คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
อำเภอเมืองบึงกาฬ
อำเภอในจังหวัดบึงกาฬ ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
เมืองบึงกาฬ เป็นอำเภอซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการบริหารราชการของจังหวัดบึงกาฬ มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง มีน้ำตก มีภูเขา เป็นอำเภอที่มีเขตพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง และอีกฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงจะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน (ลาว) มีการคมนาคมสะดวก
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
ในอดีตอำเภอเมืองบึงกาฬ มีชื่อเดิมว่าบ้านบึงกาญจน์ มีฐานะเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอไชยบุรีจังหวัดนครพนม ต่อมาได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอไชยบุรีมาตั้งที่บ้านบึงกาฬ คงชื่ออำเภอไชยบุรีตาม ขึ้นกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2460 ได้ถูกโอนย้ายให้ขึ้นต่อจังหวัดหนองคาย และถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บึงกาฬ ในปี พ.ศ. 2482[2]
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการร้องขอให้จัดตั้งเป็นจังหวัดบึงกาฬ ตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย แต่กระทรวงมหาดไทย ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐซึ่งขัดมติคณะรัฐมนตรี[3]
จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.สัดส่วน พรรคกิจสังคมได้ตั้งกระทู้ถามสดต่อนายกรัฐมนตรี เรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ และทางกระทรวงมหาดไทยเห็นด้วย กำลังอยู่ในกระบวนการนำเข้าเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งเรื่องเข้ามาสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอเป็นกฎหมายพ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ[4] และในวันที่ 3 สิงหาคม ปีเดียวกัน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ[5]
เมื่อมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้นตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อำเภอบึงกาฬจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอเมืองบึงกาฬ" โดยเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบึงกาฬ ตามความในมาตรา 3 และ 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป [6]
- วันที่ 25 มีนาคม 2459 โอนพื้นที่อำเภอไชยบุรี จังหวัดนครพนม ไปขึ้นกับจังหวัดหนองคาย[7]
- วันที่ 20 สิงหาคม 2483 ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอบึงกาฬ (1,2,3)[8]
- (1) โอนพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลเซกา ไปขึ้นตำบลซาง
- (2) ตั้งตำบลท่ากกแดง แยกออกจากตำบลเซกา ตำบลซาง และตำบลดอนหญ้านาง
- (3) ตั้งตำบลโคกก่อง แยกออกจากตำบลบึงกาฬ
- วันที่ 21 สิงหาคม 2488 โอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลชุมภูพร ไปตั้งเป็นหมู่ 9 ของตำบลโคกก่อง[9]
- วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบึงกาฬ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบึงกาฬ[10]
- วันที่ 18 พฤศจิกายน 2501 แยกพื้นที่ตำบลเซกา ตำบลดงบัง ตำบลซาง ตำบลโพธิ์หมากแข้ง และตำบลท่ากกแดง อำเภอบึงกาฬ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเซกา ขึ้นกับอำเภอบึงกาฬ[11]
- วันที่ 28 กรกฎาคม 2502 โอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลชุมภูพร ไปตั้งเป็นหมู่ 9 ของตำบลเซกา[12]
- วันที่ 10 ธันวาคม 2502 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเซกา อำเภอบึงกาฬ เป็น อำเภอเซกา
- วันที่ 28 พฤษภาคม 2511 ตั้งตำบลโนนสมบูรณ์ แยกออกจากตำบลบึงกาฬ และตั้งตำบลศรีชมภู แยกออกจากตำบลดอนหญ้านาง[13]
- วันที่ 24 มิถุนายน 2518 ตั้งตำบลหนองเลิง แยกออกจากตำบลหนองเข็ง และตั้งตำบลหอคำ แยกออกจากตำบลหนองเข็ง[14]
- วันที่ 16 ตุลาคม 2518 จัดตั้งนิคมสร้างตนเองโพนพิสัย ในท้องที่อำเภอบึงกาฬ และอำเภอโพนพิสัย[15]
- วันที่ 23 พฤศจิกายน 2519 แยกพื้นที่ตำบลศรีชมภู และตำบลดอนหญ้านาง อำเภอบึงกาฬ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอพรเจริญ ขึ้นกับอำเภอบึงกาฬ[16]
- วันที่ 31 ตุลาคม 2521 ตั้งตำบลนาสะแบง แยกออกจากตำบลชุมภูพร ตั้งตำบลนาสวรรค์ แยกออกจากตำบลโนนสมบูรณ์ และตั้งตำบลพรเจริญ แยกออกจากตำบลศรีชมภู[17]
