อุบัติเหตุเหมืองในโกเปียโป พ.ศ. 2553
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุบัติเหตุเหมืองในโกเปียโป พ.ศ. 2553 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ในเหมืองทองและทองแดง ชื่อว่าซานโฮเซ (สเปน: San José) ใกล้กับเมืองโกเปียโป ประเทศชิลี เหมืองดังกล่าวเกิดถล่ม ทำให้ชาย 33 คนติดอยู่ในเหมืองใต้ดินด้านล่าง[1][2] คนงานเหมืองต้องใช้ชีวิตอยู่ข้างใต้นาน 69 วัน[3]
การหาทางช่วยเหลือผู้ติดอยู่ในเหมืองเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553 | |
วันที่ | 5 สิงหาคม ค.ศ. 2010 – 13 ตุลาคม ค.ศ. 2010 (69 วัน) |
---|---|
เวลา | 14:05 CLT (UTC−4) |
ที่ตั้ง | ทะเลทรายอาตากามา ใกล้เมืองโกเปียโป, ประเทศชิลี |
พิกัด | 27.158609°S 70.497655°W |
ผู้รายงานคนแรก | San Esteban Mining Company |
ผล | คนงานเหมืองทั้ง 33 คนปลอดภัย |
ทรัพย์สินเสียหาย | การปิดและการสูญเสียทั้งหมด ข้อมูลเมื่อ สิงหาคม 2010[update][ต้องการอัปเดต] |
คดีความ | คดีความ 2 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ข้อมูลเมื่อ สิงหาคม 2010[update][ต้องการอัปเดต] |
เว็บไซต์ | Ministry of Mining, Chile |
เหมืองซานโฮเซ อยู่ทางเหนือของเมืองโกเปียโปราว 45 กิโลเมตร ทางตอนเหนือของประเทศชิลี คนงานเหมืองติดอยู่ลึกลงไป 700 เมตร และห่างจากทางเข้าหลักที่คดเคี้ยวราว 5 กิโลเมตร จากทางเข้าเหมือง ประวัติของเหมืองนี้ที่ไม่มั่นคง ซึ่งเคยมีอุบัติเหตุมาก่อนหน้านี้หลายครั้ง รวมถึงมีผู้เสียชีวิต 1 คน ก่อนหน้านี้[4]
การช่วยเหลือชีวิตคนงานเหมืองคนแรกเมื่อวันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 23:55 น. ตามเวลาท้องถิ่น ผู้ขึ้นมาคนแรกคือ โฟลเรนซิโอ อาบาโลส (สเปน: Florencio Ávalos) ด้วยการใช้แคปซูล ถึงบนพื้นดินในเวลา 16 นาทีต่อมาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 00:11 ตามเวลาท้องถิ่น[5][6] จนช่วยเหลือชีวิตคนงานเหมืองทั้ง 33 คน ครบเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 21:55 น. ตามเวลาท้องถิ่น มีหนึ่งคนที่ปอดบวม ส่วนคนอื่นมีติดเชื้อเกี่ยวกับฟันและมีปัญหาเกี่ยวกับกระจกตา[7]
ในการช่วยเหลือคนงานเหมืองนี้มีวิศวกรชาวไทยสองคนร่วมปฏิบัติภารกิจด้วย คือวชิรพงษ์ นาสารีย์ และสมพงษ์ พงกันยา[8]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.