Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนบิวลาบึ้ง หรือ เนบิวลาทารันทูลา (อังกฤษ: Tarantula Nebula; หรือรู้จักในชื่อ 30 โดราดัส หรือ NGC 2070) เป็นบริเวณเอช 2 ที่อยู่ในเมฆมาเจลลันใหญ่ เดิมเคยคิดว่ามันเป็นดาวฤกษ์ จวบกระทั่ง พ.ศ. 2294 นิโคลาส์ หลุยส์ เดอ ลาซายล์ จึงตรวจพบว่ามันมีลักษณะโดยธรรมชาติเป็นแบบเนบิวลา
เนบิวลาบึ้ง | |
---|---|
เนบิวลาบึ้ง ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ | |
ข้อมูลสังเกตการณ์: ต้นยุคอ้างอิง J2000 | |
ประเภท | เนบิวลาเปล่งแสง |
ไรต์แอสเซนชัน | 05h 38m 38s[1] |
เดคลิเนชัน | -69° 05.7′[1] |
ระยะห่าง | 180 ± 10 kly (49 ± 3 kpc)[2][3] |
โชติมาตรปรากฏ (V) | +8[2] |
ขนาดปรากฏ (V) | 40' × 25'[2] |
กลุ่มดาว | ปลากระโทงแทง |
ลักษณะทางกายภาพ | |
รัศมี | 931 ปีแสง |
จุดสังเกต | ในเมฆมาเจลลันใหญ่ |
ชื่ออื่น | NGC 2070[2] Doradus Nebula,[1] Dor Nebula[1] |
ดูเพิ่ม: เนบิวลา, รายการเนบิวลา | |
เนบิวลาบึ้งมีค่าความส่องสว่างปรากฏเท่ากับ 8 เมื่อคำนึงถึงระยะห่างของมันที่อยู่ห่างออกไปถึง 180,000 ปีแสง ถือได้ว่าเป็นวัตถุที่มีความสว่างสูงมาก มันส่องสว่างมากเสียจนถ้าหากมันอยู่ใกล้โลกในระยะเดียวกับเนบิวลานายพราน ก็อาจทำให้เกิดเงาแสงขึ้นได้ทีเดียว เนบิวลาบึ้งเป็นย่านดาวระเบิดที่มีกระบวนการสูงที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มดาราจักรท้องถิ่น มันยังเป็นย่านที่ใหญ่ที่สุดและมีการกำเนิดดาวมากที่สุดในกลุ่มท้องถิ่นโดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณถึง 200 พาร์เซก[3] ที่ใจกลางของมันเป็นกระจุกดาวที่มีความหนาแน่นและมวลมาก (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 พาร์เซก)[3] คือกระจุกดาวมวลยิ่งยวด R136 อันเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานมหาศาลที่ทำให้เนบิวลานี้สว่างไสว
ซูเปอร์โนวาที่ใกล้ที่สุดเท่าที่ตรวจพบหลังจากการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ คือ ซูเปอร์โนวา 1987A ก็เกิดขึ้นที่บริเวณขอบของเนบิวลาบึ้งแห่งนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.