มัสการ์ดีในซีกโลกใต้เริ่มต้นขึ้นก่อนยังเกอร์ดรายแอส และทำให้กระแสความอบอุ่นไหลจากใต้ขึ้นสู่เหนือจาก 11,000 ถึง 7,000 ปีก่อน โดยดูเหมือนว่าสิ่งนี้นั้นได้รับอิทธิพลจากธารน้ำแข็งที่ยังหลงเหลืออยู่ในซีกโลกเหนือจนถึงช่วงหลัง ๆ[ต้องการอ้างอิง]
สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมที่สุดโฮโลซีน (HCO) เป็นช่วงที่อากาศอบอุ่นขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้อากาศอบอุ่นขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาวะโลกร้อนนั้นอาจไม่เท่ากันทั่วโลก โดยช่วงเวลาอบอุ่นนี้สิ้นสุดลงเมื่อประมาณ 5,500 ปีก่อนโดยการเข้าสู่นีโอกลาซีเอชันพร้อมด้วยนีโอพลูเวียล ในเวลานั้น สภาพภูมิอากาศนั้นไม่ต่างจากปัจจุบัน แต่มีช่วงเวลาที่อบอุ่นกว่าเล็กน้อยจากศตวรรษที่ 10 ถึง 14 ซึ่งรู้จักในชื่อ ยุคอบอุ่นยุคกลาง ตามด้วย ยุคน้ำแข็งน้อย ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 หรือ 14 จนถึงกลางศตวรรษที่ 19
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.