Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทคโน (อังกฤษ: techno) เป็นรูปแบบของดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์[1]ที่เกิดขึ้นในดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน ในสหรัฐอเมริกา ในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษ 1980 คำว่า techno ได้ถูกจัดเป็นแนวดนตรีครั้งแรกในปี ค.ศ. 1988[2][3] แม้ว่าเทคโนจะมีแนวย่อยที่หลายแนวแต่ดีทรอยต์เทคโนเป็นรากฐานที่มีการเกิดแนวเพลงย่อยจำนวนมาก[4]
เทคโน | |
---|---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ | เฮาส์, อิเล็กโทร, ซินธ์ป็อป, ชิคาโกเฮาส์, EBM, นิวบิต, ไฮ-เอ็นอาร์จี, แอซิดเฮาส์, ดีทรอยต์เทคโน |
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | กลางทศวรรษ 1980 ดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา |
เครื่องบรรเลงสามัญ | คีย์บอร์ด, เครื่องสังเคราะห์เสียง, ซีเควนเซอร์, ดรัมแมชชีน, ซามเพลอ |
รูปแบบอนุพันธุ์ | IDM, แทรนซ์, เอซิดเฮาส์, ฮาร์ดคอร์ |
แนวย่อย | |
เอซิด, มินิมอล, วองกี้, อินดัสเทรียล์ | |
แนวประสาน | |
ไมโครเฮาส์, เทคเฮาส์, เทคเทรนซ์, เทคสเตป | |
ทัศนียภาพในระดับภูมิภาค | |
Detroit techno, Nortec, Schranz, Yorkshire Bleeps and Bass, Jtek | |
หัวข้ออื่น ๆ | |
Electronic musical instrument, computer music, record labels, raves, free party, teknival |
แรกเริ่มเทคโนได้รวมดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ในสไตล์ของศิลปินเช่น ครัฟท์แวร์ค (Kraftwerk) จอร์โจ มอโรเดร์ (Giorgio Moroder) และ เยลโลแมจิกออร์เคสตรา (Yellow Magic Orchestra) พร้อมกับแนวเพลงแอฟริกันอเมริกัน รวมทั้ง ฟังก์ อิเล็กโทร ชิคาโกเฮาส์ และอิเล็กทริกแจ๊ส[5] นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลรูปแบบมากมายและบทเพลงที่ไม่มีฅัวต้น[6] ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตในอเมริกาในปลายยุคสังคมทุนนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือ The Third Wave (เดอะเธิร์ดเวฟ) โดย อัลวิน ทอฟเลอร์ (Alvin Toffler)[7][8] โปรดิวเซอร์เพลงผู้บุกเบิก วาน แอตกินส์ (Juan Atkins) กล่าวถึงการถ้อยคำ "เทคโนเรเบลส์" (techno rebels) ของทอฟเลอร์ ได้เป็นแรงบันดาลใจให้เขาได้ใช้คำ เทคโน ที่จะอธิบายดนตรีสไตล์เขาที่ได้ช่วยสร้างไว้ ผสมผสานเอกลักษณ์ได้รับอิทธิพลจากแนวเทคโนกับสุนทรียะที่เรียกว่า อัฟโฟรฟิวเจอร์ริสม์ (afrofuturism) โปรดิวเซอร์เช่น เดอร์ริก เมย์ (Derrick May) ได้กล่าวว่า ในการเปลี่ยนแปลงของจิตวิญญาณออกจากร่างกายไปยังเครื่องจักรกลที่มักจะเป็นต้นเหตุของความหลงใหลที่เป็นหลักการแสดงออกจากจิตวิญญาณเทคโนโลยี[9][10] ในกรณีนี้: "เทคโนแดนซ์มิวสิกสิ้นหวังเช่นไร อโดร์โน เห็นว่าเป็นผลการทำให้เหินห่างของการนำเครื่องจักรมาใช้แทนคนในจิตสำนึกที่ทันสมัย"[11]
เฉพาะรูปแบบแล้ว โดยทั่วไปเทคโน ได้ผลิตแบบบรรเลงดนตรีอย่างซ้ำ ๆ ในการใช้งานอย่างต่อเนื่องของชุดดีเจ จังหวะเสียงกลองส่วนใหญ่มักจะอยู่ในเวลาปานกลาง (4/4) ที่เวลาถูกตั้งค่ากับกลองเบสในแต่ละจังหวะโน้ตสี่ส่วน จังหวะเล่นย้อนหลังจะเป็นเสียงกลองเล็กหรือเสียงตบมือในสองและสี่จังหวะของท่อนและเปิดเสียงฉาบเพื่อการทำให้เกิดเสียงในทุกครั้งต่อวินาทีที่ท่อนแปด จังหวะมีค่อนข้างที่จะแตกต่างกันไประหว่างประมาณ 120 จังหวะต่อนาที (จังหวะโน้ตสี่ส่วนเท่ากับ 120 ต่อนาที) และ 150 ครั้งต่อนาทีที่ขึ้นอยู่กับสไตล์ของเทคโน
ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของเทคโนโลยีในการผลิตเพลง เช่น ดรัมแมชชีน เครื่องสังเคราะห์เสียงและดิจิทัลออดิโอเวิร์กสเตชัน ถูกมองว่าเป็นสิ่งสำคัญของสุนทรียะของเพลง หลายโปรดิวเซอร์เพลงได้ใช้ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แบบย้อนยุคในการสร้างสิ่งที่พวกเขาคิดว่าจะเป็นเทคโนเสียงจริง ดรัมแมชชีนในทศวรรษ 1980 เช่น ทีอาร์-808 ของโรแลนด์ และ ทีอาร์-909 มีราคาแพงมากและการเลียนแบบซอฟต์แวร์ย้อนยุคของเทคโนโลยีดังกล่าวได้อยู่ในความแพร่หลายในหมู่โปรดิวเซอร์
นักข่าวและแฟนเพลงเทคโน มักจะเลือกใช้คำนี้ เพื่ออธิบายถึงดนตรีที่เกี่ยวข้องกันได้ถึงแม้ว่ามีความแตกต่างที่ชัดเจน แต่มักมีแนวดนตรีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น เทคเฮาส์ และ แทรนซ์[12][13][14][15]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.