Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฟรดเดอริค สุรยุท อาร์เชอร์ (อังกฤษ: Frederick Scott Archer) เป็นที่รู้จักของสาธารณชนในฐานะนักประดิษฐ์คนแรกแห่งวงการภาพถ่าย ที่คิดค้น "กระบวนการเพลทเปียก"(wet collodion) ซึ่งได้รับความนิยมจากช่างภาพทั่วไปยาวนานถึง 30 ปี[1]
เกือบทั้งชีวิตของอาร์เชอร์ แทบไม่มีเอกสารอะไรที่บันทึกเรื่องราวของเขาไว้เลย หลังจากที่เขาเสียชีวิตลง เรื่องราวชีวิตบางส่วนของเขาได้ถูกเล่าโดยภรรยาของเขา Fanny G. Archer
อาร์เชอร์ทุ่มเทให้กับการทำงานเป็นอย่างมาก ผลจากการที่ลงทุนลงแรงและหักโหมมากจนเกินไป ทำให้ชีวิตของเขาค่อนข้างลำบาก ด้วยเหตุนี้เองสุขภาพร่างกายของเขาจึงค่อนข้างอ่อนแอ และได้เสียชีวิตลงในที่สุด
เฟรดเดอริค สุรยุท อาร์เชอร์ เป็นลูกชายของคนฆ่าสัตว์ เกิดในปีค.ศ.1813 ที่ Stortford, Hertforshire, สหราชอาณาจักร เขากำพร้าพ่อแม่ตั้งแต่เด็ก จึงเติบโตขึ้นมาโดยใช้ชีวิตท่ามกลางญาติพี่น้องและผองเพื่อน เขาได้ฝึกงานเป็นพ่อค้าทองแท่งและช่างทำเครื่องเงินในกรุงลอนดอน ซึ่งถือได้ว่าเป็นแรงบัลดาลใจครั้งใหญ่ที่ทำให้เขาเริ่มหันมาศึกษาเกี่ยวกับการสะสมเหรียญตรา
อาร์เชอร์ เริ่มศึกษาเฉพาะทาง สะสมประสบการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นคนพิถีพิถันและให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพ สิ่งเหล่านี้ทำให้เขาสนใจในการแกะสลักและเริ่มทำงานเป็นช่างปั้น เพื่อนๆต่างร่วมมือช่วยกันสร้างหอศิลป์เล็กๆ บนถนน Henrietta เพื่อใช้แสดง หุ่นรูปปั้นครึ่งตัวของบุคคลที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นผลงานที่เขาสร้างสรรค์ขึ้น
ในปีค.ศ.1847 เขาเริ่มหันเข้าสู่วงการภาพถ่ายโดยเริ่มจากการเป็นผู้ช่วยช่างภาพ และเริ่มสละเวลาทั้งหมดของเขาให้กับศิลปะร่วมสมัยในเวลาต่อมา
แม้ว่าอาร์เชอร์จะเคยฝึกฝนกระบวนการคาโลไทป์ (calotype) มาแล้วก็ตาม แต่เขายังรู้สึกไม่พอใจกับคุณภาพที่ออกมาไม่ค่อยสมบูรณ์ของกระดาษ เขาจึงนำกระดาษหลายชนิดมาทดลองด้วยวิธีต่างๆ จนกระทั่งในปีค.ศ.1849 การทดลองของเขาก็ประสบความสำเร็จโดยวิธีการเคลือบสารละลายโคโลเดียน (collodion) ลงบนแผ่นกระจก และนำไปใช้ขณะที่มันยังเปียกอยู่
อาร์เชอร์เลื่อนเวลาการเผยแพร่ต่อสาธารณชนออกไป จนกว่าจะแน่ใจว่างานของตนสมบูรณ์จริง บทความแรกของเขาถูกตีพิมพ์ลงใน "The Chemist" ฉบับเดือนมีนาคม ปีค.ศ.1851 และในปีค.ศ.1852 เขาได้จัดทำหนังสือ "A Manual of the Collodion Photographic Process" รูปภาพที่อัดโดยใช้วิธีการเคลือบสารละลายโคโลเดียน (collodion) ลงบนกระจกให้เปียก ภาพที่ได้ออกมาจะมีลักษณะคมชัดเหมือนกระบวนการดาแกโรไทป์ (daguerreotype) แต่ง่ายกว่าวิธีการแบบคาโลไทป์ (Calotype) และยังใช้เวลาน้อยอีกด้วย วิธีการนี้เผยแพร่และเป็นที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพอย่างรวดเร็ว
กระบวนการแอมโบลไทป์(ambrotype) และ tintype เป็นผลงานที่มาจากความพยายามของอาร์เชอร์ ซึ่งแตกต่างจากนักประดิษฐ์คนอื่นๆ อาร์เชอร์ไม่พยายามที่จะจดสิทธิบัตรวิธีการของเขา และเขาก็ไม่ได้ค่าตอบแทนใดๆ จากมันเช่นกัน
เขาบริจาค สนับสนุนและลงทุนไปกับเลนส์อีกทั้งยังออกแบบกล้องถ่ายรูปอีกด้วย ผลงานมากมายของเขาได้รับการจดสิทธิบัตรโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่อาร์เชอร์จะได้รับประโยชน์จากมัน เขาได้เสียชีวิตลงในปีค.ศ.1857 ด้วยความยากจน บ่อยครั้งที่ผู้คนควรจะหวนรำลึกและคิดถึง FREDERICK SCOTT ARCHER บุคคลที่ถูกลืม
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.