Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศกาลดนตรีพัทยา หรือ พัทยา มิวสิก เฟสติวัล (Pattaya Music Festival) เป็นเทศกาลดนตรีประจำปีที่จัดขึ้นที่พัทยา จังหวัดชลบุรี จัดขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)[1] ร่วมกับจังหวัดชลบุรีและเมืองพัทยา โดยเริ่มมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 และถือว่าได้รับความสำเร็จมาโดยตลอด ประกอบกับความตั้งใจที่จะพัฒนายกระดับงานขึ้นสู่สากล เปลี่ยนชื่อมาเป็น พัทยา อินเตอร์เนชันแนล มิวสิก เฟสติวัล (Pattaya International Music Festival) ในปี พ.ศ. 2548 ครั้งนี้จัดโดยเอ็มทีวีไทยแลนด์[2] และในปี พ.ศ. 2549 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เดอะ แกรนด์ พัทยา อินเตอร์เนชั่นแนล มิวสิก เฟสติวัล เพื่อเฉลิมฉลอง ในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ลักษณะตัวงานจะจัดในช่วงวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมีนาคมของทุกปี มีการแสดงของกลุ่มนักร้อง นักดนตรี ทั้งไทยและต่างประเทศในช่วงเวลา 18.00-24.00 น.
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ส่วนในปี พ.ศ. 2550 พัทยา อินเตอร์เนชันแนล มิวสิก เฟสติวัล จัดขึ้นวันที่ 16-18 มีนาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งจัดมาเป็นครั้งที่6 ณ ศูนย์กีฬาเมืองพัทยา ถนนชัยพฤกษ์ จังหวัดชลบุรี ในปีนี้มี 2 เวทีคือ เวที Main Stage และ เวที Indie Stage
ในปี พ.ศ. 2552 เทศกาลดนตรีนานาชาติ “พัทยา อินเตอร์เนชั่นแนล มิวสิก เฟสติวัล 2009” (PATTAYA INTERNATIONAL MUSIC FESTIVAL 2009) โดยบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ระหว่าง วันศุกร์ที่ 20 - วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2552 แบ่งเป็น 3 เวทีหลัก โดยมีศิลปินชั้นนำจากทั่วเอเชีย มาร่วมในงานครั้งนี้ ณ เวทีชายหาดเมืองพัทยา ภายใต้แนวคิด“AMAZING THAILAND AMAZING VALUE” การถ่ายทอดสดทางช่อง แบงแชลแนล หนึ่งในสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมช่องล่าสุดช่องใหม่ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
พัทยา มิวสิก เฟสติวัล ปี 2545 จัดขึ้นในวันที่ 22 - 24 มีนาคม 2545 จัดงานโดย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มี 3 เวทีหลักคือ
ศิลปินที่มาร่วมงานอาทิเช่น Johnny's Junior,Hideaki Takizawa,KAT-TUN,Ya-Ya-yah จากประเทศญี่ปุ่นและมีศิลปินไทยอย่าง อุ๊ หฤทัย,โมเดิร์นด็อก, ซิลลี่ ฟูลส์ และโลโซ เป็นต้น
พัทยา มิวสิก เฟสติวัล ปี 2546 วันที่ 21 - 23 มีนาคม จัดงานโดย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มี 3 เวทีหลักคือ
มีการแสดงของเหล่าศิลปินนักร้องของไทยกว่า 100 กลุ่มศิลปิน อาทิ เบิร์ด - ธงไชย, มอส - ปฏิภาณ, โมเดิร์นด็อก , เจ - เจตริน, ดาจิม, ป้าง - นครินทร์, ใหม่ - เจริญปุระ, มาลีวัลย์ เจมีน่า, พรชิตา ณ สงขลา , คริสติน่า อากีล่าร์, จิระศักดิ์ ปานพุ่ม, ซิลลี่ ฟูลส์, เอบี นอร์มอล, แคทรียา อิงลิช, ไมค์ ภิรมย์พร, ปาล์มมี่, ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล, ลูกนก สุภาพร , โจนัส แอนเดอร์สัน, วงลำดวน และศิลปินอีกมากมาย จาก 40 สังกัดเพลง
