Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดเมโคลไซคลีน (อังกฤษ: Demeclocycline) เป็นยาปฏิชีวนะกึ่งสังเคราะห์ชนิดหนึ่งในกลุ่มเตตราไซคลีน คัดแยกได้จากแบคทีเรีย Streptomyces aureofaciens[1][2][3] ที่ได้รับการรับรองให้ใช้เพื่อการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด[4] อาทิ โรคไลม์ สิวที่เกิดจากแบคทีเรีย]] หลอดลมอักเสบจากแบคทีเรีย ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรตที่ 1980 ได้มีการนำยานี้มาใช้ในการรักษาภาวะโซเดียมในเลือดต่ำที่มีสาเหตุมาจากกลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม (SIADH)[5] แต่มีการคิดค้นพัฒนายาชนิดใหม่สำเร็จ จึงไม่ค่อยมีการใช้เดเมโคลไซคลีนสำหรับข้อบ่งใช้ดังกล่าวมากนักในปัจจุบัน[6]
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | Declomycin, Declostatin, Ledermycin, Bioterciclin, Deganol, Deteclo, Detravis, Meciclin, Mexocine, Clortetrin และอื่นๆ |
ชื่ออื่น | RP-10192 |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a682103 |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ |
|
ช่องทางการรับยา | รับประทาน |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 60–80% |
การจับกับโปรตีน | 41–50% |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 10–17 ชั่วโมง |
การขับออก | ไต |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.004.396 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C21H21ClN2O8 |
มวลต่อโมล | 464.853 g/mol g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
SMILES
| |
InChI
| |
(verify) | |
เดเมโคลไซคลีนออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย โดยเข้าจับกับหน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียขาดโปรตีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต นอกจากนี้ยังสามารถออกฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของเอนไซม์วาโซเพรสซิน (vasopressin) บริเวณหน่วยไตได้ด้วย[7] ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ ข้อห้ามใช้ และการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาของเดเมโคลไซคลีนนั้นมีความคล้ายคลึงกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่นในกลุ่มเตตราซัยคลีน[6][8] แต่เดเมโคลไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะเพียงชนิดเดียวในกลุ่มนี้ที่ก่อให้เกิดภาวะเบาจืดได้ จึงมีการนำเดเมโคลไซคลีนมาใช้ในการรักษากลุ่มอาการ SIADH[8]
เดเมโคลไซคลีนจัดเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย (bacteriostatic agent) เนื่องจากยานี้เป็นยาในกลุ่มเตตราซัยคลีน จึงมีกลไกลการออกฤทธิ์ที่คล้ายคลึงกับสมาชิกอื่นในกลุ่ม โดยเดเมโคลไซคลีนจะเข้าจับกับหน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย เพื่อป้องกันไม่ให้อะมิโนเอซิลทีอาร์เอ็นเอเข้าจับกับตำแหน่งดังกล่าวได้ ส่งผลให้กระบวนการการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรียนั้นหยุดชะงักลงในที่สุด
นอกจากนี้ เดเมโคลไซคลีนยังออกฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของเอนไซม์วาโซเพรสซิน (vasopressin) บริเวณหน่วยไต โดยการรบกวนการทำงานระบบตัวสื่อสัญญาณที่สอง (secondary messenger) ภายในเซลล์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยับยั้งการกระตุ้นอะดีลินิลไซเคลส) หลังจากที่ฮอร์โมนดังกล่าวเข้าจับกับตัวรับอาร์จินีนวาโซเพรสซินชนิดที่ 2 (vasopressin V2 receptor) ในไต[7][9][10] อย่างไรก็ตาม กลไกการออกฤทธิ์โดยละเอียดของเดเมโคลไซคลีนในกระบวนการดังกล่าวนั้นยังไม่ได้รับการอธิบายให้แน่ชัเได้เท่าใดนัก[10]
เดเมโคลไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะที่ได้รับการรับรองให้ใช้เพื่อการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด[4] อาทิ โรคไลม์ สิวที่เกิดจากแบคทีเรีย]] หลอดลมอักเสบจากแบคทีเรีย เนื่องจากพบการดื้อยาของแบคทีเรียต่อยานี้ได้มากขึ้นในปัจจุบัน จึงพบเห็นการใช้เดเมโคลไซคลีนเพื่อรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียได้ไม่มากเท่าใดนัก
เดเมโคลไซคลีนถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง (ถึงแม้จะเป็นการใช้ยานอกเหนือข้อบ่งใช้ในหลายประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา) เพื่อการรักษาภาวะโซเดียมในเลือดต่ำที่มีสาเหตุมาจากกลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม (SIADH) ในกรณีที่การให้การรักษาด้วยสารน้ำแล้วยังไม่ประสบผลสำเร็จในการรักษา[5] โดยเดเมโคลไซคลีนจะออกฤทธิ์ลดการตอบสนองของหลอดไตรวม (collecting tubule) ต่อวาโซเพรสซิน หรือ แอนติไดยูเรติกฮอร์โมน (antidiuretic hormone; ADH)
ทั้งนี้ การใช้เดเมโคลไซคลีนเพื่อรักษาความผิดปกติในกลุ่มอาการ SIADH ดังข้างต้นนั้น โดยแท้จริงแล้ว ฤทธิ์ในการรักษาดังกล่าวเป็นผลมาจากอาการไม่พึงประสงค์ของเดเมโคลไซคลีน โดยเดเมโคลไซคลีนจะเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเบาจืด (การขาดน้ำของร่างกายที่เป็นผลมาจากการสูญเสียความสามารถในการควบคุมความเข้มข้นปัสสาวะของร่างกาย)[5] โดยเดเมโคลไซคลีนถูกนำมาใช้ในข้อบ่งใช้นี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1975[11] และในปี ค.ศ. 1978 มีการศึกษาทางคลินิกขนาดใหญ่หนึ่งการศึกษาที่พบว่าเดเมโคลไซคลีนมีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะโซเดียมในเลือดต่ำที่มีสาเหตุมาจากกลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสมและก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์น้อยกว่าลิเทียมคาร์บอเนต ซึ่งเป็นายาเพียงชนิดเดียวที่ได้รับการรับรองให้ใช้สำหรับข้อบ่งใช้ดังกล่าวในขณะนั้น[6] ด้วยเหตุนี้ ทำให้เดเมโคลไซคลีนได้รับการพิจารณาให้เป็นยาทางเลือกสำหรับการรักษากลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสมนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 2009 ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งตัวรับวาโซเพรสซิน อย่างโทลแวปแทน ซึ่งเป็นยากลุ่มใหม่ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากกว่าเดเมโคลไซคลีนได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาให้ใช้เป็นยาทางเลือกสำหรับข้อบ่งใช้ดังกล่าวแทน ทำให้ไม่ค่อยมีการใช้เดเมโคลไซคลีนในการรักษากลุ่มอาการ SIADH มากเท่าใดนักในปัจจุบัน[6]
เนื่องจากเดเมโคลไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มเตตราซัยคลีน จึงมีข้อห้ามใช้ที่คล้ายคลึงกันกับยาปฏิชีวนะอื่นในกลุ่มเดียวกัน ได้แก่ ห้ามใช้ในเด็ก และหญิงตั้งครรภ์ รวมไปถึงหญิงที่กำลังอยู่ระหว่างการให้นมบุตรด้วยตนเอง เนื่องจากยาปฏิชีวนะทั้งหมดในกลุ่มนี้จะรบกวนพัฒนาการของกระดูก และอาจทำให้สีของฟันผิดปกติอย่างถาวรได้[8][12]
เดเมโคลไซคลีนมีอาการไม่พึงประสงค์เช่นเดียวกันกับยาอื่นในกลุ่มเตตราซัยคลีน โดยอาจพบการเกิดปฏิกิริยาการไวต่อแสงแดดของผิวหนังได้ในผู้ที่ใช้ยานี้บางราย[6] ทั้งนี้ เดเมโคลไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะเพียงชนิดเดียวในกลุ่มนี้ที่ก่อให้เกิดภาวะเบาจืด ส่วนการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาของเดเมโคลไซคลีนนั้นมีกลไกคล้ายกับยาอื่นในกลุ่มเดียวกัน โดยยานี้จะเข้าจับกับประจุบวกได้ดี อาทิ แคลเซียม เหล็ก (เมื่อใช้ในรูปแบบรับประทาน) และแมกนีเซียม (ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของยาน้ำลดกรด) ทำให้ได้สารประกอบเชิงซ้อนที่ไม่ละลายน้ำและไม่สามารถถูกดูดซึมได้ในทางเดินอาหาร นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเดเมโคลไซคลีนพร้อมกับอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิงผลิตภัณฑ์จากนม และอาหารเสริม เนื่องจากอาหารจะทำให้เดเมโคลไซคลีนถูกดูดซึมได้ช้าหรือน้อยลง[8]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.