Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนเธมเรสต์ลิงเอ็กซ์ไฮบิชั่น (d.b.a. อิมแพ็ค เรสต์ลิง (Impact Wrestling)) มีชื่อเดิมว่า โกเบิล ฟอร์ซ เรสต์ลิง (Global Force Wrestling หรือ GFW) และ โทเทิลนอนสต็อปแอคเชินเรสต์ลิง หรือ ทีเอ็นเอ (Total Nonstop Action Wrestling or TNA) เป็นสมาคมมวยปล้ำอาชีพของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดยเจฟ จาร์เรตและเจร์รี จาร์เรตเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 ในปัจจุบันบริษัท ในเครือขององค์กรสื่อแบบบูรณาการในนิวยอร์กและโตรอนโต Anthem Sports & Entertainment เป็นผู้ถือหุ้นหลัก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่แนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี และสำนักงานที่ออร์แลนโด รัฐฟลอริดา ต่อมาได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่ Toronto, Canada ในปี ค.ศ. 2017
ประเภท | บริษัทจำกัดมหาชน |
---|---|
อุตสาหกรรม | มวยปล้ำอาชีพ รายการกีฬาเพื่อความบันเทิง ลูชาลีเบร |
ก่อนหน้า | J Sports & Entertainment, LLC (2002)[1] TNA Entertainment LLC (2002–2016)[2] Impact Ventures LLC (2015–2016)[3] |
ก่อตั้ง | 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2002[4] |
ผู้ก่อตั้ง | Jeff Jarrett Jerry Jarrett |
สำนักงานใหญ่ | 209 10th Ave. South
Ste 302 Nashville, TN 37203[4] , |
บุคลากรหลัก |
|
รายได้ | $15 ล้านดอลลาร์ (2007) |
เจ้าของ | Anthem Sports & Entertainment[8] (majority owner - 85%) Aroluxe Marketing[8][9] (minority owner - 10%) Dixie Carter[8] (minority owner - 5%) |
บริษัทแม่ | แอนเธมสปอร์ตสแอนด์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ |
เว็บไซต์ | TNAwrestling.com |
ตั้งแต่การก่อตั้งเป็นต้นมา ทีเอ็นเอเป็นสมาชิกของสมาคมแนชั่นแนล เรสต์ลิง อัลไลแอนซ์ (National Wrestling Alliance) โดยเป็นที่รู้จักในนาม เอ็นดับเบิลยูเอ โทเทิล นอนสตอป แอคชั่น (NWA Total Nonstop Action) และผูกขาดการใช้เข็มขัดเอ็นดับเบิลยูเอ เวิลด์ เฮฟวี่เวท แชมเปี้ยนชิพและเอ็นดับเบิลยูเอ เวิลด์ แทค ทีม แชมเปี้ยนชิพทั้งสองเส้นอย่างชอบธรรม ต่อมาในปี ค.ศ. 2004 ทีเอ็นเอถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของเอ็นดับเบิลยูเอ แต่ยังคงสามารถใช้เข็มขัดทั้งสองได้จนกระทั่งเอ็นดับเบิลยูเอเพิกถอนสัญญาในปี ค.ศ. 2007
ทีเอ็นเอเป็นสมาคมมวยปล้ำอาชีพของสหรัฐอเมริกาแห่งแรกที่ใช้เวทีมวยปล้ำหกเหลี่ยม ตรงข้ามกับเวทีสี่เหลี่ยมที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งยังใช้กฎที่ไม่ได้ใช้กันทั่วไปเช่น เข็มขัดสามารถเปลี่ยนมือได้โดยการตัดสิทธิ์หรือการนับออก แต่อย่างไรก็ตามกฎดังกล่าวก็ได้เลือนไปอย่างช้าๆ
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 TNA ได้ทำการเปลี่ยนชื่อสมาคมมาเป็น อิมแพ็ค เรสต์ลิง และในเดือนเมษายน ค.ศ. 2017 สมาคม Global Force Wrestling (GFW) ได้ประกาศรวมเข้ากับ Impact Wrestling ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ได้ทำการเปลี่ยนชื่อสมาคมอีกครั้งมาเป็น Global Force Wrestling ชื่อเป็นชื่อเดียวกับสมาคมของ Jeff Jarrett ที่ก่อตั้งไว้ และในเดือนกันยายน ค.ศ. 2017 ได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น Impact Wrestling อีกครั้ง
