โรคซนสมาธิสั้น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาธิสั้น (อังกฤษ: attention deficit hyperactivity disorder, ADHD) เป็นโรคของระบบประสาท[11][12]ประเภทความผิดปกติในการเจริญเติบโตของระบบประสาท ซึ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียกร้องความสนใจ การแสดงออกอย่างหุนหันพันแล่น ซึ่งไม่เหมาะสมตามวัย[13] ลักษณะอาการจะเริ่มที่อายุ 6 ขวบถึง 12 ขวบและมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน[3][14] พบเห็นมากในวัยที่เข้าเรียนแล้ว และมักจะส่งผลให้มีผลการเรียนที่ย่ำแย่
โรคซนสมาธิสั้น | |
---|---|
ชื่ออื่น | attention-deficit disorder, hyperkinetic disorder (ICD-10) |
สาขาวิชา | จิตเวชศาสตร์, กุมารเวชศาสตร์ |
อาการ | Difficulty paying attention, excessive activity, difficulty controlling behavior[1][2] |
การตั้งต้น | อายุไม่เกิน 6–12 ปี[3] |
ระยะดำเนินโรค | นานกว่า 6 เดือน[3] |
สาเหตุ | Both genetic and environmental factors[4][5] |
วิธีวินิจฉัย | วินิจฉัยจากอาการโดยผ่านการวินิจฉัยแยกสาเหตุอื่นออกแล้ว[1] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Normally active young child, conduct disorder, oppositional defiant disorder, learning disorder, bipolar disorder, fetal alcohol spectrum disorder[6][7] |
การรักษา | Counseling, lifestyle changes, medications[1] |
ยา | Stimulants, atomoxetine, guanfacine, clonidine[8][9] |
ความชุก | 51.1 million (2015)[10] |
แม้ว่ามีการศึกษาอย่างแพร่หลายกับกลุ่มเด็กและวัยรุ่น แต่ก็ยังไม่พบสาเหตุของโรคที่เกิดกับคนส่วนใหญ่ ในจำนวนเด็กทั้งหมด พบว่ามีเด็กประมาณ 6-7% ที่เป็นโรคสมาธิสั้นเมื่อคัดตามเกณฑ์ DSM-IV[15] และ 1-2% เมื่อคัดตามเกณฑ์ ICD-10[16] อัตราการเป็นโรคใกล้เคียงกันในแต่ละประเทศ และส่วนใหญ่แล้วแตกต่างกันตามวิธีการตรวจ[17] อาการนี้มีการพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 3 เท่า[18][19] ประมาณ 30-50% ของผู้ที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วัยเด็กมีอาการต่อจนโตเป็นผู้ใหญ่[20] และมีผู้ใหญ่ 2-5% ที่มีอาการสมาธิสั้น[11] อาการสมาธิสั้นนั้นอาจจะยากที่จะแยกออกจากความผิดปกติอื่น ๆ และอาการของคนทั่วไปที่กระตือรือร้นมากกว่าปกติ
การจัดการกับโรคสมาธิสั้นมักจะเป็นการให้คำปรึกษา การเปลียนแปลงวิถีการใช้ชีวิต และการให้ยา รวมกัน แต่การให้ยานั้นแนะนำให้ใช้ในกรณีของเด็กที่มีอาการรุนแรงและอาจจะพิจารณาให้กับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางที่ล้มเหลวจากวิธีให้คำปรึกษา[21]: p.317 ผลกระทบระยะยาวนั้นยังไม่ชัดเจน และไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กก่อนวันเรียน วัยรุ่นและผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาทักษะในการเผชิญปัญหาได้ด้วยเช่นกัน[22]
โรคสมาธิสั้นและการรักษาเป็นที่ถกเถียงตั้งแต่ช่วงปี 1970[23] มีการโต้เถียงระหว่างแพทย์กับครู ผู้กำหนดนโยบาย พ่อแม่ และสื่อ โดยหัวข้อนั้นเกี่ยวกับสาเหตุของสมาธิสั้น และการใช้ยากระตุ้นเพื่อเป็นการรักษา[24][25] ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ให้การดูแลสุขภาพได้ยอมรับว่าสมาธิสั้นเป็นโรค ข้อโต้เถียงในวงการวิทยาศาสตร์จะเกี่ยวกับเกณฑ์ของอาการและวิธีการรักษา
สัญญาณและอาการ
สรุป
มุมมอง
สมาธิสั้นแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม: กลุ่มเฉื่อยชา กลุ่มอยู่นิ่งไม่ได้ และกลุ่มที่มีการอาการทั้งสองอย่าง[26]: p.4
กลุ่มเฉื่อยชามีอาการบางส่วนดังนี้[27]
- ฟุ้งซ่านได้อย่างได้ง่าย ขาดรายละเอียด ลืมของ และเปลี่ยนกิจกรรมหนึ่งไปยังอีกกิจกรรมหนึ่งบ่อยครั้ง
- มีปัญหาในการมุ่งที่จะทำงานหนึ่งอย่าง
- กลายเป็นคนเบื่องานในเวลาอันสั้น หากไม่ได้ทำงานที่สนุก
- มีปัญหาในการมุ่งที่จะจัดระเบียบในการดำเนินงาน หรือ การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
- มีปัญหาในการส่งการบ้าน และมักจะทำของหาย (เช่น ดินสอ ของเล่น งานที่ได้รับมอบหมาย) ที่จำเป็นต้องใช้ให้งานเสร็จ
- ไม่ฟังเวลาที่ผู้อื่นพูด
- ฝันกลางวัน สับสนได้ง่าย และเคลื่อนไหวช้า
- ลำบากในการคิด การประมวลผล และไม่ถูกต้องเหมือนคนอื่น ๆ
- ไม่ฟังตามคำแนะนำ
กลุ่มอยู่นิ่งไม่ได้จะมีอาการดังต่อไปนี้[27]
- อยู่ไม่เป็นที่ กระสับกระส่าย
- พูดไม่หยุด
- ชน แตะ เล่น กับทุกอย่างที่อยู่ในสายตา
- มีปัญหากับการนั่งในที่ทานอาหาร นั่งในโรงเรียน ทำการบ้าน
- มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
- มีปัญหาในการทำงานหรือกิจกรรมที่ใช้ความเงียบ
อาการอยู่นิ่งไม่ได้นี้มีแนวโน้มจะหายไปเมื่อมีอายุมากขึ้น และจะกลับกลายเป็นอาการ "ความระส่ำระส่ายภายใน" ในกลุ่มวัยรุ่นและกลายมาเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นสมาธิสั้น[11]
ผู้ทีมีอาการขาดความยับยั้งชั่งใจ จะมีอาการดังต่อไปนี้[27]
- ไม่มีความอดทน
- ระเบิดความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสม แสดงอารมณ์โดยขาดการควบคุม และ แสดงโดยไม่ได้คำนึงถึงผลที่ตามมา
- มีปัญหาในการรอคอยสิ่งที่ต้องการ หรือขัดการสนทนาของบุคคลอื่น
คนที่มีสมาธิสั้นนั้นมักจะมีความยากลำบากในการเข้าสังคม เช่น การมีปฏิสัมพันธ์กันในสังคม การรักษามิตรภาพ ซึ่งเป็นอาการที่พบกับผู้ป่วยสมาธิสั้นทุกกลุ่ม เด็กและวัยรุ่นประมาณครึ่งหนึ่งที่เป็นสมาธิสั้นถูกปฏิเสธจากสังคมและเพื่อนร่วมงาน ในขณะที่มีเพียง 10-15% ของกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นคนสมาธิสั้นที่ถูกปฏิเสธจากสังคม ผู้ที่เป็นสมาธิสั้นมีสมาธิที่ไม่ปกติ ส่งผลให้มีความยากลำบากในการประมวลผลทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ซึ่งอาจจะส่งผลลบต่อการการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม พวกเขาอาจจะเหม่อลอยในวงสนทนา ทำให้ตามวงสนทนาไม่ทัน[28]
เด็กที่มีสมาธิสั้นจะมีความยากลำบากในการจัดการความโกรธ [29] เช่นเดียวกับการเขียน[30] มีพัฒนาการทางการพูด เขียนหนังสือและเคลื่อนไหวที่ช้า[31][32] ถึงแม้ว่าโรคสมาธิสั้นจะทำให้เกิดความบกพร่องเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสังคมสมัยใหม่ เด็กหลายคนที่มีสมาธิสั้นสามารถรวมสมาธิเพื่อทำงานที่พวกเขาสนใจได้[33]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.