โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ขนาด 540 เตียง[ต้องการอ้างอิง] สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้บริการรักษาทั่วผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ตั้งอยู่ที่เลขที่ 283 ถนนกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และทำหน้าที่เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและสถาบันสมทบเพื่อการผลิตแพทย์ให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ | |
---|---|
Kalasin Hospital | |
ประเภท | รัฐ (โรงพยาบาลทั่วไป) |
ที่ตั้ง | 283 ถนนกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000 |
ข้อมูลทั่วไป | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2493 |
สังกัด | กระทรวงสาธารณสุข |
ความร่วมมือ | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ผู้อำนวยการ | นพ.สุรสิทธิ์ จิตรพิทักษ์เลิศ |
จำนวนเตียง | โรงพยาบาลทั่วไป ขนาด S จำนวน 540 เตียง[1] |
เว็บไซต์ | http://klsh.moph.go.th/ |
ประวัติ
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ก่อตั้ง พ.ศ. 2493 เพื่อรองรับผู้ป่วยหนักที่ถูกส่งต่อมารักษา 18 อำเภอในจังหวัดกาฬสินธุ์ จากโรงพยาบาลชุมชน 17 แห่ง และสถานีอนามัยตำบลกว่า 600 แห่ง เพื่อสกัดกั้นผู้ป่วยที่อยู่ในต่างจังหวัดมิให้ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นในการขอรับบริการที่มีคุณภาพจากโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร[2]
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ก่อตั้งขึ้นภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (the Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor : CPIRD) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และการกระจายแพทย์ที่ไม่เหมาะสมในชนบท โดยมียุทธศาสตร์เริ่มต้นคือ รับจากชนบท เรียนที่ชนบท และกลับสู่ชนบท และได้ลงนามความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะเรียนกระบวนวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปตามข้อบังคับเพื่อการศึกษา ขั้นปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชั้นปีที่ 2-3 เรียนร่วมกับชั้นปรีคลินิกของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่วนในชั้นคลินิกปีที่ 4-6 เรียนที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
หลักสูตรการศึกษา
ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ใน 1 หลักสูตร คือ
ระยะเวลาในการศึกษา
ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้
|
|
การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดรับนิสิตแพทย์รุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2549 โดยใช้ระบบรับตรงของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ เปิดรับนิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาแพทยศาสตร์ทั้งสิ้น 1 โครงการ ได้แก่
- โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) คณะแพทยศาสตร์[3]
โดยคณะเปิดรับเฉพาะนักเรียนที่มีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น คือ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มุกดาหาร นครพนม และสกลนคร
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.