- วันที่ 23 ตุลาคม 2522 ตั้งตำบลไคสี แยกออกจากตำบลหนองเข็ง ตั้งตำบลโคกกว้าง แยกออกจากตำบลหนองเดิ่น และตั้งตำบลหนองหัวช้าง แยกออกจากตำบลดอนหญ้านาง[18]
- วันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอพรเจริญ อำเภอบึงกาฬ เป็น อำเภอพรเจริญ[19]
- วันที่ 9 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลศรีวิไล แยกออกจากตำบลชุมภูพร[20]
- วันที่ 9 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลชัยพร แยกออกจากตำบลโคกก่อง[21]
- วันที่ 10 ตุลาคม 2529 ตั้งตำบลนาแสง แยกออกจากตำบลนาสะแบง[22]
- วันที่ 25 ธันวาคม 2530 แยกพื้นที่ตำบลศรีวิไล ตำบลชุมภูพร ตำบลนาแสง และตำบลนาสะแบง อำเภอบึงกาฬ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอศรีวิไล ขึ้นกับอำเภอบึงกาฬ[23]
- วันที่ 21 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลวิศิษฐ์ แยกออกจากตำบลบึงกาฬ[24]
- วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 จัดตั้งสุขาภิบาลศรีวิไล ในท้องที่บางส่วนของตำบลศรีวิไล[25]
- วันที่ 17 สิงหาคม 2533 ตั้งตำบลบุ่งคล้า แยกออกจากตำบลหนองเดิ่น[26] ตั้งตำบลคำนาดี แยกออกจากตำบลนาสวรรค์[27]
- วันที่ 31 มกราคม 2534 แยกพื้นที่ตำบลบุ่งคล้า ตำบลหนองเดิ่น และตำบลโคกกว้าง อำเภอบึงกาฬ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอบุ่งคล้า ขึ้นกับอำเภอบึงกาฬ[28]
- วันที่ 14 พฤษภาคม 2534 จัดตั้งศาลจังหวัดบึงกาฬ[29]
- วันที่ 9 ตุลาคม 2535 ตั้งตำบลนาสิงห์ แยกออกจากตำบลศรีวิไล[30]
- วันที่ 3 มิถุนายน 2537 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอศรีวิไล อำเภอบึงกาฬ เป็น อำเภอศรีวิไล[31]
- วันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลโป่งเปือย แยกออกจากตำบลหนองเข็ง[32]
- วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงกาฬ เป็น อำเภอบุ่งคล้า[33]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบึงกาฬ เป็นเทศบาลตำบลบึงกาฬ
- วันที่ 22 มีนาคม 2554 แยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย มาตั้งเป็น จังหวัดบึงกาฬ และเปลี่ยนชื่ออำเภอบึงกาฬ เป็นอำเภอเมืองบึงกาฬ[34]
- วันที่ 16 มิถุนายน 2554 เปลี่ยนชื่อตำบลหนองเข็ง เป็นตำบลโนนสว่าง เนื่องจากมีชื่อซ้ำกับบ้านหนองเข็ง หมู่ที่ 3 ตำบลหอคำ ทำให้เกิดความสับสนในการประสานงาน และติดต่อราชการ[35]
Remove ads
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอเมืองบึงกาฬมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบอลิคำไซ (ประเทศลาว)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบุ่งคล้า
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเซกา อำเภอศรีวิไล อำเภอพรเจริญ และอำเภอโซ่พิสัย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากคาด
การแบ่งเขตการปกครอง
สรุป
มุมมอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเมืองบึงกาฬแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 107 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเมืองบึงกาฬประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองบึงกาฬ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงกาฬและตำบลวิศิษฐ์ทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโนนสว่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสว่างทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหอคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหอคำทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโคกก่อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกก่องทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลไคสี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไคสีทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหนองเลิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเลิงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสมบูรณ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาสวรรค์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชัยพร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยพรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคำนาดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำนาดีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งเปือย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งเปือยทั้งตำบล
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads