เชลล์ยูนิกซ์ (อังกฤษ: Unix shell) เป็นโปรแกรมเชลล์สำหรับรับคำสั่งคอมมานด์ไลน์บนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ หรือระบบปฏิบัติการอื่นที่เหมือนยูนิกซ์ เช่น ลินุกซ์ เทียบได้กับโปรแกรม command.com หรือ cmd.exe บนไมโครซอฟท์วินโดวส์

บนยูนิกซ์ ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเลือกเชลล์ที่ต้องการใช้ได้ ซึ่งเชลล์แต่ละตัวจะมีรูปแบบคำสั่ง และ ขีดความสามารถแตกต่างกันออกไป เชลล์จะถูกเรียกใช้ได้หลายทางด้วยกันคือ

  • ล็อกอินเชลล์ (login shell) หมายถึงเป็นเชลล์ที่ทำหน้าที่รับคำสั่งหลังล็อกอินเสร็จ ซึ่งอาจล็อกอินที่หน้าเครื่อง หรือ ต่อเข้ามาทาง telnet ก็ได้ ปัจจุบันหันมาล็อกอินแบบกราฟิกมากขึ้น
  • อินเทอร์แอคทิฟเชลล์ (interactive shell) หมายถึงเชลล์ที่รับคำสั่งจากผู้ใช้ แต่ไม่ได้เริ่มทำงานตั้งแต่ตอนล็อกอิน เช่น มาจากการเปิดหน้าต่าง terminal ใน กโนม หรือ KDE เป็นต้น
  • เชลล์แบบนอนอินเทอร์แอคทิฟ (non-interactive shell) มักถูกเรียกขึ้นมาทำงานเพื่อรันคำสั่งในสคริป

รายชื่อเชลล์ยูนิกซ์

เชลล์ยูนิกซ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 จำพวก ได้แก่ ที่คล้ายบอร์นเชลล์, คล้าย ซีเชลล์, ไม่เหมือนดั้งเดิม และเชลล์ในอดีต

เชลล์ในกลุ่มที่คล้าย บอร์นเชลล์

บอร์นเชลล์ เป็นเชลล์ที่เขียนโดย สตีเฟน บอร์น (Stephen Bourne) ประมาณปี 1978 ซึ่งต่อมามีผู้พัฒนาเชลล์ให้มีรูปแบบคำสั่งแบบเดียวกับบอร์นเชลล์แต่เพิ่มเติมขีดความสามารถอื่น ๆ ลงไป เช่น

  • อัลม์ควิสต์เชลล์ (Almquist shell, ash)
  • แบช (bash) หนึ่งในโครงการกนู
  • คอร์นเชลล์ (Korn shell, ksh) เขียนโดย เดวิด คอร์น (David Korn)
  • แซดเชลล์ (zsh)

เชลล์ในกลุ่มที่คล้าย C เชลล์

ซีเชลล์ (csh) ดั้งเดิมเขียนโดย บิล จอย เผยแพร่ในบีเอสดี ราวปี ค.ศ. 1979 มีผู้พัฒนาต่อไปเป็น

  • TENEX C shell (tcsh)

เชลล์อื่น

ตัวอย่างของเชลล์อื่นที่ไม่อ้างอิงบอร์นเชลล์และ C เชลล์ เช่น

  • rc เชลล์มาตรฐานในระบบ Plan 9 และยูนิกซ์เวอร์ชัน 10 เขียนโดย ทอม ดัฟฟ์ (Tom Duff)

เชลล์ในอดีต

เชลล์ในอดีตที่ไม่ใช้กันแล้วเช่น

  • ทอมป์สันเชลล์ (Thompson shell, sh) เป็นเชลล์ยูนิกซ์ตัวแรก เขียนโดย เคน ทอมป์สัน (Ken Thompson) ออกเผยแพร่ในยูนิกซ์รุ่น 1 ถึง 6
  • PWB shell หรือ Mashey shell (sh) เป็นทอมป์สันเชลล์ที่เพิ่มเติมความสามารถโดย จอห์น แมชี (John Mashey) เผยแพร่ประมาณปี ค.ศ. 1976 พร้อมกับยูนิกซ์รุ่น Programmer's Workbench UNIX

ดูเพิ่ม

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.