Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เป็นภาวะที่เซลล์ของชั้นเยื่อบุมดลูกไปเจริญเป็นเนื้อเยื่ออยู่นอกมดลูก[6][7] ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่รังไข่ ท่อนำไข่ และเนื้อเยื่อรอบๆ มดลูกและรังไข่ แต่ในบางกรณีก็อาจพบเกิดขึ้นที่ส่วนอื่นของร่างกายได้[2] อาการที่พบบ่อยคืออาการปวดท้องน้อยและมีบุตรยาก[1] ผู้ป่วยเกือบครึ่งหนึ่งจะมีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง และ 70% จะมีอาการปวดระหว่างมีรอบเดือน[1] บางรายอาจมีอาการปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ได้[1] การมีบุตรยากพบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย[1] นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่พบได้ไม่บ่อย เช่น อาการทางระบบปัสสาวะ หรืออาการทางระบบทางเดินอาหาร[1] ผู้ป่วยประมาณ 25% ไม่มีอาการ ในรายที่ไปพบแพทย์ด้วยปัญหามีบุตรยากแล้วพบว่ามีภาวะนี้ 85% จะไม่มีอาการปวด[1][8] ภาวะนี้อาจมีผลกระทบทางด้านสังคมและจิตใจต่อผู้ป่วยได้[9]
เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) | |
---|---|
ภาพจากการผ่าตัดส่องกล้อง แสดงให้เห็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ | |
สาขาวิชา | นรีเวชวิทยา |
อาการ | Pelvic pain, infertility[1] |
การตั้งต้น | อายุ 30–40 ปี[2][3] |
ระยะดำเนินโรค | ระยะยาว[1] |
สาเหตุ | ไม่ทราบสาเหตุ[1] |
ปัจจัยเสี่ยง | ประวัติครอบครัว[2] |
วิธีวินิจฉัย | วินิจฉัยจากอาการ, การถ่ายภาพรังสีทางการแพทย์, การตัดชิ้นเนื้อตรวจ[2] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Pelvic inflammatory disease, irritable bowel syndrome, interstitial cystitis, fibromyalgia[1] |
การป้องกัน | Combined birth control pills, exercise, avoiding alcohol and caffeine[2] |
การรักษา | NSAIDs, continuous birth control pills, intrauterine device with progestogen, surgery[2] |
ความชุก | 10.8 million (2015)[4] |
การเสียชีวิต | ~100 (0.0 to 0.1 per 100,000, 2015)[4][5] |
สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[10] ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือการมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้[2] บริเวณที่มีเยื่อบุมดลูกไปเจริญอยู่จะมีเลือดออกทุกเดือน ทำให้เกิดการอักเสบและแผลเป็นขึ้นในบริเวณนั้น[1][2] เซลล์เยื่อบุมดลูกที่เจริญผิดที่เหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นมะเร็ง[2] การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำโดยดูจากอาการร่วมกับการถ่ายภาพรังสีทางการแพทย์[2] อย่างไรก็ดีการวินิจฉัยยืนยันที่แม่นยำที่สุดจะต้องทำโดยการตัดชิ้นเนื้อตรวจ[2] ภาวะอื่นที่ทำให้มีอาการคล้ายกันได้แก่ โรคอักเสบของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานสตรี, กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น, และไฟโบรไมอัลเจีย[1] ภาวะนี้มักถูกวินิจฉัยผิดได้บ่อย หลายครั้งที่ผู้ป่วยได้รับการแนะนำว่าอาการที่ประสบนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือเป็นเรื่องปกติ[9]
มีข้อมูลหลายชุดที่สนับสนุนว่าการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะนี้ได้[11][2] การออกกำลังกายและการลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ก็อาจช่วยป้องกันได้เช่นกัน[2] ภาวะนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีการต่างๆ[1] เช่น การใช้ยาแก้ปวด ยาฮอร์โมน หรือการผ่าตัด[2] ยาแก้ปวดที่แนะนำให้ใช้คือยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ เช่น นาพรอกเซน เป็นต้น[2] การกินยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมต่อเนื่องหรือการใช้ห่วงคุมกำเนิดแบบปล่อยฮอร์โมนก็อาจช่วยได้เช่นกัน[2] ยาในกลุ่ม GnRH agonist สามารถช่วยเพิ่มโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ในรายที่มีบุตรยาก[2] การผ่าตัดเอาบริเวณที่เป็นเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ออกอาจจำเป็นต้องทำในรายที่รักษาด้วยยาหรือวิธีการอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล[2]
ข้อมูลปี พ.ศ. 2558 ประมาณไว้ว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคนี้อยู่ประมาณ 10.8 ล้านคน[4] บางที่ระบุว่ามีผู้หญิงป่วยจากโรคนี้ประมาณ 6-10%[1] และในคนที่ไม่มีอาการก็อาจมีโรคนี้อยู่ 2-11%[10] ผู้หญิงทั่วไป 11% จะตรวจเจอเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ที่ยังไม่ได้รับวินิจฉัยจากการทำเอ็มอาร์ไอ[12][13] ภาวะนี้พบได้บ่อยที่สุดในคนอายุประมาณ 30-40 ปี แต่ก็มีพบในเด็กอายุน้อยที่สุดคือ 8 ปี[2][3] ส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดการเสียชีวิต โดยมีอัตราตายอยู่ที่ประมาณ 0-0.1 ต่อ 100,000 ประชากร[4] แต่เดิมโรคนี้จะถูกนับรวมเป็นโรคเดียวกันกับอะดิโนไมโอซิส[14] และต่อมาจึงถูกแยกออกเป็นภาวะต่างหากเมื่อช่วงคริสตทศวรรษ 1920[14] โดยไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าภาวะนี้ถูกบรรยายไว้เป็นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อใด[14]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.