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 มีนาคม 2547 ที่เมืองพัทยา จัดโดย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ การจัดงานพัทยา มิวสิก เฟสติวัล ปีนี้ แบ่งเป็น 3 เวที [3]
ไมโคร, อัสนี-วสันต์, ก็อต-จักรพรรณ์ อาบครบุรี, ซิลลี่ ฟูลส์ , ใหม่ เจริญปุระ, ปาล์มมี่, โปเตโต้, เสก โลโซ, เต็น-ธีรภัค, ก้านคอคลับ, ฟูตอง, พาราด็อกซ์, พีซเมเกอร์, Hum, ใหญ่ Monotone, โย่ง อาร์มแชร์, สครับ, อีโบล่า, ซีล, บิ๊กแอส, สิบล้อ, Taxi, บอดี้สแลม
Alexandra จากลาว, Jewelry จากประเทศเกาหลี, Romero และ DS455 จากญี่ปุ่น และศิลปินแจ๊ซจากทั้งจากสหรัฐอเมริกา อิตาลี ฝรั่งเศส สเปน เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ โปแลนด์ และอินโดนีเซีย
เปลี่ยนชื่อมาเป็น พัทยา อินเตอร์เนชันแนล มิวสิก เฟสติวัล (Pattaya International Music Festival)จัดงานโดยเอ็มทีวีไทยแลนด์ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "No Boundary Music Exchange" ที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงความบันเทิงของเสียงเพลงที่ไร้พรมแดน ผ่านการประชันความสามารถทางดนตรีของเหล่าศิลปินชื่อดังทั้งจากประเทศไทยและนานาชาติ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2548 แบ่งเวทีการแสดงออกเป็น 3 เวที คือ
ทาทา ยัง, Alan Lo, Baby V.O.X, Bamboo, Dylan Kuo, DJ Koflow, Electrico, Ken Chu (F4), Makoto(Lucifer), MKS, Mocca, My Early Mustang, N.EX.T, Pug Jelly, Rivermaya, The Observatory, Tony An, Too Phat
นอกจากนี้ยังมีศิลปินไทยได้แก่ โฟร์กอตเทน, เอบี นอร์มอล, อพาร์ตเมนต์คุณป้า, อาร์มแชร์, บิ๊กแอส, Blackhead, Bra Branner, แคลช, เครสเชนโด้, Dezember, ดูบาดู, อีโบล่า, เอ็นโดรฟิน, Exotic,ฟลัวร์, กรู๊ฟไรเดอร์ส, โจอี้ บอย และก้านคอคลับ, โจนัส-คริสตี้, จอย ศิริลักษณ์, ลาบานูน, เสนาหอย, ลูกปัด, ท๊อฟฟี่, เชอรี่, โมโนโทน กรุ๊ป, Penguin Villa, Playground, โปเตโต้, พรู, Rik, Saturday Seiko, Skalaxy, Sqweez Animal, Street Funk Rollers, Taxi, ซีล, กล้วยไทย, กอล์ฟ เบญจพล, ฉ่ำ ฉ่ำ, แตง ปาริฉัตร, ทักษ์, น้องมายด์, ศรีไพร สารีวงษ์ และ สายฝน อุทัยรัตน์
เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงกำหนดจัดงาน The Grand Pattaya International Music Festival 2006 (ครั้งที่ 5) ระหว่างวันที่ 17-19 มีนาคม 2549 ตั้งแต่เวลา 18.00-01.30 น. ณ บริเวณชายหาดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เพื่อร่วมเฉลิมฉลองและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สำหรับการจัดงานในปีนี้ค่ายศิลปินใหญ่ประกอบด้วย บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน), บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน), บริษัท Music Television Networks จำกัด (เอ็มทีวี) โดยการแสดงจะแบ่งเป็น 3 เวทีคือ [4]
โดย จี เอ็ม เอ็ม แกรมมี่ นำเสนอแนวดนตรีอันหลากหลายของศิลปินนักร้องชื่อดังจากค่ายต่างๆ คือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, โซนี่ บีเอ็มจี, เบเกอรี่มิวสิก, แบล็กชีพ, มิวสิก บั๊กส์, สมอลล์รูม, เลิฟอีส, วอร์เนอร์ มิวสิก ,ยูบีซี แฟนเทเชีย, ชัวร์ ออดิโอ, รถไฟดนตรี, แมงป่อง, ยูทู เร็คคอร์ด และ มาสเตอร์เทป รวมทั้ง กลุ่มศิลปินรับเชิญจากต่างประเทศ ได้แก่ นันตา-ประเทศเกาหลี 12 หนุ่ม ซูเปอร์ จูเนียร์-ประเทศเกาหลี สาว Paradise Go Go- ประเทศญี่ปุ่น และ Lim Jeong Hee- ประเทศเกาหลี
