Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย (อังกฤษ: Piyamaharachalai School) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดนครพนม
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (เมษายน 2565) |
โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย Piyamaharachalai School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
๔๒ ถนนปิยะมหาราชาลัย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ป.ย. / P.Y. |
ประเภท | โรงเรียนสังกัด สพฐ. โรงเรียนประเภทสหศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ |
คำขวัญ | หมั่นเพียร เรียนดี มีวินัย ใจกตัญญู |
ก่อตั้ง | 11 มีนาคม พ.ศ. 2452 |
รหัส | 1048190456 |
ผู้อำนวยการโรงเรียน | นายอภิเชษฐ์ สุนทรส |
ครู/อาจารย์ | 171 คน[1] |
จำนวนนักเรียน | 2,352 คน ปีการศึกษา 2565[2] |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเวียดนาม ภาษาลาว |
ห้องเรียน | 65 ห้อง |
สี | ชมพู-ฟ้า |
สังกัด | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
สหวิทยาเขต | ศรีโคตรนคร |
เว็บไซต์ | http://www.piya.ac.th |
โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2452 ที่โรงเรียนสุนทรวิจิตร เดิมใช้ชื่อว่า โรงเรียน "บำรุงสตรี" ต่อมาพระยาตรังคภูมาภิบาล สมุหเทศาภิบาล มณฑลอุดร ให้ความเห็นชอบให้ใช้สถานที่ตรงศาลากลางหลังเดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียน พระยาอดุลยเดช เป็นผู้มอบให้เป็นโรงเรียนประจำจังหวัด
ในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียน "นครพนมปิยะมหาราชาลัย" เพื่อเป็นบรมราชานุสรณ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรงกับที่พระยาสุนทรเทพกิจจารึก เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด อาคารเรียนเดิมหลังคามุงด้วยหญ้า มีชั้นเรียนสูงสุดถึงชั้นเรียนมัธยมปี 4 นายทอง อนงค์ไชยเป็นครูใหญ่คนแรก
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย[3] | |||
---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง | ตำแหน่ง |
1 | นายทอง อนงค์ไชย | พ.ศ. 2452 - 2457 | ครูใหญ่ |
2 | นายเหล็ง เชษฐดิลก | พ.ศ. 2457 - 2460 | ครูใหญ่ |
3 | นายโปร่ง บุณยารมย์ | พ.ศ. 2460 - 2461 | ครูใหญ่ |
4 | นายเปลื้อง อินทุสมิต | พ.ศ. 2461 - 2469 | ครูใหญ่ |
5 | นายถม ขรรค์เพชร | พ.ศ. 2469 - 2473 | ครูใหญ่ |
6 | นายเชวง ศิริรัตน์ | พ.ศ. 2473 - 2510 | ครูใหญ่ |
7 | นายวรพจน์ มะลิวัลย์ | พ.ศ. 2510 - 2513 | ครูใหญ่ |
8 | นายไพโรจน์ ไชยแสง | พ.ศ. 2513 - 2518 | อาจารย์ใหญ่ |
9 | นายแสงทอง กมลรัตน์ | พ.ศ. 2518 - 2524 | ผู้อำนวยการ |
10 | นายพิน ศรีอาจ | พ.ศ. 2524 - 2527 | ผู้อำนวยการ |
11 | นายอุดร มหาเมฆ | พ.ศ. 2527 - 2529 | ผู้อำนวยการ |
12 | นายสมคิด คมคาย | พ.ศ. 2529 - 2531 | ผู้อำนวยการ |
13 | นายวิรัช บำรุงสวัสดิ์ | พ.ศ. 2531 - 2535 | ผู้อำนวยการ |
14 | นายสมปรารถน์ มณีพรรณ | พ.ศ. 2535 - 2538 | ผู้อำนวยการ |
15 | นายคมสัน บุพศิริ | พ.ศ. 2538 - 2545 | ผู้อำนวยการ |
16 | นายสุรพงษ์ คูสกุลวัฒน | พ.ศ. 2545 - 2547 | ผู้อำนวยการ |
17 | นายไชยยง อาจวิชัย | พ.ศ. 2547 - 2548 | ผู้อำนวยการ |
18 | นายสุรพงษ์ คูสกุลวัฒน | พ.ศ. 2548 - 2550 | ผู้อำนวยการ |
19 | นายคมสิน ศรีมานะศักดิ์ | พ.ศ. 2550 - 2559 | ผู้อำนวยการ |
20 | นายศิริชัย ไตรยราช | พ.ศ. 2559 - 2562 | ผู้อำนวยการ |
21 | นายบรรจง ศรีประเสริฐ | พ.ศ. 2562 - 2565 | ผู้อำนวยการ |
22 | นายอภิเชษฐ์ สุนทรส | พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน | ผู้อำนวยการ |
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.