Loading AI tools
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 80/4 หมู่ 5 ถนนพหลโยธิน-ลำลูกกา ตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
80/4 หมู่ 5 ถนนพหลโยธิน-ลำลูกกา ตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | Triamudomsuksa pattanakarn pathumthani |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาลสหศึกษา |
คำขวัญ | ปรัชญา ความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม คติพจน์ วิริเยน ทุกขมัจเจติ คนล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียร |
สถาปนา | โรงเรียนลำลูกกา (ล.ก.) 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา (ต.อ.พ.ล.) 21 มกราคม พ.ศ. 2557 |
ผู้ก่อตั้ง | กระทรวงศึกษาธิการ |
จำนวนนักเรียน | 2,562 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2566)[1] |
ชั้นเรียนที่เปิดสอน | มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 |
สี | สีชมพู-สีน้ำเงิน |
เพลง | มาร์ชเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ |
สังกัด | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
เว็บไซต์ | http://www.tuppt.ac.th |
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี เป็นหนึ่งในโรงเรียนต้นแบบ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน[2] และเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง[3] ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เป็นโรงเรียนในเครือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการและโรงเรียนประจำอำเภอลำลูกกา
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2567) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา การจัดชั้นเรียนแบบ ม.ต้น12-12-12/ม.ปลาย11-11-10 รวม 68 ห้องเรียน
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี มีเดิมชื่อว่า โรงเรียนลำลูกกา ได้รับการประกาศจัดตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 โดยมีการเปิดรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในปีเดียวกัน ซึ่งในช่วงแรกได้ฝากนักเรียนไปเรียนที่โรงเรียนประชาบาลลำลูกกา (โรงเรียนชุมชนเลิศพินิจพิทยาคม ในปัจจุบัน) จนกระทั่งอาคารเรียนชั่วคราวหลังแรกก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2511 จึงได้ย้ายนักเรียนมาเรียนที่โรงเรียนที่เป็นที่ตั้งปัจจุบัน โรงเรียนได้ทำการสอนเรื่อยมาจนในปี พ.ศ. 2524 โรงเรียนจึงได้เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นครั้งแรก
วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงชื่อโรงเรียนจาก โรงเรียนลำลูกกา เป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา ใช้อักษรย่อ ต.อ.พ.ล. ตามความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นของอำเภอลูกกาและสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ที่นิยมตั้งชื่อโรงเรียนตามโรงเรียนที่ได้รับความนิยม[4]
ต่อมาในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา เป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี ใช้อักษรย่อ ต.อ.พ.ปท. เพื่อสนองนโยบายของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ที่ต้องการให้มีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ประจำจังหวัดปทุมธานี [5]
รายนามผู้บริหารโรงเรียนลำลูกกา | |||
ลำดับ | รายนามผู้บริหาร | ตำแหน่ง | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|
1. | นายวิริยะ เวชวิธี | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2520 |
2. | นายบุญนาค ภาสะพันธ์ | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2521 |
3. | นายอนันต์ ทรงฤกษ์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2534 |
4. | นายวิวัฒน์ พวงมะลิต | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2537 |
5. | นายโสภณ บำรงสงฆ์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2539 |
6. | นายกุศล กลแกม | ผู้อำนวยการ | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 16 มกราคม พ.ศ. 2544 |
7. | นางทิพยรัตน์ เด่นดำรงวิทย์ | ผู้อำนวยการ | 16 มกราคม พ.ศ. 2544 - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2545 |
8. | นางจำนงค์ แจ่มจันทรวงศ์ | ผู้อำนวยการ | 14 มกราคม พ.ศ. 2546 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2546 |
รายนามผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา (Triam Udom Suksa Patthanakarn Lamlukka School) | |||
ลำดับ | รายนามผู้บริหาร | ตำแหน่ง | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. | นางจำนงค์ แจ่มจันทรวงศ์ | ผู้อำนวยการ | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2546 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2546 |
2. | นายถวิล ศรีใจงาม | ผู้อำนวยการ | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 - 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550 |
3. | นายปรีชา กล่ำรัศมี | ผู้อำนวยการ | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550-30 กันยายน พ.ศ. 2554 |
4. | นายถวิล ศรีใจงาม | ผู้อำนวยการ | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 - 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550 |
5. | นายปรีชา กล่ำรัศมี | ผู้อำนวยการ | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554 |
6. | นายประสงค์ สุบรรณพงษ์ | ผู้อำนวยการ | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556 |
7. | นายสมชาย ฟักทอง | ผู้อำนวยการ | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 |
8. | ดร.สาทร สมบุญ | ผู้อำนวยการ | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20 มกราคม พ.ศ. 2557 |
รายนามผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี | |||
1. | ดร.สาทร สมบุญ | ผู้อำนวยการ | 21 มกราคม พ.ศ. 2557 - (ไม่ทราบ ว/ด/ป) |
2. | นายนฤภพ ขันทับไทย | ผู้อำนวยการ | (ไม่ทราบ ว/ด/ป) - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 [6] |
3. | นายพิทักษ์ ตุ้มมี | ผู้อำนวยการ | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2563 |
4. | นายทศพงศ์ พีระพฤฒิพงศ์ | ผู้อำนวยการ | (ไม่ทราบ ว/ด/ป) - 30 กันยายน พ.ศ. 2564 |
5. | นายพิษณุ เดชใด | ผู้อำนวยการ | 25 มกราคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน |
โรงเรียนมีพื้นที่ 23 ไร่ 1 งาน 5 ตารางวา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานีทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย มีการจัดชั้นเรียนแบบ 12-12-12/11-11-10 (ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 12 ห้องเรียน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นละ 11 ห้องเรียน) มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2,562 คน มีการเปิดกลุ่มการเรียน ดังนี้
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีทั้งหมด 10 ห้องเรียน ห้องละ 40 คน รวมทั้งระดับชั้น 400 คน และมีห้องเรียนพิเศษ ได้แก่[7]
มีห้อง Gifted สำหรับ ม.1 เพิ่ม 1 ห้อง (พ.ศ 2556)
มีห้อง MEP สำหรับ ม.1 เพิ่ม 1 ห้อง (พ.ศ 2556)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีทั้งหมด 11 ห้องเรียน ห้องละ 40 คน รวมทั้งระดับชั้น 436 คน ได้แก่
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานีเปิดรับสมัครนักเรียนและสอบคัดเลือกในช่วงเดือนมีนาคมทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 เช่นเดียวกับโรงเรียนรัฐบาลทั่วไป โดยในแต่ละปีจะกำหนดจำนวนการรับและประเภทนักเรียนที่รับซึ่งโรงเรียนจะประกาศแจ้งผ่านในโรงเรียนและในเว็บไซต์ของโรงเรียนซึ่งสามารถตรวจสอบได้
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จะรับสมัครนักเรียนปีละประมาณ 480 คน โดยจะแบ่งออกเป็น นักเรียนในเขตพื้นที่บริการโดยการสอบคัดเลือกวัดความสามารถ นักเรียนในเขตพื้นที่บริการโดยการจับสลาก และนักเรียนทั่วไปไม่จำกัดเขตพื้นที่บริการ[7]
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จะรับสมัครนักเรียนปีละประมาณ 440 คน โดยจะมีการแบ่งออกเป็นแผนการเรียนต่าง ๆ โดยจะแบ่งออกเป็น นักเรียนที่เรียนจบในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี และนักเรียนที่เรียนจบในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนอื่นและนักเรียนที่จบจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี แต่ไม่ผ่านการคัดเลือก[8]
สายที่ผ่านโรงเรียนแห่งนี้ ได้แก่
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.