Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนธัญบุรี เป็นโรงเรียนรัฐบาลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (ปทุมธานี สระบุรี) (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2) ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา และเป็นโรงเรียนประจำอำเภอธัญบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 2 พหลโยธิน 94 ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ใกล้กับโรงพยาบาลธัญญารักษ์และโรงเรียนสายปัญญารังสิต
โรงเรียนธัญบุรี Thanyaburi School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 2 พหลโยธิน 94 ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ธ.บ. |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
คำขวัญ | วิริเยน ทุกฺขมจฺ เจติ คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร |
สถาปนา | 7 เมษายน พ.ศ 2493 |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1013270184 (ใหม่) 01130301 (เก่า) |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษา |
สี | สีขาว-สีแดง |
เพลง | มาร์ชโรงเรียนธัญบุรี |
ผู้อำนวยการ | นายอธิปย์ อู่แก้ว |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน | ต้นสัตบรรณ |
เว็บไซต์ | http://www.tbs.ac.th/ |
โรงเรียนธัญบุรี ได้ก่อสร้างและเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกบนที่ดิน 5 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวาซึ่งได้รับการบริจาคจาก คุณนาย ทองพูล, นายตันซิว ทองพูล, นายตันซิวเม้ง หวั่งหลี โดยมีนายอยู่ ทิพย์คงคา เป็นผู้ติดต่อขอที่ดินซึ่งเริ่มดำเนินการติดต่อขอที่ดินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 และได้ทำการเปิดการเรียนการสอนครั้งแรกในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2492 โดยเขียนชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนธัญญบุรี ตามการเขียนคำว่า ธัญญบุรี ในสมัยนั้น และใช้ตัวอักษรย่อว่า ป.ท.๗. ต่อมาในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2493 ทางจังหวัดก็ได้ส่ง สิบตรีวีระจิตต์ เลี้ยงตน มาเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน
วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2510 มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเขียนชื่ออำเภอชื่อจังหวัดต่าง ๆ ให้เขียนชื่ออำเภอธัญบุรี มี ญ. ตัวเดียว โรงเรียนจึงได้เปลี่ยนการเขียนจาก โรงเรียนธัญญบุรี เป็น โรงเรียนธัญบุรี เช่นในปัจจุบัน และต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงอักษรย่อที่ใช้ปักบนเสื้อนักเรียน ซึ่งเดิมใช้ชื่อย่อจังหวัดปทุมธานีตามด้วยตัวเลขที่ก่อตั้ง จึงได้เปลี่ยนจาก ป.ท.๗. เป็น ธ.บ. ซึ่งในขณะนั้นประชาชนในท้องที่เกิดความสับสนจากชื่อและตำแหน่งที่ตั้งของโรงเรียน 2 แห่ง ซึ่งอาจมาจากการเรียกท้องที่โดยบริเวณ โรงเรียนธัญบุรี ที่ตั้งอยู่ที่ตำบลประชาธิปัตย์เรียกว่า รังสิต และ โรงเรียนรังสิต (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนธัญรัตน์) ที่ตั้งอยู่ที่ตำบลรังสิตซึ่งใกล้กับที่ว่าการอำเภอซึ่งเรียกว่า ธัญบุรี ทำให้คนที่จะไปติดต่อกับโรงเรียนธัญบุรีจะไปที่อำเภอและต้องกลับมาที่ตำบลประชาธิปัตย์ ต่างกันที่โรงเรียนธัญบุรีเปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่โรงเรียนรังสิตเปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3
ภายหลังสถานที่เดิมที่ตำบลประชาธิปัตย์คับแคบลงและมีนักเรียนจำนวนมากขึ้นเพราะท้องถิ่นเจริญขึ้น ซึ่งโรงเรียนที่ดินกองมรดกของ ม.ร.ว.รสริน คัคณางค์ บริจาคให้ 16 ไร่ และที่ราชพัสดุโรงพยาบาลธัญญารักษ์อีก 5 ไร่ รวมเป็น 21 ไร่ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 โดยมี หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้รับมอบโฉนดจากผู้บริจาค ได้ทำการก่อสร้างอาคาร 1 เป็นตึกสองชั้น 12 ห้องเรียนและอาคารหลังคาจากอีกหนึ่งหลัง 2 ห้องเรียน โดยครู นักเรียน ช่วยกันปลูกสร้าง ต่อมา ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ อธิบดีกรมสามัญศึกษาได้มาวางผังการก่อสร้างอาคารเรียนให้เรียงแถวกันตามดวงอาทิตย์ 1-2-3-4 ได้ทำการปรับปรุงพัฒนามาจนเป็นโรงเรียนธัญบุรีในปัจจุบัน[1]
