เทพสถิต เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด และเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เป็นที่รู้จักดีในหมู่นักท่องเที่ยวว่าเป็นทุ่งดอกปทุมมา หรือ "ทุ่งดอกกระเจียว" ที่ใหญ่และสวยงามมากแห่งหนึ่ง และอำเภอเทพสถิตนับเป็น 1 ใน 4 อำเภอของจังหวัดชัยภูมิที่มีทางรถไฟผ่าน

Thumb
หินช้างเอราวัณ
ข้อมูลเบื้องต้น อำเภอเทพสถิต, การถอดเสียงอักษรโรมัน ...
อำเภอเทพสถิต
การถอดเสียงอักษรโรมัน
  อักษรโรมันAmphoe Thep Sathit
Thumb
สะพานรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตัดข้ามถนนสุรนารายณ์
คำขวัญ: 
ชมทุ่งดอกกระเจียว
เที่ยวป่าหินงาม ลือนามเทพสถิต
Thumb
แผนที่จังหวัดชัยภูมิ เน้นอำเภอเทพสถิต
พิกัด: 15°23′30″N 101°27′0″E
ประเทศ ไทย
จังหวัดชัยภูมิ
พื้นที่
  ทั้งหมด875.6 ตร.กม. (338.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
  ทั้งหมด69,401 คน
  ความหนาแน่น79.26 คน/ตร.กม. (205.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 36230
รหัสภูมิศาสตร์3609
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเทพสถิต หมู่ที่ 1
ถนนสุรนารายณ์ ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ 36230
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ปิด

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเทพสถิตมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

Thumb
สะพานทางรถไฟสายแก่งคอย-บัวใหญ่ข้ามถนนสุรนารายณ์ในเขตอำเภอเทพสถิต
Thumb
ทุ่งดอกปทุมมา
Thumb
ดอกกระเจียว อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม

ประวัติ

อำเภอเทพสถิต เดิมเป็นท้องที่ของตำบลนายางกลัก อำเภอจัตุรัส และตำบลโคกเริงรมย์ อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ และต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ทางราชการได้แยกพื้นที่หมู่ 7,9,11-16 ของตำบลโคกเริงรมย์ ตั้งขึ้นเป็น "ตำบลวะตะแบก"[1][2] และในปี พ.ศ. 2518 ราษฎรในพื้นที่ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่ตำบลวะตะแบก โดยกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าราษฎรทั้งสองตำบล ได้แก่ ตำบลนายางกลัก และตำบลวะตะแบก เป็นตำบลที่อยู่ไกลท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากตัวอำเภอบำเหน็จณรงค์ เจ้าหน้าที่มีโอกาสตรวจเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฎรน้อยมาก เพราะทางคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งอาจเป็นการเสียหายในด้านการปกครอง ประกอบกับหมู่บ้านดังกล่าวมีโอกาสที่จะเจริญในอนาคต เพราะราษฎรอาศัยอยู่กันหนาแน่นมาก และมีพื้นที่ทำมาหากินได้ โดยเฉพาะมีทรัพยากรทางธรรมชาติ พอที่จะยกระดับการครองชีพของราษฎรทั้งสองตำบลดังกล่าวนี้ให้ดียิ่งขึ้น จึงแนะนำประชุมชี้แจงร่วมกับทางอำเภอบำเหน็จณรงค์ รายงานต่อกระทรวงมหาดไทย ขอจัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอที่ตำบลวะตะแบก และในวันที่ 1 สิงหาคม 2519 ทางราชการเห็นว่าท้องที่ตำบลวะตะแบกมีพื้นที่กว้างขวาง จึงให้แยกพื้นที่หมู่ 2-6,13-14 ของตำบลวะตะแบก เพื่อจัดตั้งเป็นตำบลเพิ่ม ตั้งขึ้นเป็น "ตำบลห้วยยายจิ๋ว"[3] ก่อนการเตรียมจัดตั้งกิ่งอำเภอในพื้นที่ขึ้น

