Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลเพราไมด์ (Loperamide) หรือชื่อทางการค้าคือ อีโมเดียม (Imodium) เป็นยาลดอาการท้องร่วง[2] มักใช้ในการรักษากระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ, ลำไส้อักเสบเรื้อรัง และกลุ่มอาการลำไส้สั้น เนื่องจากยานี้ทำงานโดยการชะลอการบีบตัวของทางเดินอาหาร[2] จึงไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ถ่ายเป็นเลือด สามารถรับยานี้ได้โดยวิธีรับประทาน[2]
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
การอ่านออกเสียง | /loʊˈpɛrəmaɪd/ |
ชื่อทางการค้า | Imodium, Dicotil, others[1] |
ชื่ออื่น | R-18553 |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a682280 |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | รับประทาน |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 0.3% |
การจับกับโปรตีน | 97% |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 9–14 ชั่วโมง[2] |
การขับออก | Faeces (30–40%), urine (1%) |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS |
|
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.053.088 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C29H33ClN2O2 |
มวลต่อโมล | 477.037 g/mol (513.506 with HCl) g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
SMILES
| |
InChI
| |
7 (what is this?) (verify) | |
ผลข้างเคียงทั่วไปได้แก่ เจ็บตรงช่องท้อง, ท้องผูก, ง่วงนอน, อาเจียน และปากแห้ง ผลข้างเคียงร้ายแรงได้แก่ลำไส้ใหญ่พองตัวและเน่า[2] สตรีให้นมบุตรสามารถใช้ยาชนิดนี้ได้[3] อย่างไรก็คาม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ายานี้เหมาะสมต่อสตรีมีครรภ์หรือไม่ แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยมีประวัติในเชิงลบ[4]
โลเพราไมด์ถูกค้าพบในปี ค.ศ. 1969 และเริ่มใช้เป็นยาในปี ค.ศ. 1976[5] ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหนึ่งในยาหลักขององค์การอนามัยโลก[6] ปัจจุบันมีวางจำหน่ายในฐานะยาสามัญที่มีราคาไม่แพง[2][7]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.