Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอร์ฟอร์ซวัน (อังกฤษ: Air Force One) เป็นรหัสเรียกขานโดยศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Control; ATC) ของอากาศยานของกองทัพอากาศสหรัฐลำใดก็ตามที่กำลังมีประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโดยสารอยู่ในอากาศยานลำนั้น[1] (ประธานาธิบดีอาจใช้อากาศยานลำอื่นที่ไม่ใช่เครื่องบินประจำตำแหน่งก็ได้ โดยอาจขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน หรือขนาดของรันเวย์สนามบินปลายทาง เป็นต้น) เครื่องบินจะถูกเรียกรหัสเรียกขานว่า แอร์ฟอร์ซวัน ขณะที่มีประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาอยู่บนเครื่องเท่านั้น
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
แอร์ฟอร์ซวัน | |
---|---|
แอร์ฟอร์ซวัน (โบอิง วีซี-25เอ) ขณะบินผ่านภูเขารัชมอร์ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา |
ชาติกำเนิด | สหรัฐอเมริกา |
บริษัทผู้ผลิต | โบอิง |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา |
จำนวนที่ผลิต | 2 ลำ |
ประวัติ | |
เริ่มใช้งาน | พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) (รหัสเรียกขานแอร์ฟอร์ซวัน) พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) (เครื่องบินประจำตำแหน่งในปัจจุบัน (โบอิง วีซี-25เอ)) |
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปชื่อแอร์ฟอร์ซวันมักหมายความถึงเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีขนาดใหญ่ มีระบบความปลอดภัยขั้นสูง และมีความหรูหรา เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึงความมีอำนาจและตำแหน่งประธานาธิบดี[2] โดยปกติแล้วจะสงวนไว้ใช้กับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ก็มีในบางกรณีที่ประธานาธิบดีอาจจะอนุญาตให้รองประธานาธิบดีใช้เครื่องบินนี้ในการเดินทางไปปฏิบัติงานในฐานะรองประธานาธิบดีได้ (ประธานาธิบดีไม่ได้เดินทางไปด้วย)[3]
เมื่อทีโอดอร์ รูสเวลต์ ได้ก้าวเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และได้นั่งเครื่องบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ในเวลานั้นเอง เขาไม่มีห้องทำงานบนเครื่องแต่ วิลเลียม ฮาวเวิร์ด แทฟต์ (William Howard Taft) ได้จัดเตรียมห้องทำงานบนเครื่องตอนที่เขาขึ้นรับตำแหน่ง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การเดินทางไปไหนมาไหนของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมีความสำคัญและมีค่ามากที่สุด ระบบการสื่อสารไร้สายและการขนส่งที่รวดเร็วในระยะทางอันยาวไกลของการเดินทางของประธานาธิบดีนั้นเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ และระบบเหล่านั้นสามารถทำหน้าที่แทน ทำเนียบขาว ได้เมื่อประธานาธิบดีเดินทางไปที่ต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกที่ได้โดยสารเครื่องบินซึ่งมีห้องทำงานบนเครื่องด้วยคือ แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ โดยสายการบิน แพน-แอม (Pan-AM) โบอิง 314
ชื่อเครื่องบินที่ตั้งขึ้นเพื่อตำแหน่งของประธานาธิบดีชื่อแรกคือ ซี-87เอ วีไอพี ทรานสปอร์ต แอร์คราฟ (C-87A VIP transport aircraft) โดยมีเลขทะเบียนเครื่อง คือ 41-24159 และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ในปี ค.ศ.1943 เพื่อใช้กับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ชื่อ วีไอพี ทรานสปอร์ต (VIP Transport) และชื่อ เกรสส์ แวร์ ทู (Guess Where II) ได้จัดเตรียมไว้สำหรับ ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ ในการเดินทางออกนอกประเทศ อย่างไรก็ตามหลังจากตรวจสอบเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย ของเครื่องบิน ซี-87 หน่วยงาน United States Secret Service หรือ (U.S.S.S.) ได้ลงความเห็นว่า เครื่องบินรุ่นดังกล่าวไม่มีความปลอดภัยในการรับส่งประธานาธิบดีอีกต่อไป
หน่วยงาน U.S.S.S. ได้ให้เครื่องบิน ดักลาส ซี-54 สกายมาสเตอร์ (Douglas C-54 Skymaster) เข้ามารับผิดชอบรับส่งประธานาธิบดี โดยเครื่องบินลำนี้มีชื่อเล่นว่า Sacred Cow) ภายในเครื่องบินลำนี้ประกอบด้วย ห้องนอน ,เครื่องรับส่งวิทยุสื่อสาร และพัฒนาสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอมเริกาโดยเฉพาะ เพื่อใช้งานในภารกิจต่าง ๆ
