ฮิเดกิ ยูกาวะ (ญี่ปุ่น: 湯川 秀樹; โรมาจิ: Yukawa Hideki) เกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1907 เป็นนักวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์เชิงทฤษฎีที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น และเป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล

ข้อมูลเบื้องต้น ฮิเดกิ ยูกาวะ, เกิด ...
ฮิเดกิ ยูกาวะ
湯川 秀樹
Thumb
เกิด23 มกราคม ค.ศ. 1907(1907-01-23)
โตเกียว ญี่ปุ่น
เสียชีวิต8 กันยายน ค.ศ. 1981(1981-09-08) (74 ปี)
เกียวโต ญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกียวโต
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (1949)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์ทฤษฎี
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยหลวงโอซากะ
มหาวิทยาลัยหลวงเกียวโต
มหาวิทยาลัยโตเกียว
Institute for Advanced Study
มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
อาจารย์ที่ปรึกษาคาจูโระ ทามากิ
มีอิทธิพลต่อเอนรีโก แฟร์มี
ปิด

ประวัติ

ยูกาวะ เกิดที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เติบโตที่เกียวโต และจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกียวโตในปี 1929 จากนั้น ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโตเป็นเวลา 4 ปี โดยหลังจบการศึกษา ยูกาวะสนใจงานด้านฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โดยเฉพาะฟิสิกส์อนุภาค จากนั้นในปี 1932 ยูกาวะแต่งงานกับซูมิ มีบุตรชาย 2 คนคือ ฮารูมิ กับ ทากาอากิ ในปี 1933 ยูกาวะย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยโอซากะเมื่ออายุได้ 26 ปี

ในปี 1935 ยูกาวะเผยแพร่งานวิจัยเรื่องทฤษฎีของเมซอน ซึ่งอธิบายอันตรกิริยาระหว่างโปรตอนกับนิวตรอน และเป็นงานวิจัยชิ้นแนวหน้าในสมัยนั้น จากนั้นในปี 1940 ยูกาวะได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต และในปี 1949 ย้ายไปดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐ ซึ่งในปีเดียวกันนั้นเอง ยูกาวะได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ จากการที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบอนุภาคไพออนตรงตามที่ยูกาวะได้ทำนายไว้เมื่อปี 1947

ยูกาวะยังเป็นบรรณาธิการหนังสือเรื่อง Progress of Theoretical Physics และเผยแพร่หนังสือเรื่อง Introduction to Quantum Mechanics ในปี 1946 และ Introduction to the Theory of Elementary Particles ในปี 1948

ยูกาวะเกษียณอายุจากตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณแห่งมหาวิทยาลัยเกียวโตในปี 1970 ก่อนจะเสียชีวิตที่บ้านในเขตซาเกียว เกียวโต เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1981 ด้วยโรคปอดอักเสบและหัวใจล้มเหลวในวัย 74 ปี สุสานของยูกาวะตั้งอยู่ที่เขตฮิงาชิยามะ นครเกียวโต

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.