แทรปพิสต์-1 (อังกฤษ: TRAPPIST-1) หรือ 2MASS J23062928-0502285[4] เป็นดาวฤกษ์แคระเย็นจัด (ultra-cool dwarf star)[5] ตั้งอยู่ห่างออกไป 39.5 ปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ
ข้อมูลสังเกตการณ์ ต้นยุคอ้างอิง วิษุวัต | |
---|---|
กลุ่มดาว | กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ |
ไรต์แอสเซนชัน | 23h 06m 29.283s[2] |
เดคลิเนชัน | –05° 02′ 28.59″[2] |
ความส่องสว่างปรากฏ (V) | 18.80 |
คุณสมบัติ | |
ชนิดสเปกตรัม | M8V[3] M8.2V[note 1] |
ดัชนีสี V-R | 2.33 |
ดัชนีสี R-I | 2.47 |
มาตรดาราศาสตร์ | |
ความเร็วแนวเล็ง (Rv) | −56.3 km/s |
พารัลแลกซ์ (π) | 82.58 mas |
ระยะทาง | 39.5 ± 1.3 ly (12.1 ± 0.4 pc) |
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV) | 18.4 ± 0.1 |
รายละเอียด | |
มวล | 0.08 ± 0.009 M☉ |
รัศมี | 0.114 ± 0.006 R☉ |
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g) | ~5.227[note 2][4] |
กำลังส่องสว่าง (bolometric) | 0.000525±0.000036[5] L☉ |
กำลังส่องสว่าง (visual, LV) | 0.00000373[note 3] L☉ |
อุณหภูมิ | 2550 ± 55 K |
ค่าความเป็นโลหะ | 0.04 ± 0.08 |
การหมุนตัว | 1.40 ± 0.05 วัน |
ความเร็วในการหมุนตัว (v sin i) | 6 ± 2 km/s |
ชื่ออื่น | |
2MASS J23062928-0502285, 2MASSI J2306292-050227, 2MASSW J2306292-050227, 2MUDC 12171 | |
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น | |
SIMBAD | data |
ทีมนักดาราศาสตร์นำโดยมีกาแอล ฌียง (Michaël Gillon) แห่งสถาบันดาราศาสตร์ฟิสิกส์และธรณีฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยลีแยฌ ประเทศเบลเยียม ใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กสำหรับตรวจจับการผ่านหน้าของดาวเคราะห์และดาวเคราะห์แรกเริ่ม (Transiting Planets and Planetesimals Small Telescope; TRAPPIST) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ในหอดูดาวลาซียาในทะเลทรายอาตากามา ประเทศชิลี[6][7][8] เพื่อสังเกตดาวฤกษ์และค้นหาดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์นี้ เทคนิคที่ใช้ค้นหาคือการตรวจสอบการเคลื่อนผ่านหน้าดาวฤกษ์ ทำให้พวกเขาค้นพบดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงกับโลกจำนวน 3 ดวงโคจรรอบดาวฤกษ์แคระแดงดวงนี้ ดาวเคราะห์ชั้นในสุดสองดวงอยู่ใต้ภาวะไทดัลล็อกกับดาวฤกษ์แม่ คือจะหันหน้าเพียงด้านเดียวเข้าหาดาวฤกษ์แม่ตลอดเวลา ส่วนอีกหนึ่งดวงอยู่ในเขตอาศัยได้ (habitable zone)[7] ทีมนักดาราศาสตร์เฝ้าสังเกตการณ์ตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคม ค.ศ. 2015 และเผยแพร่การค้นพบของพวกเขาในวารสาร Nature ในเดือนพฤษภาคม 2016
ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2017 นักดาราศาสตร์ได้ออกประกาศเพิ่มเติมว่าค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบเพิ่มในระบบแทรปพิสต์-1 อีก 4 ดวง ทำให้จำนวนดาวเคราะห์ที่โคจรในระบบนี้มีทั้งสิ้นถึง 7 ดวง ในจำนวนนี้มีอย่างน้อย 3 ดวงที่โคจรอยู่ในเขตอาศัยได้[9][10]
หมายเหตุ
- based on photometric spectral type estimation
- ความโน้มถ่วงพื้นผิว คำนวณโดยตรงจากความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน ตามสมการ โดยที่ M คือมวลของวัตถุ, r คือรัศมีของวัตถุ และ G คือค่าคงที่ความโน้มถ่วง
- Taking the absolute visual magnitude of TRAPPIST-1 and the absolute visual magnitude of the Sun , the visual luminosity can be calculated by
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.