Remove ads
นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชลธิชา ไชยมณี (28 มีนาคม พ.ศ. 2548 –) หรือชื่อในวงการคือ แอ้ม ชลธิชา เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทยสังกัดแกรมมี่โกลด์ เธอเป็นที่รู้จักจากผู้ชนะเลิศ 21 สมัยจากรายการประกวดร้องเพลง ดวลเพลงชิงทุน[1] ทางช่องวัน 31 และมีผลงานเพลงหลังจากการประกวดในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ในชื่อ คำสัญญาที่ชานุมาน
แอ้ม ชลธิชา | |
---|---|
เกิด | ชลธิชา ไชยมณี 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 อำเภอชานุมาน, จังหวัดอำนาจเจริญ, ประเทศไทย |
การศึกษา | วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
อาชีพ | นักร้อง |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | |
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง |
ค่ายเพลง | ภูไทเรคคอร์ด (2565-2566) ซองเดอ (2565-2566) แกรมมี่โกลด์ในเครือจีเอ็มเอ็ม มิวสิค (2566 - ปัจจุบัน) |
เธอเกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 ที่ตำบลโคกสาร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ในครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน บิดามารดาของเธอต้องออกไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้เธอต้องอาศัยอยู่กับยายตั้งแต่ยังเด็ก เธอรักการร้องเพลงและเดินสายประกวดตามเวทีงานวัดในอำเภอชานุมานมาหลายรายการ ซึ่งถึงแม้จะพลาดรางวัลชนะเลิศแต่ทำให้เธอมั่นใจในความสามารถของเธอมากขึ้น โดยได้ฝึกการร้องเพลงกับยายของเธอ
เธอจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนชานุมานวิทยาคม[2]และเป็นสมาชิกชมรมทูบีนัมเบอร์วันประจำโรงเรียนเดียวกันกับที่เธอศึกษาอยู่ โดยปัจจุบันเธอกำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เธอเริ่มเป็นที่รู้จักจากการร้องเพลง ฝากเพลงถึงยาย ของต่าย อรทัย และได้อัปโหลดผลงานของเธอลงสู่ติ๊กต็อกซึ่งมียอดผู้ชมร่วม 2,000,000 ครั้ง หลังจากนั้นเธอได้ออกผลงานซิงเกิลแรกสังกัดภูไทเรคคอร์ด ได้แก่เพลง น้องมาลา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 หลังจากนั้นในปีเดียวกันเธอได้เข้าประกวดรายการดวลเพลงชิงทุนและสามารถชิงชนะเลิศแทนชานนท์ คำอ่อนซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศคนก่อนหน้า โดยเธอรักษาในฐานะผู้ชิงชนะเลิศถึง 21 สมัย[2] หลังจากนั้นสลา คุณวุฒิเห็นแววในความเป็นนักร้องของเธอจึงได้ประพันธ์เพลง คำสัญญาที่ชานุมาน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ภูมิลำเนาของเธอเอง[3][4] และได้เผยแพร่ลงยูทูบในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 โดยมียอดการรับชม 15,871,849 ครั้ง (ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566)
หลังจากนั้นเธอมีผลงานเพลงตามมา อาทิ ขอพรท้าวเวสสุวรรณวัดไร่ขิง, ผาแดงของน้อง (ต้นฉบับคือต่าย อรทัย), ตังหวายอายผู้บ่าว (ต้นฉบับคือศิริพร อำไพพงษ์) และ ห่อข้าวสาวบ้านนอก[5]
เธอได้ลงนามสัญญาการเป็นศิลปินสังกัดแกรมมี่โกลด์อย่างเต็มตัวในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566[3][6] พร้อมกันนี้เธอยังได้รับสมญานามว่า ชานุมานสะท้านทุ่ง อันเนื่องมาจากผลงานเพลงคำสัญญาที่ชานุมานซึ่งเธอเป็นผู้ร้องเพลงดังกล่าว[7]
ปี | ชื่อเพลง | ค่าย | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2565 | น้องมาลา | ภูไทเรคคอร์ดส์ | ซิงเกิลแรกของเธอ |
คำสัญญาที่ชานุมาน | ซองเดอ | ซิงเกิลที่สองของเธอ ผลงานการประพันธ์ของสลา คุณวุฒิ และเป็นเพลงที่มีชื่อเสียงที่สุด | |
ขอพรท้าวเวสสุวรรณวัดไร่ขิง (ต้นฉบับ จ่อย รวมมิตร ไมค์ทองคำ) | |||
2566 | ผาแดงของน้อง (ต้นฉบับ ต่าย อรทัย, ร้องแก้กับเพลง "นางไอ่ของอ้าย" มนต์แคน แก่นคูน | แกรมมี่โกลด์ | |
ตังหวายอายผู้บ่าว (ต้นฉบับ ศิริพร อำไพพงษ์ | |||
ห่อข้าวสาวบ้านนอก | ซิงเกิลที่สามของเธอ ผลงานการประพันธ์ของสลา คุณวุฒิ | ||
2567 | น้องเอิ้นว่าคบ อ้ายเอิ้นว่าคุย | ผลงานเพลงเร็วเพลงแรก ในชีวิตของเธอ |
เพลงที่แอ้มได้มีส่วนร่วมในการการร้อง
ปี | ชื่อเพลง | ศิลปินร่วม | ค่าย | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2566 | สาวกันตรึม | เจมส์ จตุรงค์ และ แพ็กกี้ สกลนรี | แกรมมี่ โกลด์ | ซนซน 40 ปี GMM GRAMMY |
ปี | ชื่อโปรเจกต์ | เพลงที่มี แอ้ม ชลธิชา ร้อง |
---|---|---|
2566 | ซนซน 40 ปี GMM GRAMMY |
|
2568 | 30 ปี แกรมมี่ โกลด์ |
ปี | เรื่อง | บทบาท |
---|---|---|
256.. | ละครใหม่ (ยังไม่ทราบชื่อเรื่อง) | |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.