Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โทมิซากุ คาวาซากิ (ญี่ปุ่น: 川崎 富作; โรมาจิ: Kawasaki Tomisaku) เป็นกุมารแพทย์ชาวญี่ปุ่น ผู้บรรยายโรคคาวาซากิเป็นครั้งแรกในทศวรรษ 1960s[1][2] โรคดังกล่าวและโรคหัวใจรูมาติกเป็นหนึ่งในสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในเด็กทั่วโลกที่ไม่ใช่โรคจากแรกเกิด[3]
โทมิซากุ คาวาซากิ | |
---|---|
คาวาซากิเมื่อปี 2005 | |
เกิด | 1 กุมภาพันธ์ 1925 โตเกียว ญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | 5 มิถุนายน ค.ศ. 2020 ปี) โตเกียว ญี่ปุ่น | (95
สัญชาติ | ญี่ปุ่น |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยชิบะ (MD) |
อาชีพ | กุมารแพทย์ |
ปีปฏิบัติงาน | 1948–2019 |
มีชื่อเสียงจาก | บรรยายโรคคาวาซากิเป็นครั้งแรก |
อาชีพการงานทางการแพทย์ | |
สถาบัน | ศูนย์การแพทย์กาชาดญี่ปุ่น ย่านฮิโรโอะ เขตชิบูยะ โตเกียว |
เฉพาะทาง | กุมารเวชศาสตร์ |
คาวาซากิเกิดเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 1925 ในย่านอาซากูซะ โตเกียว เป็นลูกคนสุดท้องจากเจ็ดคน ตอนเด็กเขา "สนใจในพืชและผลไม้เป็นอย่างมาก และตื่นเต้นที่ได้เรียนรู้ว่าจู่ ๆ แพร์จากศตวรรษที่ 20 ก็ปรากฏตัวขึ้นมา" อย่างไรก็ตามเขาได้ล้มเลิกความตั้งใจที่จะเรียนต่อในสาขาพฤกษศาสตร์เนื่องจากมารดาร้องขอให้เขาเรียนเป็นแพทย์ เขาได้เข้าเรียนแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยชิบะ จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตในปี 1948[4]
คาวาซากิเป็นแพทย์อินเทิร์นในชิบะ และเลือกต่อเฉพาะทางกุมารเวชศาสตร์เพราะชอบที่จะทำงานกับเด็ก[5] เขาเป็นแพทย์ประจำบ้านในสมัยที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามและไม่ได้รับเงินเดือน เป็นผลให้ครอบครัวมีปัญหาทางการเงินอย่างหนัก อาจารย์ของเขาแนะนำให้คาวาซากิเข้าทำงานรับเงินเดือนที่ศูนย์การแพทย์กาชาดญี่ปุ่น ในย่านฮิโรโอะ เขตชิบูยะ โตเกียว ที่ซึ่งต่อมาเขาได้เป็นกุมารแพทย์ประจำอยู่นาน 40 ปี[5]
หลัง 10 ปีของการวิจัยค้นคว้าเรื่องการแพ้นม และกรณีการติดเชื้อปรสิตแปลก ๆ เขาได้พบเด็กชายอายุสี่ขวบที่มาพบแพทย์ด้วยอาการทางคลินิกหลายอาการรวมกัน ที่ซึ่งต่อมาเขานิยามชื่อว่า "กลุ่มอาการไข้ฉับพลัน ต่อมน้ำเหลืองในเยื่อบุและผิวหนัง" (acute febrile mucocutaneous lymph node syndrome; MCLS) ในปี 1961[5][6] ในปี 1962 เขาพบผู้ป่วยรายที่สองด้วยอาการแสดงเดียวกัน หลังเขาเก็บรวบรวมกรณีผู้ป่วย 7 กรณี เขาได้นำเสนอกลุ่มอาการนี้ต่อที่ประชุมของสมาคมกุมารแพทย์ญี่ปุ่น ผู้ตรวจสอบของสมาคมปฏิเสธรายงานของคาวาซากิเนื่องจากไม่เชื่อว่านี่เป็นโรคใหม่[7] นอกจากนี้ยังมีการต่อต้านโดยนักวิชาการจำนวนมากต่อการค้นพบ "โรคใหม่" นี้เป็นเวลาหลายปี กระทั่งคาวาซากิรวบรวมกรณีผู้ป่วยได้ 50 ราย ผลการรายงานโรคใหม่นี้ในเอกสารขนาด 44 หน้า ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารอาการแพ้ ญี่ปุ่น (Japanese Journal of Allergy) ในปี 1967[3][8] ในเอกสารประกอบด้วยแผนภาพวาดของผื่นในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็น "หนึ่งในตัวอย่างของงานเขียนเชิงคลินิกเชิงพรรณาที่งดงามที่สุด" ("one of the most beautiful examples of descriptive clinical writing")[9] ไม่นานจากนั้นก็เริ่มมีกุมารแพทย์คนอื่น ๆ พบและรายงานโรคเดียวกันในทั่วประเทศ[10]
กระทั่งปี 1970 กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการรัฐ จัดตั้งคณะกรรมการวิจัยโรค MCLS นำโดยคุณหมอฟูมิโอะ โคซากิ (Dr. Fumio Kosaki)[11] และได้ทำการศึกษาทั่วประเทศ ผลการศึกษายืนยันว่านี่เป็นโรคพบใหม่ที่มีเป้าอยู่ที่หลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย[11] ในปี 1973 แพทย์พยาธิวิทยาได้ค้นพบความสัมพันธ์กับโรคหัวใจในเด็กขณะชันสูตรศพ[7] คาวาซากิเป็นผู้นำคณะกรรมการวิจัยและได้ตีพิมพ์ในวารสาร Pediatrics ในปี 1974[12] เขาได้รับการเรียกขานเป็น "ครึ่ง เชอร์ล็อก โฮล์ม ครึ่ง ชาลส์ ดิกเกนส์ จากรูปแบบการบรรยายโรคที่ทั้งชวนฉงนและสวยงาม" (sense of mystery and his vivid descriptions)[10] การตีพิมพ์นี้เป็นการตีพิมพ์เกี่ยวกับโรคเป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษ นำไปสู่การสนใจในโรคนี้ในระดับนานาชาติในที่สุด[11]
คาวาซากิสมรสกับกุมารแพทย์เรโกะ คาวาซากิ (Reiko Kawasaki, เสียชีวิตปี 2019) คาวาซากิเสียชีวิตด้วยสาเหตุธรรมชาติเมื่อ 5 มิถุนายน 2020 สิริอายุ 95 ปี[4] และมีการตีพิมพ์คำไว้อาลัยในวารสารแพทย์ทั่วโลก[13][14]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.