นับตั้งแต่หลังเดือนเมษายน ปี 2001 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นอันสิ้นสุดสมาคมมวยปล้ำอันดับ 2 และ 3 ของโลกซึ่งได้แก่ WCW และ ECW นั้น World Wrestling Federation หรือ WWF ที่ต่อมาด้วยคดีความทางกฎหมาย จึงทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น World Wrestling Entertainment หรือ WWE ก็ได้กลายมาเป็นสมาคมมวยปล้ำอันดับ 1 ของโลกอย่างแท้จริง จากความพยายามอันยาวนานกว่า 40 ปีของสมาชิกตระกูล McMahon ที่จะผลักดันให้ WWE เป็นสมาคมมวยปล้ำอันดับ 1 ของโลก [10]
ถึงแม้จะดูเหมือนว่าจะไม่มีสมาคมใดแล้วที่จะอาจหาญขึ้นมาสู้กับ WWE แต่ว่าในปี 2002 อดีตลูกหม้อของ WWE อย่าง Jeff Jarrett อดีตแชมป์ Intercontinental 6 สมัย และอดีตแชมป์ WCW 4 สมัยก็กลับสวนกระแสด้วยการตัดสินใจร่วมมือกับพ่อนั่นคือ Jerry Jarrett ซึ่งเคยมีประสบการณ์ในการทำสมาคม USWA กับ Jerry Lawler มาแล้ว ได้ทำการก่อตั้ง TNA ขึ้นมา
ถึงแม้เวลาจะผ่านไปเป็นปีที่ 4 แต่ว่า TNA ก็พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จน WWE จำเป็นจะต้องเริ่มปรับตัว ทั้งสไตล์การปล้ำที่ดุเดือด ตื่นเต้น และเร้าใจ รวมทั้งการที่ดาราเก่าของ WWE หรือ WCW บางคนได้ตบเท้าเข้ามายัง TNA นี่จึงทำให้ TNA กลายเป็นคู่ต่อสู้ที่น่ากลัวของ WWE ทันที
และในคราวนี้ ผมจะขอทำการเสนอประวัติของสมาคมเล็กๆแห่งนี้ ว่าทำไมพวกเขาจึงสามารถก้าวขึ้นมาต่อกรกับสมาคมที่มีอายุยืนนานกว่า 40 ปีได้ทั้งที่มีอายุเพียงประมาณ 4 ปีเท่านั้น
TNA เกิดขึ้นไม่นานหลังจากการสิ้นสุด WCW และ ECW โดยที่ TNA เกิดขึ้นเนื่องด้วยในตอนนั้น Vince McMahon ไม่ค่อยให้ความสนใจกับมวยปล้ำรุ่น Cruiserweight มากนัก รวมทั้งการจัดมวยปล้ำแบบ Rasslin (คือมวยปล้ำที่เน้นการปล้ำ ไม่เน้นบท) เพราะว่ามวยปล้ำแบบ WWE นั้นจะเป็นแบบ Sports Entertainment คือกีฬาเพื่อความบันเทิง โดยจะเน้นไปทางด้านบทบาทเสียมากกว่า ซึ่งจุดนี้ทำให้ TNA ใช้เป็นช่องว่างในการหาส่วนแบ่งคนดูจาก WWE โดยพยายามเสนอมวยปล้ำในแบบ Rasslin และเน้นไปทางด้านรุ่น Cruiserweight ซึ่ง WWE ไม่ค่อยให้ความสนใจอีกด้วย โดย TNA ได้ชักชวนนักมวยปล้ำจาก WCW และ ECW ที่ไม่เซ็นสัญญากับ WWE มาอยู่ในสมาคม จนกระทั่งวันที่ 10 พฤษภาคม 2002 J Sports and Entertainment ก็ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อมาบริหาร TNA โดยมี Jeff Jarrett เป็นประธานกรรมการบริษัท (สมาคม) ส่วน Jerry Jarrett เป็น ประธานกรรมการบริหาร (CEO) และ TNA นั้นก็ได้เข้าไปเป็นสมาคมในสังกัดของ National Wresting Aliance (NWA) ภายใต้ชื่อ NWA:TNA
ภายใต้สมาคมที่ใช้สไตล์การปล้ำแบบ Rasslin ก็มีเหมือนกันเช่นสมาคม World Wrestling All-Stars (WWA) แห่งออสเตรเลีย ซึ่งก็จัดสไตล์การปล้ำแบบเดียวกับ TNA และก็ยังมีนักมวยปล้ำดังๆหลายคนไปปล้ำที่นั่นเช่น Sting, Jeff Jarrett (ช่วงยังไม่ได้ก่อตั้ง TNA) และก็มี Nathan Jones เป็นต้น แต่ปรากฏว่ากลายเป็น TNA เท่านั้นที่สามารถยืนยันอยู่ในวงการมวยปล้ำต่อไปได้ (ภายหลัง WWA ได้ไปรวมกับ TNA) ซึ่งมีข้อสงสัยบางส่วนถึงการกำเนิด TNA ว่าอาจจะเกิดจากการที่ Jeff Jarrett ไม่อยากไปทำงานด้วยกับ WWE หลังจากเคยไปแบล็คเมล์ให้ Vince McMahon จ่ายเงินโบนัสก้อนโตให้กับตนในแมทช์สุดท้ายที่ตนจะปล้ำให้กับ WWE มิฉะนั้นตนจะนำเข็มขัดแชมป์ Intercontinental ซึ่งตนเป็นแชมป์อยู่ในขณะนั้นไปด้วย ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ Vince ต้องกัดฟันจ่ายโบนัสให้ Jarrett ถึง 2 แสนดอลลาร์เหรียฐสหรัฐ โดยแมทช์สุดท้ายของ Jarrett ก็คือแมทช์ที่แพ้ให้กับ Chyna เสียแชมป์ Intercontinental ในศึก No Mercy ปี 1999 นั่นเอง
แต่ว่า TNA เริ่มดำเนินการไปได้ไม่นานก็ต้องเจอปัญหาใหญ่ครั้งแรก เมื่อ HealthSouth Corporation ซึ่งเคยเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินของ TNA ได้ยกเลิกการสนับสนุนทางการเงิน หลังจาก HealthSouth มีปัญหาภายใน จากเรื่องของการตกแต่งบัญชีทางการเงิน นี่ทำให้ TNA ซวนเซไปพอสมควร หลังเริ่มเปิดดำเนินการมาไม่ถึงปี ปรากฏว่าในเดือนตุลาคมปี 2002
Jerry Jarrett ก็ตัดสินใจให้ Panda Energy International เข้ามา Takeover กิจการของ TNA โดยให้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสมาคม โดยที่ภายหลังจากนั้น วันที่ 31 ตุลาคม 2002 Panda Energy และ J Sports and Entertainment ก็ได้ร่วมกันก่อตั้ง TNA Entertainment ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นนิติบุคคลสำหรับการดูแลบริหาร TNA (J Sports and Entertainment ภายหลังก็ถูกยุบไปโดยปริยาย) โดยที่ Jeff Jarrett มีตำแหน่งเป็นรองประธานบริษัท (สมาคม) และ Dixie Carter บุตรสาวของประธานกรรมการ และประธานกรรมการบริหาร Panda Energy : Robert W. Carter มาเป็นประธานบริษัท (สมาคม)
Dixie Carter นั้นถือได้ว่าเป็นแฟนมวยปล้ำพันธุ์แท้เลยคนหนึ่ง และการได้มาดูแลบริหาร TNA นี้ก็ทำให้เธอนั้นเกิดความสนใจ และเข้าไปบริหารเป็นการถาวร ส่วน Panda Energy ก็ได้ตั้ง Chris Sobol ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Panda Energy ให้มาเป็นรองประธานกรรมการฝ่ายปฏิบัติการของ TNA และตั้งให้ Frank Dickerson อดีตกรรมการบริหาร Panda Energy ให้มาดำรงตำแหน่ง CEO ของสมาคม (Dickerson ลาออกจากการเป็น CEO ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2005 หลังเกิดความขัดแย้ง กรณีการซื้อตัว Sting ทำให้มีการตั้ง Kevin Day ให้ขึ้นมาเป็น CEO แทน) แต่ว่าอย่างไรก็ดี จากการเข้ามา Takeover ของ Panda Energy ใน TNA กลับทำให้ TNA ต้องขาดทุนไปราวประมาณ 1 ล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐ ไม่นับรวมกับรายได้ที่ได้รับ แต่ว่าทาง Panda Energy ก็ยังคงยืนยันว่าพวกเขายังมั่นใจในศักยภาพของ TNA ต่อไป โดยที่ Robert Carter ประธานกรรมการ และประธานกรรมการบริหาร Panda Energy กล่าวว่า TNA จะต้องมีกำไรภายในปี 2006 อย่างแน่นอน (ขอให้จริงเถอะนะครับ)
ในเดือนพฤษภาคมปี 2005 Nelson Corporation ได้ทำการเสนอเงินจำนวน 10 ล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐในการจะขอซื้อ TNA จาก Panda Energy แต่ว่าสุดท้ายแล้วข้อตกลงก็ต้องเป็นอันยกเลิกในวันที่ 31 พฤษภาคม 2005 หลังจาก Panda Energy ล้มเหลวในการนำเสนอความน่าสนใจต่อ Nelson Corporation นอกจากนี้ Morphoplex ซึ่งเป็นสปอนเซอร์หลักของ TNA ก็เคยเสนอเงินถึง 20 ล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐเพื่อขอซื้อ TNA เช่นกัน แต่ข้อเสนอก็ถูกปฏิเสธไป
