อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ เป็นอุทยานแห่งชาติในอำเภอแม่ระมาด และอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ | |
---|---|
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 2 (อุทยานแห่งชาติ) | |
ศาลเจ้าพ่อพระวอ ใกล้เขตอุทยานฯ | |
ที่ตั้ง | อำเภอแม่ระมาดและอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก |
พิกัด | 17°2′18.676″N 98°37′39.799″E |
พื้นที่ | 397 ตารางกิโลเมตร (248,000 ไร่) |
จัดตั้ง | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552 |
ผู้เยี่ยมชม | 10,307 (2562) |
หน่วยราชการ | กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช |
ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 350-905 เมตร เป็นต้นน้ำของห้วยแม่ละเมา ห้วยแม่จะเรา ห้วยพะวอ ห้วยแม่กาษา ห้วยแม่กิ๊ดหลวง ห้วยพะเสาะ ห้วยสะมึนหลวง ห้วยแสม และห้วยแม่ระมาด อันเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญไหลลงสู่พื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอแม่สอด และอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
สภาพอากาศโดยทั่วไปเย็นสบายตลอดปี มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 20 องศาเซลเซียส ฤดูฝนมีฝนตกชุกคล้ายกับภูมิอากาศทางภาคใต้ของประเทศไทย มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,676 มิลลิเมตรต่อปี ในฤดูหนาวมีหมอกมาก ลมแรง และอากาศหนาวเย็น
อยู่บนเส้นทางสายแม่ระมาด-บ้านตาก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1175) มีตำแหน่งที่ตั้งค่อนไปทางตะวันตก ใกล้อำเภอแม่ระมาด
เนื่องจากพื้นที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์และมีสภาพป่าหลายชนิดปะปนกันซึ่งมีทั้งป่าผลัดใบและป่าไม่ผลัดใบจำแนกได้ดังนี้
- ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) ป่าดิบเขาเป็นป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป ส่วนใหญ่อยู่บนเทือกเขาสูงทางภาคเหนือ ป่าดิบเขาในเขตอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ พบได้ทั่วไปบริเวณยอดเขา พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ ก่อ สน ตุ้มแต๋น มะขามป้อม จำปีป่า สารภี นมนาง มะส้าน ทะโล้ ยมหิน เนียง หรือ ลูกเนียง เงาะป่า ละมุดป่า ขนุนป่า ไผ่หก เป็นต้น
- ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) ป่าดิบแล้งในเขตอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ พบได้ทั่วไปบริเวณหุบเขาและริมลำห้วย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง ตะเคียน มะม่วงป่า ลำไยป่า มะไฟ มะเดื่อ ไทร ตะแบก เป็นต้น
- ป่าสน (Coniferous Forest) ป่าสนในเขตอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ พบได้ทั่วไปบริเวณยอดเขาและสันเขาที่มีระดับสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป บางครั้งพบขึ้นปนอยู่กับป่าแดงและป่าดิบเขา พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ ก่อ รัก รัง เหียง เป็นต้น
- ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) ป่าชนิดนี้พบมากในภาคเหนือของประเทศ ป่าเบญจพรรณในเขตอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ มักพบทางตอนกลางและทิศตะวันออกของพื้นที่ มีลักษณะเป็นป่าโปร่งประกอบด้วยต้นไม้ขนาดกลางเป็นส่วนมาก พื้นที่ป่าไม่รกทึบมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ และไม้สักขึ้นปะปนกัน นอกจากนี้ยังพบ ไม้แดง ประดู่ เติม รกฟ้า สมอพิเภก กระพี้เขาควาย กว้าว ซ้อ เป็นต้น ในฤดูแล้งต้นไม้ทั้งหมดจะพากันผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำ
สัตว์ที่พบเห็นได้มาก ได้แก่ หมี เก้ง หมูป่า ไก่ป่า กบ เม่น นิ่ม ตุ่น กระรอก อีเห็น บ่าง กระต่ายป่า ค้างคาว พังพอน งูเห่า งูจงอาง และนกชนิดต่าง ๆ รวมทั้งผีเสื้อและแมลงต่าง ๆ อีกด้วย ส่วนสัตว์ป่าที่พบเจอได้น้อย ได้แก่ เลียงผา เสือไฟ ชะนี นกกก เป็นต้น
ภายในอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ มีแห่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สนใจหลายอย่างด้วยกัน ได้แก่
การเดินทางสู่อุทยานแห่งชาติขุนพระวอ ใช้เส้นทางต่างๆ ได้ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.