Remove ads
นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยชาวฮ่องกง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หฺวัง จือเฟิง (จีน: 黃之鋒; พินอิน: Huáng Zhīfēng; เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2539)[1] หรือสำเนียงกวางตุ้งว่า หว่อง จี๊ฟ้ง (เยฺว่พิน: Wong4 Ji1 Fung1) หรือ โจชัว หว่อง (อักษรโรมัน: Joshua Wong) เป็นนักเคลื่อนไหวและนักการเมืองชาวฮ่องกง ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคเดโมซิสโตซึ่งหนุนประชาธิปไตย และเดิมเป็นผู้นำการประชุมและผู้ก่อตั้งกลุ่มสกอลาริซึมของนักเคลื่อนไหวที่เป็นนักเรียนนักศึกษา[1][2] เขาเริ่มเป็นที่รู้จักของนานาชาติในช่วงการประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557 และการที่เขามีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติร่ม ทำให้นิตยสาร ไทม์ นับเขาเป็นหนึ่งในวัยรุ่นที่ทรงอิทธิพลที่สุดแห่ง พ.ศ. 2557 ทั้งเสนอชื่อเขาเป็นบุคคลแห่งปีของไทม์ประจำ พ.ศ. 2557 ด้วย[3] นอกจากนี้ ใน พ.ศ. 2558 นิตยสาร ฟอร์จูน เรียกขานเขาว่า เป็นหนึ่งใน "ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก"[4][5] และเขายังได้รับเสนอชื่อให้ได้รางวัลโนเบลสันติภาพใน พ.ศ. 2560
โจชัว หว่อง | |
---|---|
黃之鋒 | |
เลขาธิการเดมะซิสโท | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 เมษายน พ.ศ. 2559 | |
รอง | โจว ถิง (Agnes Chow) Kwok Hei-yiu Chan Kok-hin |
ผู้นำ | หลัว กวั้นชง (Nathan Law) หลิน หล่างย่าน (Ivan Lam) |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | หฺวัง จือเฟิง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ฮ่องกงของบริเตน |
พรรคการเมือง | เดมะซิสโท |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยเปิดแห่งฮ่องกง |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยรวมคริสเตียน (เกาลูนตะวันออก) |
อาชีพ | นักเคลื่อนไหวทางการเมือง, นักการเมือง |
เป็นที่รู้จักจาก | Outspoken advocacy for democratic reform in Hong Kong |
เว็บไซต์ | wongchifung |
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 เขาและเพื่อนนักกิจกรรมเชิงรุกสายประชาธิปไตยถูกจำคุกเพราะมีส่วนร่วมในการยึดจัตุรัสพลเมือง (Civic Square) ในการประท้วงเมื่อ พ.ศ. 2557 ครั้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 เขาถูกจำคุกในอีกคดีหนึ่งซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้คืนพื้นที่วั่งเจี่ยว (Mong Kok) ในการประท้วงเดียวกัน
โจชัว หว่อง เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ในครอบครัวชนชั้นกลางโปรแตสแตนท์ที่เคร่งศาสนา พ่อแม่ของเขาส่งเขาให้เรียนในโรงเรียนคริสเตียน ต่อมาเขาได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงเมโทโพลิแทน (Hong Kong Metropolitan University) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเขา
