เทศบาลเมืองลพบุรี
เทศบาลเมืองในจังหวัดลพบุรี ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองในจังหวัดลพบุรี ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองลพบุรี เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดลพบุรี มีพื้นที่ 6.85 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหินทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลทะเลชุบศร[2] มีประชากรในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 22,299 คน[1]
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เทศบาลเมืองลพบุรี | |
---|---|
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
พิกัด: 14°48′0″N 100°37′37″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ลพบุรี |
อำเภอ | เมืองลพบุรี |
จัดตั้ง |
|
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | จำเริญ สละชีพ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 6.85 ตร.กม. (2.64 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562)[1] | |
• ทั้งหมด | 22,299 คน |
• ความหนาแน่น | 3,255.32 คน/ตร.กม. (8,431.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04160102 |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลเมืองลพบุรี ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000 |
โทรศัพท์ | 0 3641 1047 |
โทรสาร | 0 3641 2400 |
เทศบาลเมืองลพบุรีมีโบราณสถานอยู่มาก เป็นศูนย์กลางของธุรกิจขนาดย่อม และเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา รายล้อมด้วยเขตทหาร ทว่าการพัฒนาเมืองขาดการวางแผนที่ดีด้านโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐาน ทำให้การเติบโตของเมืองขาดแนวทางที่เหมาะสม ทั้ง ๆ มีศักยภาพสูงในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในระดับภาค[3]
เทศบาลเมืองลพบุรีตั้งอยู่ในอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำลพบุรี มีพื้นที่ในความรับผิดชอบประกอบด้วยพื้นที่ตำบลท่าหินและบางส่วนของตำบลทะเลชุบศร มีพื้นที่ 6.85 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,281 ไร่[2] มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้
เดิมเทศบาลเมืองลพบุรีมีฐานะเป็นสุขาภิบาลเมืองลพบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมืองลพบุรี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 มีพื้นที่ 0.90 ตารางกิโลเมตร หรือ 504 ไร่ เฉพาะตำบลท่าหินและแถบด้านใต้ของวัดมณีชลขัณฑ์[4] ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองลพบุรี ขยายพื้นที่ครอบคลุมเขตตำบลทะเลชุบศร ตำบลท่าแค ตำบลโคกกะเทียม ตำบลเขาพระงาม ตำบลเขาสามยอด ตำบลท่าศาลา และตำบลป่าตาล เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2487[5] ถือเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ เต็มไปด้วยทุ่งนา ป่า และเขา[2]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองลพบุรีอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2497 โดยลดขนาดพื้นที่ของเขตเทศบาล คงเหลือเพียงตำบลท่าหินและบางส่วนของตำบลทะเลชุบศร (ตั้งแต่ทิศตะวันออกของทางรถไฟสายเหนือจนถึงวงเวียนเทพสตรี อันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดลพบุรี) โดยให้เหตุผลว่าเดิมมีพื้นที่ครอบคลุมหลายตำบล ไม่สามารถปกครองดูแล ทะนุบำรุงได้ทั่วถึงจึงปรับปรุงเขตเทศบาลเสียใหม่[6] ทำให้เทศบาลเมืองลพบุรีในปัจจุบันมีพื้นที่ 6.85 ตารางกิโลเมตร[2]
ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลพบุรีมีทั้งหมด 20 ชุมชน ดังต่อไปนี้
|
|
|
|
เทศบาลเมืองลพบุรีมีสถานบริการด้านสาธารณสุข 3 แห่ง
|
|
ถนนสายสำคัญในตัวเมืองลพบุรีมีดังนี้
|
|
การคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพ–เชียงใหม่ โดยผ่านจังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี จนถึงจังหวัดลพบุรี เปิดการเดินรถ โดยมีสถานีรถไฟหลักคือสถานีรถไฟลพบุรี
ในอดีตลพบุรีเคยเปิดให้บริการรถรางสายท่าโพธิ์–เอราวัณ แล้วยุติการเดินรถเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2505[7][8]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.