Loading AI tools
โรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ( Nawamintharachinuthit Triamudomsuksapattanakarn School ) (อักษรย่อ: นมร.ต.อ.พ., Nmr.T.u.p.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประเภทสหศึกษาเป็นโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติ ในกลุ่มโรงเรียน 9 นวมินทราชินูทิศ และเป็นโรงเรียนสาขาของ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการแห่งแรก เป็นโรงเรียนในเครือ "อัษฎเตรียมพัฒน์" ในลำดับที่ 2
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ประเภท | โรงเรียนรัฐ |
คติพจน์ | รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ |
สถาปนา | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 |
ผู้บริหาร | ผู้อำนวยการนายวิชาญ กิ่งก้าน |
ชั้นเรียนที่เปิดสอน | ม.1 – ม.6 |
สี | ชมพู-น้ำเงิน |
เพลง | มาร์ชนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ |
สังกัด | สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ |
ต้นไม้ | ต้นสักทอง |
เว็บไซต์ | http://www.nmrtup.ac.th |
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จัดตั้งเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ โดย กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา ขึ้นจำนวน 9 โรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้พระราชทานชื่อให้ว่า " นวมินทราชินูทิศ "
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากผู้ปกครองของนักเรียนเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี ประกอบกับสถานที่ของโรงเรียนมีเนื้อที่จำกัดไม่สามารถขยายได้อีกจึงประสบปัญหาเรื่องการรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นกรมสามัญศึกษาจึงมีนโยบายที่จะเปิดโรงเรียนสาขาสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นที่นิยมและต้องการของผู้ปกครอง
ปีการศึกษา 2534 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ มีแผนการจัดชั้นเรียนเต็มรูปแบบ รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 14 ห้องเรียน ต้องรับเพิ่มเป็น 18 ห้องเรียน โดยเรียนที่ 14 ห้องเรียนยังคงเรียนที่เดิมส่วนอีก 4 ห้องเรียนต้องนำไปฝากเรียนที่โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนสาขาเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ"
ปีการศึกษา 2535 โรงเรียนต้องรับนักเรียนเพิ่มเป็นจำนวน 20 ห้องเรียน จึงประสบปัญหาในเรื่อง การขยายสถานที่ นายเจต ประภามนตรีพงศ์ ได้เสนอให้ใช้สถานที่ของโรงเรียนประภามนตรี โดยใช้ชื่อ โรงเรียนสาขาเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
เมื่อประสบปัญหาในเรื่องสถานที่ กรมสามัญศึกษาจึงต้องหาสถานที่ เพื่อก่อสร้างโรงเรียนสาขาไว้รองรับนักเรียน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสามัญศึกษา ได้มอบหมายให้นายกว้าง รอบคอบ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสามัญศึกษา เป็นผู้ประสานงานหาที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงเรียน และได้รับบริจาคที่ดิน 24 ไร่ ในโครงการบางนาการ์เด้น จากนางปิ่นทอง ศาลยาชีวิน ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการบางนา การ์เด้น ตั้งอยู่ที่ ก.ม.26 ถนนบางนา-ตราด อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ กรมสามัญศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสม จึงรับมอบที่ดินดังกล่าว และประกาศจัดตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ”
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ | ||
รายชื่อ | ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง | |
---|---|---|
1. นางลัดดา ตระหง่าน | พ.ศ. 2535 (ผู้ดูแลการจัดตั้งโรงเรียนในระยะเริ่มต้น) | |
2. นายณรงค์ ตามรักษา | พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2537 | |
3. นางสุนันทา กุลอ่อน | พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2542 | |
4. นางสาวจริมศรี เพ็ชรกุล | พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546 | |
5. นางเตือนใจ อรัญยะนาค | พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2554 | |
6. นางปฏิมา พูนทรัพย์ | พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2556 | |
7. นายวุฒิชัย วันทมาตย์ | พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2558 | |
8. นางสุภาพร รัตน์น้อย | พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2561 | |
9. นางวรฉาย ทองคำ | พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2563 | |
10. นายสมชาย ทองสุทธิ์ | พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2566 | |
11. นายวิชาญ กิ่งก้าน | พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.