ประกอบด้วย ห้องสมุด ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายงบประมาณ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องอุตสาหกรรม ห้องโสตทัศนศึกษา โรงยิมและห้องเรียนของนักเรียนระดับ มัธยมปลาย โดยบริเวณด้านหลังอาคารฝั่งทิศตะวันออกจะเป็นเรือนเกษตร
ประกอบด้วย ห้องแนะแนว ห้องพยาบาล ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ และห้อง Sound lab และห้องเรียนมัธยมต้นบางส่วน
ประกอบด้วย ห้องปกครอง ห้องภาษาไทย ห้องสังคม ห้องปฏิบัติงานภาษาไทย ห้องปฏิบัติงานสังคม และห้องเรียนมัธยมต้น
ประกอบด้วย ห้องเกียรติภูมิ ห้องศูนย์เรียนรวม ห้องคณะกรรมการนักเรียน ห้องดนตรี-นาฏศิลป์ ห้องพละ และห้องเรียนนักเรียนแผนการเรียนพิเศษ
ห้องเรียนศิลปะ และ ห้องลูกเสือ-เนตรนารี
เป็นกลุ่มอาคารด้านทิศตะวันตก ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน ประกอบด้วย หอประชุมใหญ่ ห้องผู้อำนวยการ ห้องกิจกรรม ห้องบริการ ห้องบริหารงานบุคคล ห้องประชุมเล็ก สหกรณ์ ห้องเรียนอาเซียน (อาคารแปดเหลี่ยม) และห้องเรียนคหกรรม
ประชาสัมพันธ์ อยู่บริเวณติดกับอาคาร 4 ใกล้กับประตูฝั่งป้อมยาม ให้บริการงานประชาสัมพันธ์ ส่วนธนาคารโรงเรียน อยู่บริเวณ ประตูทางเข้าโรงเรียนบริเวณองค์พระ โดยมีความร่วมมือจากธนาคารออมสิน
การก่อสร้าง โดมเอนกประสงค์โดยได้รับความร่วมมือจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
ประกอบด้วย สนามฟุตบอล เสาธงใหญ่ อัฒจรรย์ 4 ที่ และทางเดิน
ลำดับ | ชื่อ | วาระที่ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1. | นายอยู่ ทิพคงคา | พ.ศ. 2493 |
2. | ส.ต.วีระจิตต์ เลี้ยงตน | พ.ศ. 2493-2497 |
3. | นายประมุข แก้วบุญมี | พ.ศ. 2497-2498 |
4. | นายสำราญ วงษ์ทองคำ | พ.ศ. 2498-2502 |
5. | นายทองหล่อ จุลสุคนธ์พ. | พ.ศ. 2502-2507 |
6. | นายเสนอ อนุโรจน์ | พ.ศ. 2507-2509 |
7. | นายสิน บุญเกตุ | พ.ศ. 2509-2512 |
8. | นายเลิศ สดแสงจันทร์ | พ.ศ. 2513 - 2523 |
9. | นายระงับ ศรีรุ่งเรือง | พ.ศ. 2523-2528 |
10. | นายสมุน แพ่งรักษ์ | พ.ศ. 2528-2531 |
11. | นายสมาน รักษาศีล | พ.ศ. 2531-2542 |
12. | นายประสิทธิ์ มีแต้ม | พ.ศ. 2542-2546 |
13. | นายสุรศักดิ์ สว่างแสง | พ.ศ. 2546-2546 |
14. | นายสมศักดิ์ โคกทอง | พ.ศ. 2546-2547 |
15. | นายคณิต ภิรมย์ไกรภักดิ์ | พ.ศ. 2547-2550 |
16. | นางวัฒนา กฤษเจริญ | พ.ศ. 2550-2551 |
17. | นายสมชาย ส่งศรีพันธุ์ | พ.ศ. 2551-2558 |
18. | นายชวา หมื่นมี | พ.ศ. 2558-2561 |
19. | นายชาลี วัฒนเขจร | พ.ศ. 2561-2563 |
20. | นางชฎาพร เธียรศิริพิพัฒน์ | พ.ศ. 2563 - 2566 |
21. | นายอธิปย์ อู่แก้ว | พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
โรงเรียนโรงเรียนธัญบุรี ทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย มีการจัดชั้นเรียนแบบ 12-12-12/15-15-12 (ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 12 ห้องเรียน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นละ 12 ห้องเรียน) มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2,816 คน แบ่งเป็น 2 ระดับชั้น ดังนี้
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีทั้งหมด 12 ห้องเรียน รวมทั้งระดับชั้น 1,472 คน แบ่งเป็น
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีทั้งหมด 12 ห้องเรียน รวมทั้งระดับชั้น 1,374 คน ซึ่งจะมีการแยกเป็นแผนการเรียนต่าง ๆ แบ่งเป็น
รถโดยสายประจำทางที่ผ่าน : 29, 34, 39, 59, 95ก, 185, 374, 503, 504, 510, 520, 522, 538, 554, 555, 6250, รถสองแถวสาย 381 (ป้ายเขียว) รอบเมือง, รถตู้และรถมินิบัสทุกสายที่ไปฟิวเจอร์พาร์ครังสิต
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดร.สุวดี ก้องพารากุล นักวิจัยหญิงจากการนำผลงานวิจัยและประดิษฐ์ “แผ่นยางทำความสะอาดน้ำมันแบบใช้ซ้ำ” ไปคว้ารางวัลเหรียญทอง กลุ่มงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน จากงาน “42nd Internatioanl Exhibition of Inventions of Geneva” ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อเร็ว ๆ นี้ ถึงแนวคิด แรงบันดาลใจ ในการสร้างงานวิจัยที่ไม่ธรรมดาชิ้นนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.