การประท้วงต่อต้านรถไฟความเร็วสูงเมื่อ พ.ศ. 2553 คือจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเขา[6] หลังจากนั้นโจชัว หว่อง ก็ได้มีบทบาทในการเคลื่อนไหวในภาคประชาสังคมมากขึ้น พ.ศ. 2554 หว่องพร้อมด้วยอีวาน แลม เพื่อนของเขา ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มสกอลาริซึมเพื่อต่อต้านนโยบายจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่ต้องการปรับแก้โครงสร้างทางการศึกษาของฮ่องกง ให้เด็กฮ่องกงคิดว่าตัวเองเป็นคนจีนทั้งที่ไม่ใช่ และพยายามให้คนฮ่องกงเรียนรู้วัฒนธรรมของคนจีน กลุ่มขบวนการนักวิชาการของโจชัว หว่อง ขยายตัวขึ้น และการต่อต้านนโยบายทางการศึกษาของจีนนำไปสู่การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปฮ่องกงให้เป็นประชาธิปไตยครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2557[6]
ใน พ.ศ. 2557 ขบวนการนักวิชาการภายใต้การนำของโจชัว หว่อง ได้เป็นแกนนำสำคัญให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ขึ้น โดยเรียกร้องให้รัฐบาลฮ่องกงปฏิรูปตัวเองให้มีความเป็นประชาธิปไตยขึ้น โดยทางกลุ่มต้องการให้การเลือกผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกงมาจากการเลือกตั้งทั่วไปจากประชาชนฮ่องกง ไม่ใช่อภิสิทธิ์ชนที่จีนแผ่นดินใหญ่เลือกมา แต่ว่าการเรียกร้องของกลุ่มไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลฮ่องกงหรือรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ โจชัว หว่อง จึงระดมคนให้ลุกขึ้นประท้วง
ในระหว่างการประท้วง โจชัว หว่อง ได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นหุ่นเชิดของสหรัฐ[7] และผู้ภักดีต่อรัฐบาลจีนบางส่วนกล่าวหาหว่องได้รับเงินจากอเมริกาในการปลุกปั่นชาวฮ่องกงให้ขัดขืนต่อรัฐบาลจีน โดยหว่องได้โพสต์ในโลกออนไลน์ปฏิเสธข้อกล่าวหาของสำนักข่าวที่เต้าข่าวขึ้นมาเองทั้งหมด พร้อมบอกด้วยว่าตอนนี้เขาถูกขึ้นบัญชีดำของทางรัฐบาลจีนเรียบร้อยแล้ว ในฐานะของภัยความมั่นคงต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ในเดือนกันยายน กระแสการเรียกร้องและการประท้วงรุนแรงขึ้น ผู้ชุมนุมปะทะกับตำรวจและพวกตำรวจของจีนแผ่นดินใหญ่ตัดสินใจใช้กำลังในการสลายการชุมนุมอย่าไร้มนุษยธรรม ในช่วงนั้นโจชัว หว่อง ได้ถูกจับกุมแต่ก็ถูกปล่อยตัวออกมาหลังจากถูกกุมขังไว้ในช่วงเวลาเกือบสองวัน ซึ่งในช่วงเวลาที่เขาถูกคุมขังนี้นั้นเขาได้กล่าวว่า พวกตำรวจนั้นได้ทำร้ายร่างกายเขา และได้ดูถูกเหยียดหยามให้เขาอับอายทั้งในด้านร่างกายและจิตใจตลอดเวลาที่ถูกจับ
หลังจากคลื่นการเรียกร้องใน พ.ศ. 2557 ลดบทบาทลง โจชัว หว่อง ก็เผชิญกับการถูกตั้งข้อหาโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ อันมาจากการจัดการชุมนุมเมื่อปีที่ผ่านมา รวมทั้งสำนักข่าวสายจีนแผ่นดินใหญ่อย่าง Wen Wei Po กล่าวหาว่าเขามีส่วนพัวพันกับทางอเมริกา โดยกล่าวหาว่าก่อนการชุมนุมโจชัวได้มีการเข้าพบกงสุลใหญ่อเมริกาประจำฮ่องกง สตีเฟน ยัง (Stephen M. Young) รวมทั้งยังกล่าวหาต่ออีกว่าการเคลื่อนไหวทั้งหมดของโจชัวมี CIA เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ซึ่งแน่นอนว่าโจชัวปฏิเสธทั้งหมดและบอกว่า “มันเป็นเรื่องเหลวแหลก”[8]