สำหรับ TNA แล้ว ด้วยความที่เป็นสมาคมที่ทุนน้อย จึงไม่สามารถจะทัวร์แบบ WWE ได้ (WWE จะทัวร์ไปตามเมืองต่างๆ ทำให้นักมวยปล้ำส่วนใหญ่ต้องเดินทางตามไปด้วยตลอด 24 ชั่วโมง) ทำให้ TNA ต้องใช้วิธีการจัดรายการเป็นแบบ Weekly PPV
โดยปกติแล้ว PPV (Pay-Per-View) จะจัดกันเป็นรายการเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งพบเห็นได้ใน WWE โดยจะเป็นรายการใหญ่ แต่ว่า PPV ของ TNA นี้จะจัดกันทุกสัปดาห์ ครั้งละ 2 ชั่วโมง โดยราคาสำหรับเข้าชม (ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ Webcast) จะอยู่ที่ 9.95 ดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถูกกว่าราคาของ PPV ของ WWE แต่อย่างไรก็ดี TNA ก็ได้รับโอกาสในการเอา Weekly PPV ของพวกเขามาฉายผ่านทางสถานีโทรทัศน์ Wrestling Channel ฟรี เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคม – กันยายน 2004 และนับเป็นครั้งแรกที่ TNA มีโอกาสนำเสนอตัวเองเข้าไปยังตลาดต่างประเทศ (ซึ่งปกติก็ดูแต่ WWE อยู่แล้ว)
หลังจากทำการจัด Weekly PPV มาถึง 111 ครั้ง TNA ก็ตัดสินใจปิดตัว Weekly PPV ในวันที่ 8 กันยายน 2004 และหลังจากนั้น ในวันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2004 TNA ก็ได้ฤกษ์เปิดตัว PPV 3 ชั่วโมงเป็นครั้งแรกกับ TNA Victory Road
สำหรับรายการรายสัปดาห์ที่มาแทน Weekly PPV นั้นก็คือ Impact! ซึ่งได้ฤกษ์ออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 4 มิถุนายน 2004 ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ Fox Sports Net (FSN) โดยออกอากาศทุกวันศุกร์บ่าย 3 โมง – 4 โมง โดย Impact! จะบันทึกเทปที่ Soundstage 21 ภายใน Universal Orlando Resort ในเมือง Orlando, Florida ซึ่ง Impact! นั้นต้องจ่ายค่าเช่าเวลาแก่ FSN เป็นจำนวนเงิน 3 หมื่นเหรียญต่อสัปดาห์ในการออกอากาศแต่ละครั้ง
แต่แล้ว วันที่ 27 พฤษภาคม 2005 TNA ก็ได้ออกอากาศ Impact! เทปสุดท้ายก่อนที่จะหมดสัญญาไปกับ FSN ซึ่งช่วงนั้นถือเป็นวิบากกรรมของ TNA พอสมควรเนื่องจากไม่สามารถที่จะหาสถานีโทรทัศน์ช่องใหม่สำหรับการออกอากาศ Impact! ได้ ทำให้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2005 TNA จับมือกับ RealNetworks ทำการออกอากาศ Impact ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยโปรแกรม RealPlayer ในการรับชม แต่ใช่ว่า TNA จะยอมฉาย Impact! ของพวกเขาในอินเทอร์เน็ตตลอดไป พวกเขาอาศัยจังหxxxดังกล่าวในการหาสถานีโทรทัศน์ช่องใหม่ โดยเดิมมีข่าวว่าพวกเขาอาจจะนำ Impact! ไปฉายทางช่อง WGN โดยจะได้เวลาวันจันทร์เพื่อแข่งกับ RAW ของ WWE แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เซ็นสัญญากับทาง WGN แต่อย่างใด กระทั่งเหมือนราชรถมาเกย TNA ก็ส้มหล่นได้เซ็นสัญญากับ Spike TV ซึ่งเพิ่งหมดสัญญากับทาง WWE ไป และ WWE ก็นำรายการ RAW ของพวกเขาย้ายไป USA Network ทำให้ TNA ได้รับโอกาสในการนำมวยปล้ำของพวกเขามาฉาย (ปกติ WWE ทำสัญญากับ Spike TV ไม่อนุญาตให้รายการมวยปล้ำของสมาคมอื่นใดมาฉายทาง Spike TV ยกเว้น WWE เท่านั้น) โดยได้เวลาในช่วง 5 ทุ่มของคืนวันเสาร์ ซึ่งเดิมเป็นเวลาของรายการ WWE Velocity (ซึ่งภายหลังนำไปออกอากาศผ่านอินเทอร์เน็ต และมีข่าวว่าอาจจะยุบรายการเพื่อนำ ECW มาฉายแทน) แต่ว่าในความจริง ช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ถือเป็นช่วงเวลาของรายการ WCW Saturday Night และ WWE Saturday Night Main Event ในช่วงยุค 1985 – 1992 อีกด้วย ซึ่งทาง TNA ได้ตกลงเซ็นสัญญากับ Spike TV ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2005
นับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2005 เป็นต้นมา TNA ก็ทำการบันทึกเทปรายการ Impact 2 เทปทุกวันอังคาร และ Impact! เทปแรกใน Spike TV ก็ประเดิมออกอากาศในวันที่ 1 ตุลาคม 2005 ทันที (ก่อน WWE Homecoming ของ RAW เพียง 2 วันเท่านั้น) โดยที่ตามสัญญาการออกอากาศนั้น เดิม TNA จะต้องจ่ายเงินให้กับ FSN เองเพื่อหาสปอนเซอร์ แต่ว่ามา Spike TV ปรากฏว่าทาง Spike TV ก็จัดการเรื่องโฆษณาให้เอง จนกระทั่งเดือนมีนาคม ปี 2006 Morphoplex (ที่เคยมีข่าวว่าจะซื้อ TNA นั่นล่ะ) ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ได้เข้ามาสนับสนุนโดยเป็นสปอนเซอร์หลักให้กับ TNA และจ่ายเงินให้กับ TNA เป็นเงิน 2 แสนดอลลาร์ต่อเดือน
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2005 TNA ประกาศว่าพวกเขากำลังจะมีเกมมวยปล้ำของตัวเองออกมา โดยได้ทำสัญญากับค่าย Midway Games โดยชื่อเกมนั้นใช้ตรงกับชื่อรายการหลักว่า TNA Impact! โดยเกมนั้นคาดว่าจะคลอดออกมาในปี 2007 ซึ่งจะเล่นได้ทั้ง PS3, XBOX, XBOX 360 และ Wii
หลังจาก TNA ทำแต่รายการหลักมานาน ในที่สุด วันที่ 17 มีนาคมปีนี้ TNA ก็ได้ฤกษ์เปิดตัว House Show รายการแรกของพวกเขา นับตั้งแต่ TNA ได้ถือกำเนิดขึ้นมา โดยการปล้ำ House Show ครั้งแรกนี้ จัดขึ้นที่สนาม Compuware Sports Arena ใน Plymouth, Michigan (ใกล้ๆกับ Detroit, Michigan ซึ่งปรากฏว่าวันถัดมา WWE ก็มาจัด Saturday Night’s Main Event ที่นั่น) โดยการปล้ำ House Show ครั้งนี้ ทาง TNA ก็ได้จับมือกับสมาคม United Wrestling Federation (UWF) ของ Dave Hebner อดีตกรรมการอาวุโส WWE ซึ่งได้ไปจัดตั้งสมาคมใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นพันธมิตรกับ TNA โดยในการโปรโมต House Show ของ TNA จะทำการโปรโมตในบริเวณเขต Mid-Atlantic และทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ Virginia ซึ่งเป็นที่ตั้งของ UWF
หลังจากที่ Impact! ได้แสดงฝีมือในช่วงเวลาวันเสาร์ 5 ทุ่มโดยทำเรตติ้งได้เป็นที่น่าพอใจ และก็เคยได้รับโอกาสในการฉายเทปพิเศษ 2 ชั่วโมงมาถึง 2 ครั้ง ในที่สุด Spike TV ก็ตัดสินใจย้ายเวลารายการของ Impact! ไปยังช่วงไพรม์ไทม์ของวันพฤหัสบดี ในเวลา 3 ทุ่มตรง แต่สุดท้ายก็กลายเป็น 5 ทุ่มตรง หลังจากที่นักมวยปล้ำของ TNA ได้ประกาศออกมาล่วงหน้า โดยที่รายการ UFC Ultimate Fighting Championship ซึ่งเป็นเวลาเดิมจะย้ายไปยังช่วงเวลาเดิมของ Impact! (วันเสาร์ 5 ทุ่ม) แทน โดยที่ Impact! เวลาใหม่นั้น ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 เมษายน แต่ว่าเทปรองสุดท้ายก่อนย้ายเวลานั้น มีเรื่องว่า เวลานั้นไปชนกับการถ่ายทอดสดงานมอบรางวัล WWE Hall Of Fame ซึ่งจัดขึ้นก่อน WrestleMania 22 เพียง 1 วัน ซึ่งนั่นนับเป็นครั้งแรกของ TNA ที่รายการของพวกเขาปะทะกับรายการของ WWE แต่ว่าน้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ เพราะว่าคืนนั้นดาราของ WWE รวมทั้งบุคคลที่มีชื่อเสียงก็ไปกันเยอะ รวมทั้งการกล่าวสุนทรพจน์ของ “Mean” Gene Okerlund, Bret “The Hitman” Hart และ Vickie Guerrero (ที่มารับรางวัลแทน Eddie Guerrero ผู้ล่วงลับ) พร้อมทั้งตัวผู้มอบรางวัลแก่ทั้ง 3 คน ทำให้ TNA ไม่สามารถทำเรตติ้งได้ในคืนนั้น และนับเป็น Impact! รายการที่มีเรตติ้งน้อยที่สุดนับตั้งแต่ Impact ได้ออกอากาศทาง Spike TV เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว
แต่ว่าล่าสุด ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา TNA ได้จับมือกับ YouTube ผู้ให้บริการแชร์ไฟล์วิดีโอผ่านทางอินเทอร์เน็ต อนุญาตให้นำแมทช์ทั้งหมดของ TNA นำไปแชร์ให้ชมผ่านทางเว็บได้ ซึ่งต่างกับ WWE ที่แจ้งให้ YouTube ลบไฟล์วิดีโอทั้งหมดซึ่งเป็นของ WWE ทิ้งเสีย และในเดือนเดียวกัน TNA ก็ประกาศทำรายการ Global Impact ความยาว 30 นาทีขึ้น ซึ่งออกอากาศผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบรายการจะเป็นการนำเบื้องหลังของ TNA มาเสนอให้ชม (รูปแบบรายการจะคล้าย WWE Experience) ซึ่งพิธีกรก็ได้แก่ Jeremy Borash และ Christy Hemme อดีตผู้ชนะ WWE RAW Diva Search ปี 2004 ซึ่งได้ย้ายมาสังกัด TNA นั่นเอง โดยที่ Global Impact เทปแรกออกอากาศเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา
TNA ได้รับสิทธิจาก NWA ให้เป็นเจ้าของ แชมป์โลกเฮฟวี่เวท NWA (NWA World Heavyweight Champion) และ แชมป์โลกแทค ทีม NWA (NWA World Tag Team Champion) โดยที่เข็มขัดแชมป์ทั้ง 2 เส้นก็จะถือว่าเป็นของ TNA ซึ่งตามหลักแล้ว เข็มขัดแชมป์โลกเฮฟวี่เวท NWA จะป้องกันแชมป์ไปตาม NWA สาขาต่างๆ แต่ว่าเมื่อ TNA ได้สิทธิ์เป็นเจ้าของแล้ว การป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวท NWA ตามสาขาต่างๆ ก็แทบจะไม่มีให้เห็นเลย (จริงๆ ไม่มีให้เห็นเลยล่ะ ก็ในเมื่อมันเป็นของ TNA) โดยที่ TNA ได้รับอนุญาตจาก NWA ให้เป็นเจ้าของเข็มขัด 2 เส้นดังกล่าวได้ไปจนถึงปี 2014 แต่อย่างไรก็ดี แชมป์ X-Division (TNA X-Division Champion) ถือเป็นเข็มขัดเพียงเส้นเดียวที่ TNA เป็นผู้สร้าง และเป็นของ TNA แต่เพียงผู้เดียว ผู้ที่สามารถครองเข็มขัดแชมป์ทั้ง 3 เส้นได้ใน TNA (แชมป์โลกเฮฟวี่เวท NWA, แชมป์ X-Division และแชมป์โลกแทคทีม NWA) จะถูกเรียกว่า TNA Triple Crown โดย ณ ขณะนี้มีเพียงผู้เดียวที่เป็น TNA Triple Crown นั่นคือพ่อหนุ่ม AJ Styles นั่นเอง (เป็นแชมป์โลก 3 สมัย : แชมป์ X-Division 6 สมัย และแชมป์โลกแทคทีม 3 สมัยกับ Jerry Lynn Abyss และ danial)
ในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 TNA ได้จัดหอเกียรติยศทีเอ็นเอขึ้นมา เป็นครั้งแรกในประวัติศาตร์ของ TNA
ในเดือนมกราคม 2017 CBS Corporation ซึ่งเป็นเจ้าของช่องเคเบิล Pop cable เข้าร่วมบริการสตรีมสดใหม่ของ Hulu เพื่อออกอากาศ TNA ต่อมา Anthem Sports & Entertainment ได้ซื้อหุ้นใหญ่ 85% ของ TNA โดย Dixie Carter ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย 5% ในบริษัท แต่ลาออกจากตำแหน่งเป็นประธานหลังจากทำงาน 14 ปีกับ บริษัท และเข้าร่วมคณะกรรมการที่ปรึกษาของกลุ่มสมาร์ทโฟน ต่อมา TNA ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น Impact Wrestling พร้อมกับรองประธานกรรมการบริหารของ Anthem Sports & Entertainment ได้กลายมาเป็นประธานของบริษัท TNA คนใหม่ คือ Ed Nordholm และในวันที่ Jeff Jarrett ถูกนำกลับมาอีกครั้งโดย Anthem เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ในวันที่ 20 พฤษภาคม Impact Wrestling ได้ทำการรวมสมาคมกับ Global Force Wrestling ในเดือนพฤษภาคม 2017 Impact Wrestling ได้เดินทางไปยังประเทศอินเดียเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันมวยปล้ำบันทึกเทปโดยกลายเป็น บริษัทมวยปล้ำอาชีพรายแรกที่ถ่ายทำรายการในประเทศนั้น
