เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง

เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง[1] หรืออัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 4 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร มีอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลเป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑล และโบสถ์นักบุญอันนา หนองแสง เป็นรองอาสนวิหาร

ข้อมูลเบื้องต้น อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง Archidioecesis Tharensis et Nonsengensis, ที่ตั้ง ...
อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง

Archidioecesis Tharensis et Nonsengensis
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย
ภาคท่าแร่-หนองแสง
สถิติ
พื้นที่25,477 ตารางกิโลเมตร (9,837 ตารางไมล์)
ประชากร
- รวม
- คาทอลิก
(2010)
3,171,478
44,078 (1.4%)
ข้อมูล
นิกายคาทอลิก
Sui iuris churchคริสตจักรละติน
จารีตพิธีกรรมโรมัน
อาสนวิหารอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่
อาสนวิหารร่วมอาสนวิหารร่วมนักบุญอันนา นครพนม
ผู้นำปัจจุบัน
สันตะปาปาสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
มุขนายกอันตน วีระเดช ใจเสรี
แผนที่
Thumb
เว็บไซต์
genesis.in.th
ปิด

สำนักมิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง ตั้งอยู่ที่ 362 หมู่ 2 สกลนคร-อุดรธานี ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร 47000 ปัจจุบันมีพระคุณเจ้าอันตน วีระเดช ใจเสรี เป็นอัครมุขนายก

ประวัติ

เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงมีต้นกำเนิดมาจากการที่คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสได้ส่งมิชชันนารีมาทำการประกาศข่าวดีที่ภาคอีสานมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1881 ต่อมาในปี ค.ศ. 1889 สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 โปรดให้ตั้งมิสซังลาวเป็นเขตผู้แทนพระสันตะปาปาโดยแยกออกมาจากมิสซังสยามตะวันออก มีศูนย์การบริหารที่โบสถ์นักบุญอันนา หนองแสง เมื่อสยามเสียดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแก่จักรวรรดิฝรั่งเศส มิสซังลาวจึงถูกแบ่งออกเป็น 3 มิสซัง โดยส่วนภาคอีสานของสยามยังเป็นมิสซังลาว ในปี ค.ศ. 1950 มิสซังลาวได้เปลี่ยนชื่อเป็นมิสซังท่าแร่ และมิสซังท่าแร่-หนองแสงในปี ค.ศ. 1960 ตามลำดับ

สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 ทรงยกสถานะมิสซังท่าแร่-หนองแสงขึ้นเป็นอัครมุขมณฑลในปี ค.ศ. 1965 ทำให้ประมุขมีสมณศักดิ์เป็นอัครมุขนายก แต่ทางราชการไทยยังคงเรียกว่าเขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง

ปัจจุบัน (ค.ศ. 2015) เฉพาะในเขตบ้านท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 2,574 ครัวเรือน ประชากรรวมทั้งสิ้น 13,154 คน กระจายอยู่ใน 8 หมู่บ้าน 2 ตำบล ซึ่งทุกคนนับถือศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิกทั้งหมด นับเป็นชุมชนชาวโรมันคาทอลิกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และในช่วงเทศกาลคริสต์มาสของทุกปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 เป็นต้นมา จะมีประเพณีแห่ดาวคริสต์มาสที่ประดับด้วยหลอดไฟสีสันต่าง ๆ มีความสวยงาม ไปตามชุมชน นับเป็นสถานที่เดียวในโลกอีกด้วยที่มีประเพณีเช่นนี้[2]

ประมุขมิสซัง

นับตั้งแต่ตั้งเป็นมิสซังลาว มีมุขนายกประมุขมิสซังดังนี้

ลำดับที่รายนามตำแหน่งเริ่มวาระสิ้นสุดวาระ
1มารี-โฌแซ็ฟ กูว์อาซผู้แทนพระสันตะปาปาค.ศ. 1899ค.ศ. 1912
2กงสต็อง-ฌ็อง-บาติสต์ พรอดอมผู้แทนพระสันตะปาปาค.ศ. 1913ค.ศ. 1920
3อ็องฌ์-มารี-โฌแซ็ฟ แกว็งผู้แทนพระสันตะปาปาค.ศ. 1920ค.ศ. 1943
4อ็องรี-อัลแบร์ ทอมินผู้แทนพระสันตะปาปาค.ศ. 1944ค.ศ. 1945
5โกลด-ฟีลิป บาเยผู้แทนพระสันตะปาปาค.ศ. 1947ค.ศ. 1953
6มีคาแอล มงคล ประคองจิตผู้แทนพระสันตะปาปาค.ศ. 1953ค.ศ. 1958
7มีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์มุขนายกมหานครค.ศ. 1959ค.ศ. 1980
8ลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อนมุขนายกมหานครค.ศ. 1980ค.ศ. 2004
9หลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์มุขนายกมหานครค.ศ. 2005ค.ศ. 2020
10อันตน วีระเดช ใจเสรี[3]มุขนายกมหานครค.ศ. 2020ปัจจุบัน

สถิติ

สถิติมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 มีดังนี้

ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูล, พ.ศ. 2554 ...
ข้อมูลพ.ศ. 2554[4]พ.ศ. 2556[5]พ.ศ. 2557[6]พ.ศ. 2558[7]พ.ศ. 2559[8]พ.ศ. 2559[9]พ.ศ. 2560[10]พ.ศ. 2561[11]พ.ศ. 2562[12]พ.ศ. 2563[13]
ชาวคาทอลิก54,39454,51054,51054,52154,71454,99155,27055,63656,52356,758
บาทหลวงมิสซัง69706975757877767575
บาทหลวงคณะดอมินิกัน----232222
บาทหลวงคณะซิสเตอร์เชียน----233355
ภราดาน้อยกาปูชิน3222233333
ภราดาเซนต์คาเบรียล1112222222
ภคินีคณะรักกางเขนแห่งท่าแร่96981031041029897999593
ภคินีคณะกลาริสกาปูชิน18171812121214121312
ภคินีคณะออกัสติเนียน2222222211
ภคินีคณะธิดาเมตตาธรรม3334444444
ภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร7777777778
โบสถ์76777777777778787979
ปิด
  • หมายเหตุ : สถิติที่รายงานในปฏิทินคาทลิก 2561 ระบุว่าเป็นสถิติประจำปี 2016/2559 จึงมีข้อมูลปี 2559 อยู่ 2 ชุด

โรงเรียนคาทอลิกในสังกัดมิสซังท่าแร่-หนองแสง

ข้อมูลเพิ่มเติม โรงเรียน, ที่ตั้ง ...
โรงเรียน ที่ตั้ง
1. โรงเรียนเซนต์ยอแซฟยานนาวา เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
2. โรงเรียนเซนต์ยอแซฟกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง กาฬสินธุ์
3. โรงเรียนเซนต์ยอแซฟกุฉินารายณ์ อำเภอกุฉินารายณ์ กาฬสินธุ์
4. โรงเรียนเซนต์ยอแซฟสกลนคร อำเภอเมือง สกลนคร
5. โรงเรียนเซนต์ยอแซฟนิคมน้ำอูน อำเภอนิคมน้ำอูน สกลนคร
6. โรงเรียนเซนต์ยอแซฟนครพนม อำเภอเมือง นครพนม
7. โรงเรียนเซนต์ยอแซฟนาแก อำเภอนาแก นครพนม
8. โรงเรียนเซนต์ยอแซฟศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม นครพนม
9. โรงเรียนเซนต์ยอแซฟมุกดาหาร อำเภอเมือง มุกดาหาร
ปิด

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.