โดยศิลปินรับเชิญจากเอ็มทีวี Area 51, Brand New Sunset, 4Gotten, วง Love Me Butch วงดนตรีเมทัล จากประเทศมาเลเซีย, พรู, โมเดิร์นด็อก, วง Pop Shuvit จากประเทศมาเลเซีย, Nologo (โดม ปกรณ์ ลัม), ฟูตอง, เสก โลโซ, Power Pop Girls (พัดชา , ลูกตาล , เปรี้ยว : AF2), Over Dance จากประเทศลาว, แคทรียา อิงลิช, SAME SAME, อาร์มแชร์, บิ๊กแอนด์เดอะซูเปอร์แบนด์, Rivermaya วงร็อกฟิลิปปินส์, Blackhead, Phatnatrix, อำพล ลำพูน, กอล์ฟ-ไมค์, แคลช, บอดี้สแลม, AZN, ไทยเทเนี่ยม, Too Phat, โจอี้ บอย และ ก้านคอคลับ, และ DJ Brian Cross
โดย อาร์ เอส โปรโมชั่น การรวมพลคนดนตรีครั้งยิ่งใหญ่ในรอบปีจากเหล่าศิลปินชื่อดังของอาร์เอส บริเวณ ท่าเรือแหลมบาลีฮาย พัทยาใต้ ศิลปินที่มา คือ บาว-ปาน, ฟิล์ม รัฐภูมิ, โปงลางสะออน, เจมส์, แดน-บีม, เกิร์ลลี่ เบอร์รี่, มิ้น สวรรยา, เกียร์ ไนท์, ดัง พันกร, ไอน้ำ, โฟร์-มด, หิน เหล็ก ไฟ, ต้อย หมวกแดง
พัทยา อินเตอร์เนชันแนล มิวสิก เฟสติวัล จัดขึ้นวันที่ 16-18 มีนาคม พ.ศ. 2550 ณ ศูนย์กีฬาเมืองพัทยา ถนนชัยพฤกษ์ จังหวัดชลบุรี ในปีนี้มี 2 เวทีคือ เวที Main Stage และ เวที Indie Stage [5] ซึ่งเป็นปีที่ได้รับเสียงตอบรับในด้านความไม่สะดวกในการเดินทางเข้าชมของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก
Lemon Soup, Tattoo Colour, สะเลอ, H.M. Blues, ทาทา ยัง, Baby VOX Re.V, กอล์ฟ-ไมค์, Paran, Super Junior K.R.Y, ปาล์มมี่, โปเตโต้, แคลช, ดัง พันกร, เกิร์ลลี่ เบอร์รี่, ไอน้ำ, แดน-บีม, ฟิล์ม, Mi-youn, ดา เอ็นโดรฟิน, ซีล, พาราด็อกซ์, Spin Head, ซินเดอเรลล่า, โฟร์-มด, เล้าโลม, เกียร์ ไนท์, สล็อต แมชชีน, Brandnew Sunset, อีโบล่า, อำพล ลำพูน, โปงลางสะออน International Show (ศิลปินรับเชิญ ปาน, หวิว และ Am Fine), Kai-Jo Brothers, Skalaxy, Dr Octopus, ทีโบน, ก้านคอคลับ, กะลา, Fahrenheit, บิ๊กแอส
กิ กิรตรา, The Richman Toy, ขอนแก่น, Sqweez Animal, Jetset’er, Playground, Monotone, Superstring, Good September, Saliva Bastards, Lullaby, Sick Lab, Housetrap, Oblivious, อพาร์ตเมนต์คุณป้า, ซิลลี่ ฟูลส์
ในปี 2551 งดจัดงาน เนื่องจากอยู่ในช่วงของการถวายอาลัย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
เทศกาลดนตรีนานาชาติ พัทยา อินเตอร์เนชั่นแนล มิวสิก เฟสติวัล 2009 โดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม พ.ศ. 2552 ภายใต้แนวคิด “AMAZING THAILAND AMAZING VALUE” แบ่งเป็น 3 เวที คือ เวทีแหลมบาลีฮาย, เวทีพัทยากลาง และเวทีพัทยาซอย 4 มีศิลปินนักร้องทั้งไทยและต่างประเทศเข้าร่วม อาทิ วีทรีโอ ,เรโทรสเป๊กส์ ,เคลียร์ ,ซุปเปอร์ซับ ,สวีทนุช เจ็ทเซ็ทเตอร์, ดูบาดู ,แคลอรี บลา บลา,แบล็คเฮด เพลย์กราว ,โดม โนโลโก้, ซีล, เตชินท์ ,ไมค์ไอดอล, โรส, มิ้น สวรรยา, อีโบล่า ,กบ เสาวนิตย์, ญารินดา ,ฟารเรนไฮต์ กอล์ฟ-ไมค์, วงแคลช, วงโนโลโก้, โปเตโต้, บิ๊กแอส, บอดี้สแลม, ก้านคอคลับ และ กลุ่มศิลปิน เดอะสตาร์ วง SHINEE, วง GIRLS' GENERATION จากเกาหลี, KYM JIN SHA จากจีน, KENNY KWAN จากฮ่องกง, MINH THU จากเวียดนาม, RYNN LIM จากมาเลเซีย, CIRQUE DE FREAK จากออสเตรเลีย ฯลฯ[6]