พูดง่ายๆก็คือ ทีมเขียนบทของ TNA นี่เอง โดยตอนนี้ทีมเขียนบทมี Scott D’Amore ซึ่งเป็นโค้ชของ Team Canada ใน TNA เป็นหัวหน้าทีมเขียนบท ส่วนสมาชิกก็มีดังต่อไปนี้
แต่อย่างไรก็ดีนะครับ ทั้ง Dixie Carter และ Jeff Jarrett ในฐานประธาน และรองประธาน TNA มีอำนาจในการคัดค้านบทใดๆที่ทั้งสองหรือใครคนใดคนหนึ่งไม่เห็นชอบด้วย
ทว่าในความเป็นจริงแล้ว อำนาจในการเขียนบทนั้น มักจะตกอยู่กับบุคคลเพียงไม่กี่คน อย่างเช่นช่วงแรกก็เป็น Jeff และ Jerry Jarrett ต่อจากนั้นก็เป็น Vince Russo และ Dusty Rhodes ตามลำดับ โดยที่ตำแหน่งผู้มีอำนาจในการควบคุมบท มักจะแสดงโดยใช้ชื่อตำแหน่งของ Director of Authority (แปลให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ผู้จัดการทั่วไป)
คณะกรรมการแชมป์ของ TNA มีชื่อเป็นทางการว่า NWA Championship Committee จะประกอบไปด้วยกลุ่มนักมวยปล้ำที่เป็นที่โด่งดังในอดีต โดยทำหน้าที่แบบคณะผู้พิพากษาซึ่งจะมีหน้าที่ตัดสินกรณีมีการชิงแชมป์แล้วแมทช์จบลงด้วยการเสมอกัน โดยคณะกรรมการแชมป์จะมี 3 คนได้แก่ Harley Race, Larry Zbyszko และ Terry Funk แต่ว่าภายหลัง Roddy Piper ก็มาดำรงตำแหน่งแทน Terry Funk
อย่างไรก็ดี หลังจากที่ Harley Race และ Roddy Piper ลาออกจาก TNA ไป คณะกรรมการแชมป์ก็หมดความสำคัญลงไปด้วย แต่ว่าคณะกรรมการนี้ยังคงมีเพียงแต่ในนามเท่านั้น โดย Larry Zbyszko ซึ่งยังคงทำงานกับ TNA ต่อไปก็ยังมีตำแหน่งอยู่ในคณะกรรมการนี้ในฐานะ สมาชิกคณะกรรมการแชมป์ NWA (NWA Championship committee member)
ผู้จัดการทั่วไปของ TNA นี้ จะถือว่าเป็นตัวแทนของผู้บริหารสูงสุดของ TNA โดยตามบทบาท จะมีอำนาจในการจัดแมทช์ต่างๆนะครับ (ก็เหมือนผู้จัดการทั่วไปนี่ละ) โดยผู้จัดการทั่วไปคนแรกของ TNA (นับตั้งแต่มีตำแหน่งนี้) ได้แก่ Erik Watts หลังจากนั้นตำแหน่งนี้ก็มีมาเรื่อยๆจนกระทั่ง Dusty Rhodes ออกจาก TNA ไป (เพื่อไปเขียนบทให้ WWE) ตำแหน่งผู้ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมบทบาทก็ถูกสลับให้มาเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการแชมป์แทน โดยผู้ดำรงตำแหน่งเป็น Larry Zbyszko และชื่อเรียกเดิมคือ Director of Authority ก็ไม่มีการพูดถึงอีก
ทำเนียบผู้จัดการทั่วไป TNA
ด้วยความแตกต่างจากสมาคมมวยปล้ำอาชีพอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกา ทีเอ็นเอได้ดึงเวทีมวยปล้ำหกเหลี่ยมขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งขัดกับเวทีสี่เหลี่ยมแบบเดิมที่นิยมใช้มากกว่าซึ่งในปี 2010 เวทีมวยปล้ำหกเหลี่ยมได้ยกเลิกใช้แล้ว รูปแบบการปล้ำในกรงเหล็กก็ได้ถูกนำมาใช้อีกด้วย เรียกว่า "ซิกซ์ ไซด์ส ออฟ สตีล" (Six Sides of Steel) ซึ่งในทุกปีจะมีเพย์-เพอร์-วิว ล็อกดาวน์ โดยทุกการแข่งขันจะปล้ำกันในกรงเหล็กดังกล่าว นับเป็นการนำกฎและรูปแบบการปล้ำที่ไม่เคยมีมาก่อนเข้าสู่วงการมวยปล้ำอาชีพ เป็นบางครั้งที่ทีเอ็นเอจะแสดงเฮาว์ส โชว์และเพย์-เพอร์-วิวในอารีน่า แต่โดยมากแล้วทีเอ็นเอจะแสดงในยูนิเวอร์แซล สตูดิโอส์ที่ออร์แลนโด รัฐฟลอริดา ตรงกันข้ามกับการแสดงในอารีน่า ซึ่งทำให้บรรยากาศเหมือนสมาคมท้องถิ่นมากกว่า