หลังจากประธานาธิบดีโรสเวลต์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1945 แฮร์รี เอส. ทรูแมน ก็ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา และในปี ค.ศ.1947 เขาได้เปลี่ยนเครื่องจาก ซี-54 เป็น ซี-118 เลิฟท์มาสเตอร์ (C-118 Liftmaster) โดยให้รหัสเรียกขานว่า อินดิเพนเดนซ์ (Independence) โดยตั้งชื่อตามบ้านเกิดของทรูแมน ซึ่งเกิดที่เมืองอินดิเพนเดนซ์ รัฐมิสซูรี (Independence, Missouri) ซึ่งเป็นเครื่องบินลำแรกที่รักษาการแทนเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดี และได้ลงลายนกอินทรีใหญ่หัวสีขาวซึ่งเป็นนกประจำชาติของอเมริกา บนหัวของเครื่องบินลำนี้ด้วย
ในขณะที่ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ เพื่อความปลอดภัยของตำแหน่งประธานาธิบดีจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่จาก 1953 เป็น 8610 ซึ่งเป็นของสายการบินอีสเทิร์นแอร์ไลน์ (Eastern Air Lines) จึงมีชื่อเรียกเป็น แอร์ฟอร์ซ 8610 (Air Force 8610) และหลังจากนั้นได้ไม่นาน เครื่องบินที่มีประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโดยสารอยู่นั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น แอร์ฟอร์ซวัน (Air Force One) และชื่อเรียกนี้ก็ใช้กันจนถึงปัจจุบัน
ไอเซนฮาวร์ได้เพิ่มในส่วนของเครื่องยนต์ใบพัด 4 เครื่องให้เครื่องบินรุ่น Lockheed C-121 Constellations และเปลี่ยนชื่อเครื่องบินใหม่เป็น Columbine II และ Columbine III โดยภริยาของไอเซนฮาวร์ ชื่อ Mamie Eisenhower ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ได้เพิ่มเทคโนโลยีใหม่ ๆ ลงในเครื่องบิน เช่น โทรศัพท์ เพื่อใช้ติดต่อกันระหว่างเครื่องบินและภาคพื้น, เครื่องรับส่งโทรเลข เป็นต้น และก่อนที่ไอเซนฮาวร์จะหมดวาระลงในปี 1958 เขายังได้นำเครื่องบิน โบอิง 707 เครื่องยนต์เจ็ตเข้าประจำการเป็น แอร์ฟอร์ซ ด้วยกันถึง 3 ลำ โดยใช้รุ่น วีซี-138เอส และได้รับการแต่งตั้งชื่อเป็น แซม970, แซม971 และแซม 972 (VC-137s designated SAM 970, 971, and 972) ไอเซนฮาวร์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง และเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกที่ได้ใช้เครื่อง วีซี-137 (VC-137) โดยเที่ยวบิน Flight to Peace ใช้เวลาในการเดินทางนานถึง 19 วัน ในระหว่างวันที่ 3 ธันวาคม ถึง 22 ธันวาคม 1959 และได้ไปเยี่ยมประเทศในภูมิภาคเอเชียนถึง 11 ประเทศ ใช้ระยะทาง 22,000 ไมล์ หรือ 35,000 กิโลเมตร
ตุลาคม 1962 สมัย จอห์น เอฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy) ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้จัดซื้อเครื่องบินโบอิง 707 รุ่น C-137 Stratoliner โดยมีรหัสหางเครื่องชื่อ 260000 แม้ว่าเครื่องบินลำนี้ได้ถูกใช้งานไปยังประเทศแคนาดา, ฝรั่งเศส, ออสเตรีย, และอังกฤษ เท่านั้น
แอร์ฟอร์ซวันออกแบบมาพิเศษสำหรับประธานาธิบดี โดยมีชื่อว่า block letters เคนเนดีได้เดินทางบนอากาศยานที่สะดวกสบายพร้อมกับภริยาของเขา Raymond Loewy ซึ่งถูกติดต่อโดย เคนเนดี ได้ช่วยออกแบบ เครื่องแบบของลูกเรือ และ ตกแต่งภายในเครื่องบิน วีซี-137
ในปี ค.ศ. 1990 สำนักงานเลขานุการประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ได้จัดหาเครื่องบิน โบอิง 747-200บี รหัสที่หางเครื่อง คือ 28000 และ 29000 โดยมีชื่อว่า วีซี-25เอ (VC-25A) และได้เริ่มใช้เป็นเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1990 (สมัยประธานาธิบดีจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช) จนถึงปัจจุบัน
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 กองทัพอากาศสหรัฐได้เปิดเผยถึงแผนการเปลี่ยนเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีลำใหม่เป็นเครื่องบินโบอิง 747-8[4][5] (ซึ่งอาจจะใช้ชื่อว่า โบอิง วีซี-25บี) แทนที่โบอิง วีซี-25เอ ซึ่งมีอายุมากถึง 24 ปีแล้วในขณะนั้น และมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สูงมากในแต่ละเที่ยวบิน[6][7] คาดกันว่าเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีลำใหม่จะสร้างแล้วเสร็จราวปี ค.ศ. 2023 หรือ 2024[7]
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 กองทัพอากาศสหรัฐได้เปิดเผยถึงแผนการพัฒนาเครื่องบินความเร็วเหนือเสียง (supersonic aircraft) ที่อาจจะนำมาใช้เป็นเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐได้ในอนาคต[8][9][10][11]
เช่น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.