Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลสุทธาเวช (อังกฤษ: Suddhavej Hospital) เป็นโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super tertiary care) สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นที่ตั้งและที่ดำเนินการเรียนการสอนให้กับนิสิตคณะแพทยศาสตร์ ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ในเมือง (ม.เก่า) โรงพยาบาลสุทธาเวช ถือเป็นโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นอกจากนี้คณาจารย์สังกัดคณะแพทยศาสตร์ ยังปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลด้วย
โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |
---|---|
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | 79/99 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ประเทศไทย |
หน่วยงาน | |
ระบบการบริการ | ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ |
ประเภท | โรงพยาบาลเพื่อการเรียนการสอน |
สังกัด | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
บริการสุขภาพ | |
มาตรฐาน | โรงเรียนแพทย์ระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super tertiary care) |
แผนกฉุกเฉิน | มี |
จำนวนเตียง | 140 เตียง[1] |
ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ | มี |
ประวัติ | |
ชื่อเดิม | โรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ Faculty of Medicine Hospital |
เปิดให้บริการ | ศูนย์บริการทางการแพทย์ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 โรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556 |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | suddhavej.ac.th |
โรงพยาบาลสุทธาเวช พัฒนามาจาก ศูนย์บริการทางการแพทย์ ซึ่งดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ณ อาคารประกอบการหอพัก ระหว่างหอพักเชียงยืนและหอพักชื่นชม ภายในเขตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549 ได้เปิดศูนย์บริการทางการแพทย์แห่งที่ 2 ณ ที่ทำการคณะแพทยศาสตร์ อาคารศูนย์บริการทางการแพทย์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และมีแผนการพัฒนาศูนย์บริการทางการแพทย์แห่งที่ 2 เป็นโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยได้เริ่มก่อสร้างอาคารศูนย์บริการทางการแพทย์และศูนย์วิจัยเฉลิมพระเกีรยติขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2552 โดยใช้ชื่อในขณะนั้นว่า "ศูนย์บริการทางการแพทย์และศูนย์วิจัยเฉลิมพระเกียรติ" ซึ่งเป็นชื่อในขั้นตอนของการของบประมาณ โดยใช้เงินงบประมาณแผ่นดินร่วมกับเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมทั้งสิ้น 279,538,600 บาท (สำหรับเครื่องมือ อุปกรณ์การแพทย์ และการปรับปรุงตกแต่งห้องพิเศษ) และได้รับความร่วมมือจากแรงศรัทธาของชาวจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียงร่วมบริจาคเพิ่มเติมจากเงินงบประมาณอาคาร ศูนย์บริการทางการแพทย์และศูนย์วิจัยเฉลิมพระเกียรติแล้วเสร็จวันที่ 15 มีนาคม 2556 และเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"[2] โดยที่ตัวอาคารเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 12 ชั้น ขนาดความจุสูงสุด 230 เตียง มีพื้นที่ใช้สอย 17,430 ตารางเมตร[3] และในวันที่ 1 มีนาคม 2557 คณะแพทยศาสตร์ ได้ย้ายการให้บริการสุขภาพจากอาคารศูนย์บริการทางการแพทย์ เขตพื้นที่ในเมืองมาดำเนินการ ณ โรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยให้บริการเฉพาะผู้ป่วยนอกโดยมี อาจารย์นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ เป็นรองคณบดีฝ่ายบริการทางการแพทย์ หรือผู้อำนวยการโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์คนแรก
ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 โรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อโรงพยาบาลว่า“สุทธาเวช” หมายถึง โรงพยาบาลซึ่งพร้อมด้วยการแพทย์อันดีงาม และพระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญอักษรพระนามาภิไธย “ส.ธ.” ประดิษฐานที่ป้ายชื่อโรงพยาบาลด้วย[4]
โรงพยาบาลสุทธาเวช มีสถานะเป็นโรงพยาบาลของรัฐ ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรค บริการทางการแพทย์ และสาธารณสุข ให้แก่นิสิตนักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไป ให้บริการผู้มีสิทธิ์บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิ์ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ประกันสังคม ประกันชีวิต และอื่นๆ โดยโรงพยาบาลได้ผ่านการประเมินจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น ให้เป็นหน่วยบริการประจำ (CUP : Contracting Unit For Primary Care) วันที่ 1 ตุลาคม 2552
ต่อมา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดอาคารสุทธาเวชอณูชีวโมเลกุล (ศูนย์ตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19) โรงพยาบาลสุทธาเวช เป็นการให้บริการห้องปฏิบัติการอณูชีวโมเลกุลทางการแพทย์ที่สามารถตรวจหาเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อโรคในระดับ DNA, RNA ที่มีความรวดเร็ว และสามารถตรวจจับเชื้อไวรัสในปริมาณน้อยได้ ซึ่งมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สามารถตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)[5]
ในปี 2563 สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. ได้ออกประกาศให้การรับรองกระบวนการคุณภาพสถานพยาบาลให้กับ โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และอีก 8โรงพยาบาล โดยระบุว่า ตามที่คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการรับรองคุณภาพ ให้คำแนะนำหรือเสนอแนะแก่ผู้อำนวยการในการพิจารณารับรองคุณภาพและเพิกถอนการรับรองคุณภาพ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563[6] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 26 และ 27 (3) แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (ฉบับ2) พ.ศ. 2562 ประกอบระเบียบคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินการพัฒนาและการรับรองคุณภาพของสถานพยาบาล พ.ศ. 2563 ได้รับการรับรองกระบวนการคุณภาพ โดยมีระยะเวลา 2 ปี
|
|
คลินิกเฉพาะด้าน และ หน่วยงานที่ให้บริการของโรงพยาบาลสุทธาเวช[7]
|
|
โรงพยาบาลสุทธาเวช ประกอบด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้แก่
นอกจากอาคารภายในเขตของโรงพยาบาลและคณะแพทย์แล้ว โรงพยาบาลสุทธาเวช ยังมีศูนย์บริการทางการแพทย์อีก 2 แห่งได้แก่
โรงพยาบาลสุทธาเวช ตั้งอยู่ใจกลางเขตเศรษฐกิจของจังหวัดมหาสารคาม ในบริเวณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ใกล้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ศูนย์การค้าเสริมไทยคอมเพล็กซ์, แขวงทางหลวงจังหวัดมหาสารคาม, สำนักงานทางหลวงที่ 8 (มหาสารคาม) และหน่วยงานราชการสำคัญของจังหวัดมหาสารคาม การเดินทางมายังโรงพยาบาลสุทธาเวช สามารถเดินทางได้ ดังนี้
HELPS
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุทธาเวชนั้น ดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายโรงพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์อีกตำแหน่งหนึ่ง รายนามผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุทธาเวช มีดังนี้
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์[8] | ||
---|---|---|
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1. อ.นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ | 2555 - 2558 | |
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุทธาเวช[9] | ||
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
2. ผศ.นพ. รัฐ สอนสุภาพ | 2558 - 2560 | |
3. อ.นพ.สรรญชัย สมบัติไหมไทย | 2560 - 2560 | |
4. ศ.คลินิก.พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร | 2560 - 2561 | |
5. ผศ.นพ.เกรียงไกร โกวิทางกูร | 2561 - 2564 | |
6. นพ. บวร แสนสุโพธิ์ | 2564 - ปัจจุบัน | |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.