Loading AI tools
อุปกรณ์สื่อสารชนิดหนึ่ง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ โทรศัพท์มือถือ (บ้างเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อโทรศัพท์อัจฉริยะ
โทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันนอกจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส
โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงใน พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลา ในชื่อ โมโตโรลา ไดนาแท็ค เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม[1] ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน[2] มาเป็น 4,600 ล้านคน[3]
ส่วนแบ่งตลาดปริมาณจากข้อมูลของการ์ตเนอร์ (ยอดขายใหม่) | ||||
---|---|---|---|---|
ยี่ห้อ | ร้อยละ | |||
ซัมซุง 2555 | 22.0% | |||
ซัมซุง 2556 | 24.6% | |||
โนเกีย 2555 | 19.1% | |||
โนเกีย 2556 | 13.9% | |||
แอปเปิล 2555 | 7.5% | |||
แอปเปิล 2556 | 8.3% | |||
แอลจีอิเล็กทรอนิกส์ 2555 | 3.3% | |||
แอลจีอิเล็กทรอนิกส์ 2556 | 3.8% | |||
แซดทีอี 2555 | 3.9% | |||
แซดทีอี 2556 | 3.3% | |||
อื่น ๆ 2555 | 34.9% | |||
อื่น ๆ 2556 | 34.0% | |||
หมายเหตุ: "อื่น ๆ 2555" ประกอบด้วยโซนีอีริกสัน โมโตโรลา แซดทีอี เอชทีซีและหัวเว่ย (2552–2553) |
ก่อนปี 2553 โนเกียเป็นผู้นำตลาด ทว่า นับแต่นั้นเกิดการแข่งขันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยยี่ห้ออย่างไมโครแมกซ์ เน็กเซียนและไอโมบายล์ซึ่งแย่งส่วนแบ่งตลาดของโนเกีย สมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ก็ได้กระแสมากขึ้นทั่วภูมิภาค ส่วนโนเกียมีแนวโน้มลดลง ในประเทศอินเดีย ส่วนแบ่งตลาดของโนเกียลดลงอย่างสำคัญจาก 56% เหลือประมาณ 31% ในช่วงเดียวกัน สัดส่วนนั้นถูกแทนด้วยผู้ขายโทรศัพท์เคลื่อนที่คุณภาพต่ำสัญชาติจีนและอินเดีย
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 จากข้อมูลของสแตรเทดจีอะนาไลติกส์ ซัมซุง แซงหน้าโนเกีย โดยขายได้ 93.5 ล้านเครื่องเทียบกับโนเกีย 82.7 ล้านเครื่อง ในปี 2555 สแตนดาร์ดแอนด์พัวส์ลดระดับโนเกียเหลือสถานะ ที่ 3G+/H โดยมีความเชื่อเชิงลบเนื่องจากขาดทุนสูงและคาดหมายว่าจะเสื่อมลงอีกเนื่องจากการเติบโตของยอดขายสมาร์ตโฟน Android ไม่เพียงพอกับรายได้จากสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบียนที่ลดลงอย่างรวดรเวที่มีการพยากรณ์ไว้อีกหลายไตรมาสถัดมา[4]
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 ผู้ผลิตยอดขายสูงสุดสิบราย ได้แก่ ซัมซุง (20.6%), โนเกีย (9.5%), แอปเปิล จำกัด (8.4%), แอลจี (4.2%), หัวเว่ย (3.6%), ทีซีแอลคอมมิวนิเคชัน (3.5), เสียวหมี่ (3.5%), เลอโนโว (3.3%), แซดทีอี (3.0%) และไมโครแมกซ์ (2.2%)[5]
"ตำนานไปรษณีย์โทรเลขสยาม" พ.ศ. 2429 ถึง พ.ศ. 2468 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับโทรศัพท์ในประเทศไทยไว้ว่า ประเทศไทยได้นำเอาโทรศัพท์มาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2424 ตรงกับรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกรมกลาโหม (กระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน) ได้สั่งเข้ามาใช้งานในกิจการเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ โดยติดตั้งที่กรมอู่ทหารเรือกรุงเทพฯ 1 เครื่อง และป้อมยามปากน้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการอีก 1 เครื่อง รวม 2 เครื่อง เพื่อจะได้แจ้งข่าวเรือ เข้าออกในแม่น้ำ เจ้าพระยาให้ทางกรุงเทพฯ ทราบ
ในปัจจุบันชุมสายโทรศัพท์ที่ติดตั้งใหม่ ๆ จะเป็นระบบ SPC ทั้งหมด ระบบอื่น ๆ เลิกผลิตแล้ว ประเทศไทยเรากำลัง เร่งติดตั้งโทรศัพท์เพื่อให้พอใช้กับประชาชน ดังจะเห็นจากโครงการ 3 ล้านเลขหมายในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 และโครงการอื่น ๆ ต่อไป รวมทั้งวิทยุโทรศัพท์อีกด้วย เพื่อเสริมให้ระบบสื่อสารในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ เอื้ออำนวย ต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป[3]
โทรศัพท์เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ช่วยร่นระยะเวลา ระยะทางในการสื่อสารของคนยุคปัจจุบัน เป็นเทคโนโลยีที่สร้างประโยชน์ได้มากต่อการพัฒนาความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ของโลก ซึ่งปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างมาก ด้วยความบันเทิงหลากหลายที่เป็นจุดขายดึงดูดวัยรุ่นยุคปัจจุบันที่ดำเนินชีวิตอยู่กับเทคโนโลยี ทำให้เครื่องมือสื่อสารชนิดนี้มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต วัยรุ่นมักนำความสามารถทุกอย่างที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ทำได้มาประยุกต์ในทางที่เสื่อมมากกว่าทางสร้างสรรค์ โทรศัพท์เคลื่อนที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ให้เป็นคนขาดความอดทน ใจร้อน ขาดความรอบคอบ อารมณ์รุนแรง มีอิทธิพลในการใช้เงินของวัยรุ่น เนื่องจากวัยรุ่นมีความต้องการที่จะเปลี่ยนโทรศัพท์ใหม่ให้อินเทรนด์ อยู่เสมอ มีอิทธิพลต่อการศึกษาและการพัฒนาความรู้ นอกจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำลายเซลล์สมองให้ด้อยพัฒนาแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพและลดสมาธิ
ความเชื่อที่ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาวนั้น ปัจจุบันได้รับการยืนยันจากองค์การอนามัยโลกแล้ว โดยองค์การฯ ได้บรรจุโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ในรายชื่อวัตถุก่อมะเร็ง[6][7] ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ออกรายงานเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[8] โดยจัดว่ารังสีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็น "วัตถุก่อมะเร็ง" และ "อาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์" ได้ รายงานดังกล่าวออกมาหลังจากทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทบทวนการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยของโทรศัพท์เคลื่อนที่[9] งานวิจัยหนึ่งว่าด้วยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอดีตนั้นได้ถูกอ้างอิงในรายงานซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างหนักจะมีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในสมองมากขึ้นถึง 40% (รายงานการใช้โดยเฉลี่ย 30 นาทีต่อวัน เป็นเวลาติดต่อกันนานกว่า 10 ปี)[10] ซึ่งรายงานดังกล่าวตรงกันข้ามกับการสรุปก่อนหน้านี้ซึ่งไม่คาดว่ามะเร็งจะเกิดขึ้นเป็นผลมาจากโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือสถานีฐาน และการทบทวนดังกล่าวไม่ได้พบหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่นแต่อย่างใด[11][12]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.