Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอโรสมิธ (อังกฤษ: Aerosmith) เป็นวงฮาร์ดร็อกอเมริกัน ที่ในบางครั้งมีฉายาว่า "แบดบอยจากบอสตัน"[2] และ "วงร็อกแอนด์โรลอเมริกันที่ยอดเยี่ยมที่สุด"[3][4][5][6] แนวเพลงมีลักษณะฮาร์ดร็อกที่มีรากมาจากแนวเพลงบลูส์[1][7] และยังรวมกับองค์ประกอบของแนวป็อป[8], เฮฟวีเมทัล[1] แกลมเมทัล,[9] และอาร์แอนด์บี[10] ที่มีอิทธิพลต่อศิลปินรุ่นหลังในเวลาต่อมา[11] วงก่อตั้งในบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ในปี 1970 มือกีตาร์ โจ เพอร์รี และ มือเบส ทอม ฮามิลตัน เริ่มในวงตั้งแต่แรก ตั้งชื่อวงว่า แจมแบนด์ จากนั้นเจอนักร้อง สตีเวน ไทเลอร์ ,มือกลอง โจอี คราเมอร์ และมือกีตาร์ เรย์ ทาบาโน และรวมกันในชื่อวง แอโรสมิธ โดยในปี 1971 ทาบาโนออกและแบรด วิทฟอร์ดมาแทน จากนั้นเริ่มพัฒนาวงในบอสตัน
แอโรสมิธ | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | บอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา |
แนวเพลง | ฮาร์ดร็อก, เฮฟวีเมทัล, บลูส์-ร็อก[1] |
ช่วงปี | 1970-ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | Columbia Geffen |
สมาชิก | Steven Tyler Joe Perry Brad Whitford Tom Hamilton Joey Kramer |
อดีตสมาชิก | Ray Tabano Jimmy Crespo Rick Dufay |
พวกเขาเซ็นสัญญากับโคลัมเบียเรคคอร์ดส ในปี 1972 และออกผลงานที่ขายได้หลายแผ่นเสียงทองคำขาว เริ่มต้นในปี 1973 กับอัลบั้มเปิดตัว และในปี 1975 วงได้ก้าวสู่กระแสหลักกับอัลบั้ม Toys in the Attic และกับผลงานปี 1976 กับร็อกที่แข็งขึ้นในฐานะฮาร์ดร็อกซุเปอร์สตาร์[12] โดยในปลายยุค 1970 พวกเขาเป็นวงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มวงประเภทฮาร์ดร็อกและมีแฟนเกิดขึ้นมา ที่มักจะเรียกตัวเองว่า "บลูอาร์มี่"[13] อย่างไรก็ตามเกิดปัญหาขึ้นภายในทั้งการติดยา ทำให้เพอร์รีและวิทฟอร์ดออกไป ในปี 1979 และ 1981 ตามลำดับ และมาแทนที่โดย จิมมี เครสโพและริก ดูเฟย์[7] พวกเขาไม่ได้ลาจากระหว่างปี 1980 และ 1984 และออกผลงานอัลบั้มชุดเดียว คือ Rock in a Hard Place ที่มียอดขายระดับแผ่นเสียงทองคำแต่ไม่ประสบความสำเร็จเมื่อเทียบกับชุดก่อน
ถึงแม้ว่าเพอร์รีและวิทฟอร์ด จะกลับมาในปี 1984 และได้เซ็นสัญญาฉบับใหม่กับ เกฟเฟนเรคคอร์ดส พวกเขาออกอัลบั้มในปี 1987 ชุด Permanent Vacation ที่เพิ่มระดับความนิยมกว่าที่เขาเคยได้ในยุค 1970[14] ในปลายยุค 1980 และ 1990 พวกเขามีผลงานฮิตและได้รับรางวัลมากมาย จากอัลบั้มยอดขายแผ่นเสียงทองคำขาวหลายแผ่นอย่าง Pump (1989), Get a Grip (1993), และ Nine Lives (1997) การกลับมาของพวกเขาอธิบายได้ว่าเป็นสิ่งที่น่าประทับใจที่สุดในประวัติศาสตร์ร็อกแอนด์โรล[1][7] หลังจาก 39 ปีแห่งการแสดง วงก็ยังออกทัวร์และผลิตผลงานดนตรีอยู่
แอโรสมิธ เป็นวงฮาร์ดร็อกอเมริกันที่มียอดขายดีที่สุดตลอดกาล[15] มียอดขาย 150 ล้านชุดทั่วโลก[16] เฉพาะในสหรัฐอเมริกามียอด 66.5 ล้าน[15] พวกเขายังสร้างสถิติเป็นวงอเมริกันที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำและแผ่นเสียงทองคำขาวมากที่สุด พวกเขามีเพลงในท็อป 40 ถึง 21 เพลงในชาร์ทบิลบอร์ดฮ็อต 100 และมี 9 เพลงที่ติดอันดับ 1 ของชาร์ทเมนตรีมร็อก ได้ 4 รางวัลแกรมมี่ และ 10 รางวัลเอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิก อวอร์ดส พวกเขายังติดในร็อกแอนด์โรลฮอลล์ออฟเฟม ในปี 2001 และในปี 2005 พวกเขาติดอันดับ 57 ของนิตยสารโรลลิงสโตน ในการจัดอันดับ 100 ศิลปินที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล[17]
วันที่จำหน่าย | ชื่อ | อันดับชาร์ตในบิลบอร์ด 200 | RIAA cert. | ค่าย |
---|---|---|---|---|
13 มกราคม 1973 | Aerosmith | 21 | 2x แพลตตินั่ม | Columbia |
1 มีนาคม 1974 | Get Your Wings | 74 | 3x แพลตตินั่ม | |
8 เมษายน 1975 | Toys in the Attic | 11 | 8x แพลตตินั่ม | |
3 พฤษภาคม 1976 | Rocks | 3 | 4x แพลตตินั่ม | |
1 ธันวาคม 1977 | Draw the Line | 11 | 2x แพลตตินั่ม | |
1 พฤศจิกายน 1979 | Night in the Ruts | 14 | แพลตตินั่ม | |
1 สิงหาคม 1982 | Rock in a Hard Place | 32 | ทองคำ | |
9 พฤศจิกายน 1985 | Done with Mirrors | 36 | ทองคำ | Geffen |
5 กันยายน 1987 | Permanent Vacation | 11 | 5x แพลตตินั่ม | |
8 กันยายน 1989 | Pump | 5 | 7x แพลตตินั่ม | |
20 เมษายน 1993 | Get a Grip | 1 | 7x แพลตตินั่ม | |
18 มีนาคม 1997 | Nine Lives | 1 | 2x แพลตตินั่ม | Columbia |
6 มีนาคม 2001 | Just Push Play | 2 | แพลตตินั่ม | |
30 มีนาคม 2004 | Honkin' on Bobo | 5 | ทองคำ | |
6 พฤศจิกายน 2012 | Music from Another Dimension! | 5[18] |
21 เพลงของแอโรสมิธที่ได้ขึ้นชาร์ต ท็อป 40 ในบิลบอร์ดฮอต 100:
|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.