พัทยา อินเตอร์เนชันแนล มิวสิก เฟสติวัล 2010 ครั้งที่ 9 จัดขึ้นในวันที่ 19 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2553[7][8] แบ่งเป็น 4 เวทีการแสดงได้แก่ เวทีแหลมบาลีฮาย, เวทีพัทยากลาง, เวทีพัทยาซอย 4 และ เวทีพัทยาซอย 9 (เซ็นทรัลเฟสติวัล) โดยมีศิลปินมาร่วมงานอย่าง โปเตโต้ ไมโคร, เสก โลโซ, พลพล, กอล์ฟ-ไมค์, ดาเอ็นโดรฟิน, บอดี้สแลม, บิ๊กแอส, อ๊อฟ ปองศักดิ์, โอ๊ค สมิทธิ์, เป๊ก ผลิตโชค, ชิน ชินวุฒ, ป้าง นครินทร์, เอบีนอร์มอล, สวีทมัลเล็ท, พาราด็อกซ์, โนโลโก, เสลอ, แท๊ททู คัลเลอร์, บีโอวาย, ศิลปินกลุ่มเดอะสตาร์ ได้แก่ นิว - จิ๋ว - รุจ - แก้ม - กิ่ง - ดิว - แกรนด์ , ศิลปินกลุ่มทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ได้แก่ พัดชา - ตี๋ - พะแพง เป็นต้น
ส่วนศิลปินต่างประเทศที่เข้าร่วมเทศกาลนี้คือ After School, f(x) และ Wheesung จากเกาหลี, Zhang Li Yin (จางรี่หยิน) จากประเทศจีน, วง Leprozy’s จากลาว, from the Philippines, Christian Bautista, Tom Malaysia + J (Duo Artists) ฯลฯ[9]
พัทยา อินเตอร์เนชันแนล มิวสิก เฟสติวัล 2011 ครั้งที่ 10 จัดขึ้นในวันที่ 18 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2554[10] แบ่งเป็น 4 เวทีการแสดงได้แก่ เวทีแหลมบาลีฮาย, เวทีพัทยากลาง(ข้างโรงแรม ฮาร์ดร๊อค), เวทีพัทยาซอย 4 และ เวทีพัทยาใต้ โดยมีศิลปินมาร่วมงานอย่าง โปเตโต้ , กอล์ฟ-ไมค์, ดาเอ็นโดรฟิน, ชิน ชินวุฒ, พาราด็อกซ์, เสลอ, แท๊ททู คัลเลอร์, โซคูล, แพนเค๊ก, เพลกราวน์, กะลา, ซีล, แบล๊กเฮด, พั้นซ์, ออฟ ปองศักดิ์, นิว-จิ๋ว, พลพล เป็นต้น
ส่วนศิลปินต่างประเทศที่เข้าร่วมเทศกาลในปีนี้นี้คือ Rain (เรน) และ Son Dam Bi (ซนดัมบิ) จากเกาหลี NINA จากฟิลิปินส์ TIK Princess จากลาว PAK จากเวียดนาม หนุมาน จากญี่ปุ่น ฯลฯ[11]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พัทยา อินเตอร์เนชันแนล มิวสิก เฟสติวัล 2014 ครั้งที่ 13 จัดขึ้นในวันที่ 21-23 มีนาคม พ.ศ. 2557 โดยมี 4 เวทีการแสดง ได้แก่ เวทีหลัก ข้างโรงแรมฮาร์ดร็อกพัทยา เวทีเรกเก้ หน้าถนนคนเดินพัทยา เวทีเซ็นทรัลเฟส และเวทีสีเขียวบริเวณพัทยากลาง
เทศกาลดนตรีริมชายหาดที่ยิ่งใหญ่ของเมืองพัทยา พัทยามิวสิคเฟสติวัล 2558 Pattaya Music Festival 2015 ซึ่งจะกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 -22 มีนาคม 2558 [12]
เทศกาลดนตรีริมชายหาดที่ยิ่งใหญ่ของเมืองพัทยา พัทยามิวสิคเฟสติวัล 2559 Pattaya Music Festival 2016 ซึ่งจะกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 20 มีนาคม 2559 [13]
เทศกาลดนตรีเมืองพัทยาประจำปี 2560 (Pattaya Music Festival 2017) งดจัดงาน เนื่องจากไม่สามารถจัดหาราคากางเพื่อจัดประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับจัดงาน ตามประกาศเมืองพัทยา ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 และเพื่อความเหมาะสมกับบรรยากาศหลังวันที่ 13 ตุลาคม 2559 [14]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.