ต่อมาใน พ.ศ. 2558 โจชัว หว่อง ถูกสั่งห้ามเข้ามาเลเซีย ด้วยรัฐบาลมองว่าเป็นภัยต่อชาวจีนและความสัมพันธ์ของชาวจีนกับชาวมาเลย์ในประเทศ ต่อมาใน พ.ศ. 2559 โจชัวหว่องก็ได้เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมปาฐกถาหัวข้อ "การเมืองของคนรุ่นใหม่" ในวาระครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ถูกตำรวจตรวจคนเข้าเมืองกักตัวไว้ 12 ชั่วโมง แล้วถูกส่งกลับฮ่องกง[9] โดยทั้งสองเหตุการณ์นี้เป็นผลมาจากการกดดันของทางรัฐบางจีนที่ไม่พยายามคุมไม่ให้โจชัว หว่อง เดินทางออกนอกประเทศฮ่องกง
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 โจชัว หว่อง กลายเป็นที่สนใจในหน้าสื่อและโซเชียลมีเดียอีกครั้ง[10] เมื่อเขากับพลพรรคกลุ่มนักวิชาการ ได้ประกาศตั้งพรรคเดโมซิสโตขึ้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำลายต้นตอของปัญหาทั้งหมดในฮ่องกงอันมาจากอิทธิพลของจีนที่แทรกแทรงเข้ามาให้หมดไปจากฮ่องกง โดยใช้กลไกวิธีทางรัฐสภา ซึ่งพรรคเดโมซิสโตของโจชัว หว่อง นั้น มีจุดมุ่งหมายต้องการให้ฮ่องกงนั้นแยกตัวเป็นเอกราชจากจีน หลังจากปี 2047 อันเป็นปีที่ครบกำหนดตามข้อตกลงที่ทำไว้กับอังกฤษ ว่าด้วยเวลา 50 ปี ที่ฮ่องกงจะใช้การปกครองตามหลักการหนึ่งประเทศสองระบบ ซึ่งโจชัว หว่อง ได้รณรงค์และเตรียมนำพรรคเดโมซิสโตเข้าไปในสภาผ่านการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติฮ่องกง พ.ศ. 2559 แม้ว่าในตอนนั้นโจชัว หว่อง จะไม่สามารถเข้าไปในสภาได้ด้วยข้อจำกัดด้านอายุ (โจชัว หว่อง เพิ่งจะมีอายุได้ 19 ปีเท่านั้นตอนเป็นแกนนำตั้งพรรคเดโมซิสโต) แต่ก็ประสบความสำเร็จในการส่งสมาชิกเข้าไปในสภาได้ 1 คน
อย่างไรก็ตามทางการฮ่องกงได้จับกุมหว่องและสมาชิกพรรคเดโมซิสโตครั้งใหญ่ในช่วง พ.ศ. 2560 อันมาจากเหตุการณ์การปฏิวัติร่มเมื่อช่วง พ.ศ. 2557 ส่งผลทำให้หว่องถูกจับและถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[11] ทว่าในช่วงที่เขาถูกคุมขังอยู่นั้น เขาก็ได้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสันติภาพ จากการใช้สันติวิธีในการเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อสู้กับอำนาจนิยมจากการประท้วงในฮ่องกงนั่นเอง
โจชัว หว่อง ต้องเข้า ๆ ออก ๆ เรือนจำตลอดในช่วง พ.ศ. 2560–2562 อย่างไรก็ตามเขาก็ไม่ได้ลดความมุ่งมั่นทางการเมืองลงและยังคงเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อปี ในช่วง พ.ศ. 2562 เขาก็ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสภาเขต (District Councillor election) อย่างไรก็ตามทางคณะกรรมการการเลือกตั้งของฮ่องกงก็ได้ตัดสิทธิเขาจากการลงรับสมัคร โดยให้เหตุผลว่าทางคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่อาจให้คนที่สนับสนุนการประกาศเอกราชของฮ่องกงลงรับเลือกตั้งได้[12] และอีกครั้งในปี 2020 ที่เขาลงสมัครเป็นแคนดิเดตผู้บริหารเขตฮ่องกงคนใหม่ แต่ก็ถูกคัดค้านด้วยเหตุผลเดียวกัน
หลังจากนั้นเขาก็ต้องกลับเข้าไปสู่เรือนจำอีกครั้งจากคดีความอันเป็นผลมาจากการชุมนุมมากมายที่เกิดขึ้นทั้งจากช่วงการปฏิวัติร่มและการประท้วงใน พ.ศ. 2563
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.