เข็มขัด | แชมป์คนปัจจุบัน | วันที่ครองแชมป์ | รายการ | ระยะเวลาการครอง (วัน) | สถานที่ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
อิมแพ็ค เวิลด์ แชมเปี้ยนชิป | อเล็กซ์ เชลลีย์ | 1 | 9 มิถุนายน 2023 | 514 | Columbus, Ohio | Defeated Steve Maclin at Against All Odds. |
อิมแพ็ค เวิลด์ แท็กทีม แชมเปียนชิป | The Rascalz (Trey Miguel และ Zachary Wentz) |
1 | 27 สิงหาคม 2023 | 435 | Toronto, Ontario, Canada | Defeated Subculture (Flash Morgan Webster and Mark Andrews) at Emergence. |
อิมแพ็ค เอ็กซ์ ดิวิชั่น แชมเปี้ยนชิพ | Chris Sabin | 10 | 9 กันยายน 2023 | 422 | White Plains, New York | Defeated Lio Rush at the Impact 1000 |
อิมแพ็ค น็อกเอาน์ แชมเปี้ยนชิพ | ไทรนิตี | 1 | 15 กรกฎาคม 2023 | 478 | Windsor, Ontario, Canada | Defeated Deonna Purrazzo at Slammiversary. |
อิมแพ็ค น็อกเอาน์ แท็กทีม แชมเปี้ยนชิพ | MK Ultra
(Killer Kelly และ Masha Slamovich) |
1 | 15 กรกฎาคม 2023 | 478 | Windsor, Ontario, Canada | Defeated The Coven (Taylor Wilde and KiLynn King) at Slammiversary. |
เข็มขัด | แชมป์คนสุดท้าย | วันที่ครองแชมป์ | รายการ | แชมป์ก่อนหน้า |
---|---|---|---|---|
เอ็นดับเบิลยูเอ เวิลด์ เฮฟวี่เวท แชมเปี้ยนชิพ[11] | คริสเตียน เคจ | 14 มกราคม, 2007 | ไฟนอล เรสโซลูชั่น | อาบิส |
เอ็นดับเบิลยูเอ เวิลด์ แทกทีม แชมเปี้ยนชิพ[12] | ทีม ทรีดี (บราเธอร์ เรย์ และ บราเธอร์ ดีวอน) | 15 เมษายน, 2007 | ล็อกดาวน์ | เดอะ ลาติน อเมริกัน เอ็กซ์เชนจ์ (โฮมิไคด์, และ เฮอแนนเดซ) |
ไอดับเบิลยูจีพี เวิลด์ เฮฟวี่เวท แชมเปี้ยนชิพ[13] | เคิร์ต แองเกิล | 29 มิถุนายน, 2007 | Fighting Now Bom-Ba-Ye | บร็อก เลสเนอร์ |
ไอดับเบิลยูจีพี เวิลด์ แทกทีม แชมเปี้ยนชิพ[14] | ทีม ทรีดี (บราเธอร์ เรย์ และ บราเธอร์ ดีวอน) | 18 ตุลาคม, 2009 | บาวด์ ฟอร์ กลอรี่ | เดอะ บริทิช อินเวชั่น (บรูทุส แมคนัส และ ดุก วิลเลี่ยมส์) |
ไอดับเบิลยูจีพี จูเนียร์ แทกทีม แชมเปี้ยนชิพ[14] | เดอะ มอเตอร์ ซิตี้ เมอชีน กันส์ (อเล็กซ์ เชลลี่ และ คริส ซาบิน) | 4 มกราคม, 2009 | Wrestle Kingdom III in Tokyo Dome | No Limit (Tetsuya Naitō และ Yujiro) |
เอเอเอ เวิลด์ เฮฟวี่เวท แชมเปี้ยนชิพ | เจฟ จาเรต | 18 มิถุนายน, 2011 | AAA Triplemanía XIX | El Zorro |
เข็มขัด | แชมป์คนสุดท้าย | วันที่ครองแชมป์ | วันที่ออกอากาศ | รายการ | แชมป์ก่อนหน้า |
---|---|---|---|---|---|
เวิลด์ เบียร์ ดริ้งกิ้ง แชมเปี้ยนชิพ | เจม สตรอม | 25 กุมภาพันธ์, 2008 | 28 กุมภาพันธ์, 2008 | TNA Impact! | อีริค ยัง |
ตำแหน่ง | ผู้ชนะ | วันที่ชนะ | รายการ | ผู้ชนะก่อนหน้า |
---|---|---|---|---|
ควีนออฟเดอะเคจ | โอดีบี | 19 เมษายน, 2009 | ล็อกดาวน์ (2009) | ร็อกซ์ซี่ เลฟออกซ์ (ล็อกดาวน์ (2008)) |
คิงออฟเดอะเมาน์เทน | เคิร์ต แองเกิล | 21 มิถุนายน, 2009 | สแลมมิเวอรซารี่ (2009) | ซามัว โจ (สแลมมิเวอรซารี่ (2008)) |
เอ็กซ์ ดิวิชั่น คิงออฟเดอะเมาน์เทน | ซุยไซด์ | 21 มิถุนายน, 2009 | สแลมมิเวอรซารี่ (2009) | แคซ (5 มิถุนายน, 2008 ในรายการอิมแพคต์!) |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.