เจ้าฟ้าหลวงทิพเนตร[1][2] หรือพระยาหลวงทิพเนตร[3][4] ทรงเป็นเจ้าฟ้าเชียงแสนภายใต้การปกครองของพม่าระหว่างปี พ.ศ. 2171 ไทยสากล[note 1] และ พ.ศ. 2175 ไทยสากล - พ.ศ. 2193/2194 ไทยสากล (จ.ศ. 1012)

ข้อมูลเบื้องต้น เจ้าฟ้าหลวงทิพเนตร, เจ้าฟ้าเชียงแสน สมัยที่ 1 ...
เจ้าฟ้าหลวงทิพเนตร
เจ้าฟ้าเชียงแสน สมัยที่ 1
ครองราชย์พ.ศ. 2171 ไทยสากล - พ.ศ. 2171 ไทยสากล
รัชกาลก่อนหน้านางฟ้ากาเผือก
ถัดไปพระยาศรีสองเมืองวิชัยปราการ
เจ้าฟ้าเชียงแสน สมัยที่ 2
ครองราชย์พ.ศ. 2175 ไทยสากล - พ.ศ. 2193/2194 ไทยสากล
ก่อนหน้าพระยาศรีสองเมืองวิชัยปราการ
รัชกาลถัดไปเจ้าฟ้าหมวกคำ
ประสูติไม่ปรากฏ
สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2193/2194 ไทยสากล
พระราชบุตรเจ้าฟ้าหมวกคำ
นายมอง
ราชวงศ์หลวงทิพเนตร
ปิด

พระราชประวัติ

สรุป
มุมมอง

เจ้าฟ้าเชียงแสนสมัยที่ 1

แต่เดิมเจ้าฟ้าหลวงทิพเนตรทรงเป็นขุนนางเมืองเชียงแสน นามว่าแสนหลวงเรือดอน[note 2] ในปี พ.ศ. 2169/2170 ไทยสากล (จ.ศ. 988) เจ้าฟ้าแห่งเชียงรุ่งแข็งเมืองต่อพม่า พระเจ้าอะเนาะเพะลูนทรงให้พระราชอนุชาทั้งสองคือ สุทโธธรรมราชา (พระเจ้าตาลูน) และมังรายกะยอฉะวาแห่งซะกุ๊ยกทัพไปปราบปราม ต่อมาพระเจ้าอะเนาะเพะลูนทรงถูกปลงพระชนม์โดยพระเจ้ามีนเยเดะบะในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2171 ไทยสากล ในขณะนั้นสุทโธธรรมราชาและมังรายกะยอฉะวากำลังเสด็จกลับจากการศึกที่เชียงรุ่งและประทับอยู่ที่เมืองเชียงแสน พระเจ้ามีนเยเดะบะทรงออกอุบายทำให้เจ้าทั้งสองเกิดวิวาทกัน[5][6] แสนหลวงเรือดอนมีความชอบในการระงับเหตุวิวาทดังกล่าว สุทโธธรรมราชาจึงทรงตั้งให้เป็นเจ้าฟ้าหลวงทิพเนตรครองเมืองเชียงแสน[1][2]

เจ้าฟ้าหลวงทิพเนตรโดยเสด็จไปส่งสุทโธธรรมราชาและมังรายกะยอฉะวาถึงฝั่งแม่น้ำสาละวิน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เจ้าพลศึกซ้ายไชยสงครามแห่งเชียงใหม่ทรงคิดแข็งเมืองต่อพม่าจึงทรงให้เจ้าเมืองลำปางจับตัวเจ้าฟ้าหลวงทิพเนตรมาขังไว้ที่เชียงใหม่ จากนั้นจึงทรงแต่งตั้งให้เจ้าเมืองลำปางเป็นพระยาศรีสองเมืองวิชัยปราการปกครองเมืองเชียงแสนแทน[1][2]

เจ้าฟ้าเชียงแสนสมัยที่ 2

หลังจากพระเจ้าตาลูนทรงตีเมืองเชียงใหม่แตกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2175 ไทยสากล[5][6] พระองค์ทรงให้เจ้าฟ้าหลวงทิพเนตรกลับไปครองเมืองเชียงแสนดังเดิม[1][2] ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่[3][4]ระบุว่า พระเจ้าตาลูนทรงตั้งให้เจ้าฟ้าหลวงทิพเนตรครองเมืองเชียงใหม่ซึ่งขัดแย้งกับข้อมูลจากหลักฐานอื่น

เจ้าฟ้าหลวงทิพเนตรสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2193/2194 ไทยสากล (จ.ศ. 1012)[1][2][3][4] เจ้าฟ้าหมวกคำพระราชโอรสจึงขึ้นครองเมืองเชียงแสนต่อมา

เจ้าฟ้าหลวงทิพเนตรอาจมีพระราชธิดาอีก 1 พระองค์ ซึ่งถูกกล่าวถึงโดยมหาราชวงศ์[5] มีพระนามว่า นายมอง[note 3] (อังกฤษ: Nai Maung) พระองค์ทรงเป็นธิดาเจ้าเมืองเชียงแสนและหลานสาว (niece) ของบาญายาซา[note 3] (อังกฤษ: Banyayaza) และทรงเป็นหนึ่งในพระสนมของพระเจ้าตาลูน และได้ประสูติพระราชธิดาในปี พ.ศ. 2181/2182 ไทยสากล (จ.ศ. 1000) มีพระนามว่า ซิตะระนานเลาะ[note 3] (อังกฤษ: Sittara Nan Lawk) ต่อมาซิตะระนานเลาะทรงได้รับพระราชทานราชทินนาม ตูซา[note 3] (อังกฤษ: Thuza) หรือตูยาซา[note 3] (อังกฤษ: Thuyaza)

หมายเหตุ

  1. เทียบตามปฏิทินสุริยคติไทย โดยยึดวันปีใหม่คือ 1 มกราคม
  2. แสนหลวงเรือดอนอาจเป็นตำแหน่ง ดังปรากฏในข้อความในพื้นเมืองเชียงแสนว่า หื้อแสนหลวงเถิง (เทิง) กินท้องช้างแล เรือดอน เรือทวาย ท่าทั้งมวลแล สรัสวดี อ๋องสกุล อธิบายว่า กินท้องช้าง หมายถึง เก็บภาษีเรือท้องช้าง ซึ่งเป็นเรือบรรทุกสินค้า

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.