Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ (อังกฤษ: Mathayom Wat Makutkasat School) เป็นโรงเรียนสหศึกษา (เดิมชื่อโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์ เป็นโรงเรียนชายล้วน) เปิดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งอยู่บนพื้นที่ของวัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2494 โดยกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดสถานที่ตั้งไว้ที่บริเวณหน้าวัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร และหน่วยแนะแนวการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการจัดนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่หาที่เรียนไม่ได้มาเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เดิมรับเฉพาะนักเรียนชาย จนกระทั่งเปิดรับนักเรียนหญิงเข้าเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2545 จนถึงปัจจุบัน รวมพื้นที่ของโรงเรียนทั้งหมด 3 ไร่ 1 งาน 86.66 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารต่าง ๆ ของโรงเรียนทั้งหมด 5 อาคาร
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (มิถุนายน 2021) |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ Mathayom Wat Makutkasat School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ม.ก. / M.K. |
ประเภท | รัฐ / โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ |
คำขวัญ | ลูก ม.ก. มีน้ำใจ อัธยาศัยดี วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา (บุรุษพึงพยายามไปจนกว่าประโยชน์จะสำเร็จ) |
สถาปนา | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2494 |
ผู้ก่อตั้ง | อาจารย์บุญยัง ทรวดทรง |
หน่วยงานกำกับ | กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1000100106 |
ผู้อำนวยการ | ดร.รัตนวดี โมรากุล |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย |
สี | ชมพู-เหลือง |
เพลง | มาร์ชมกุฏกษัตริย์ |
เว็บไซต์ | www.makut.ac.th |
สีเหลือง ████ หมายถึง สีของพระพุทธศาสนาในที่นี้คือ วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร ซึ่งอนุญาตให้ใช้พื้นที่บริเวณวัดส่วนหนึ่งเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียน
สีชมพู ████ หมายถึง ความอ่อนเยาว์ และการศึกษา
ลำดับ | ชื่อ-สกุล | เข้ารับตำแหน่ง | ออกจากตำแหน่ง | |
1 | นายบุญยัง ทรวดทรง | พ.ศ. 2494 | พ.ศ. 2509 | |
2 | นายสุด สุวรรณนาคินทร์ | พ.ศ. 2509 | พ.ศ. 2515 | |
3 | นายบุญเนิน หนูบรรจง | พ.ศ. 2515 | พ.ศ. 2517 | |
4 | นายช.เสวต เพ็ชรไพศิษฏ์ | พ.ศ. 2517 | พ.ศ. 2519 | |
5 | นายเสนาะ จันทร์สุริยา | พ.ศ. 2519 | พ.ศ. 2526 | |
6 | นายเจิม สืบขจร | พ.ศ. 2526 | พ.ศ. 2532 | |
7 | นายสุรินทร์ สรรพกิจ | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2537 | |
8 | นายสุวิชญ์ นาถะภักฎิ | พ.ศ. 2537 | พ.ศ. 2540 | |
9 | นายมนตรี แสนวิเศษ | พ.ศ. 2540 | พ.ศ. 2542 | |
10 | นายอุดม พรมพันธ์ใจ | พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2543 | |
11 | นายธีระพงศ์ นิยมทอง | พ.ศ. 2543 | พ.ศ. 2546 | |
12 | นายณัฐกิจ บัวขม | พ.ศ. 2546 | พ.ศ. 2550 | |
13 | นายนพพล เหลาโชติ | พ.ศ. 2550 | พ.ศ. 2554 | |
14 | นายวันชัย ทองเกิด | พ.ศ. 2554 | พ.ศ. 2557 | |
15 | นายจรัสฤทธิ์ กลิ่นสุวรรณ | พ.ศ. 2557 | พ.ศ. 2558 | |
16 | นายกรวิทย์ เลิศศิริโชติ | พ.ศ. 2558 | พ.ศ. 2561 | |
17 | นางสาววรรณา ปริญญาวิวัฒน์กุล | พ.ศ. 2561 | พ.ศ. 2566 | |
18 | นางสาวรัตนวดี โมรากุล | พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน |
โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ เปิดการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 2 ช่วงชั้น ได้แก่
1. ช่วงชั้นที่ 3 (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) มีกลุ่มการเรียน ดังนี้
2. ช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาปีที่ 4-6) มีแผนการเรียน ดังนี้
(*ข้อมูลล่าสุดวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562)
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.