ต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลวะตะแบก ตำบลนายางกลัก และตำบลห้วยยายจิ๋ว ออกจากการปกครองของอำเภอบำเหน็จณรงค์ รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอเทพสถิต[4] โดยที่ตั้งที่ว่าการอำเภอชื่อ บ้านวะตะแบก สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เต็มไปด้วยภูเขา มีคนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในป่าลึกบนยอดเขาสูง เรียกว่า “ชาวบน” หรือ “ชาวดง” หรือ “ญัฮกรู”  ซึ่งเป็นชนเผ่ามอญโบราณมีภาษาพูดเป็นของตนเองแต่ไม่มีภาษาเขียน เนื่องจากบริเวณนี้อุดมไปด้วยไม้มีค่าหลายชนิดและสัตว์ป่ามากมายหลายชนิด ทำให้ประชาชนในชุมชนจึงพร้อมใจเปลี่ยนชื่อจาก "วะตะแบก" เป็น "เทพสถิต" อันหมายถึงที่อยู่อาศัยของเทวดาและเทพธิดาทั้งหลาย และในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลนายางกลัก รวมตั้งเป็นตำบลบ้านไร่[5] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2526 จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเทพสถิต[6] จนถึงปัจจุบัน

  • วันที่ 22 มีนาคม 2467 โอนพื้นที่ตำบลนายางกลัก อำเภอจัตุรัส มาขึ้นกับกิ่งอำเภอบ้านชวน อำเภอจัตุรัส[7]
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอบ้านชวน อำเภอจัตุรัส เป็น กิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอจัตุรัส[8]
  • วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอจัตุรัส เป็น อำเภอบำเหน็จณรงค์[9]
  • วันที่ 17 ธันวาคม 2500 ตั้งตำบลโคกเริงรมย์ แยกออกจากตำบลบ้านเพชร[10]
  • วันที่ 1 กันยายน 2513 ตั้งตำบลวะตะแบก แยกออกจากตำบลโคกเริงรมย์[1][2]
  • วันที่ 22 พฤษภาคม 2517 จัดตั้งสภาตำบลวะตะแบก[11]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2519 ตั้งตำบลห้วยยายจิ๋ว แยกออกจากตำบลวะตะแบก[3] และจัดตั้งสภาตำบลห้วยยายจิ๋ว
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2519 แยกพื้นที่ตำบลวะตะแบก ตำบลนายางกลัก และตำบลห้วยยายจิ๋ว จากอำเภอบำเหน็จณรงค์ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเทพสถิต[4] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบำเหน็จณรงค์
  • วันที่ 5 กรกฎาคม 2520 ตั้งตำบลบ้านไร่ แยกออกจากตำบลนายางกลัก[5] และจัดตั้งสภาตำบลบ้านไร่
  • วันที่ 31 มีนาคม 2526 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเทพสถิต อำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็น อำเภอเทพสถิต[6]
  • วันที่ 11 ธันวาคม 2529 ตั้งตำบลโป่งนก แยกออกจากตำบลนายางกลัก[12] และจัดตั้งสภาตำบลโป่งนก
  • วันที่ 11 มิถุนายน 2530 จัดตั้งสุขาภิบาลเทพสถิต ในท้องที่หมู่ 1 และ 2 ของตำบลวะตะแบก[13]
  • วันที่ 30 มกราคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลวะตะแบก (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลเทพสถิต) สภาตำบลนายางกลัก สภาตำบลห้วยยายจิ๋ว สภาตำบลบ้านไร่ และสภาตำบลโป่งนก เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลวะตะแบก องค์การบริหารส่วนตำบลนายางกลัก องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยายจิ๋ว องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ และองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งนก[14] ตามลำดับ
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเทพสถิต เป็นเทศบาลตำบลเทพสถิต[15] ด้วยผลของกฎหมาย

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเทพสถิตแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 92 หมู่บ้าน ได้แก่

1.วะตะแบก(Wa Tabaek)22 หมู่บ้าน
2.ห้วยยายจิ๋ว(Huai Yai Chio)22 หมู่บ้าน
3.นายางกลัก(Na Yang Klak)17 หมู่บ้าน
4.บ้านไร่(Ban Rai)16 หมู่บ้าน
5.โป่งนก(Pong Nok)15 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเทพสถิตประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเทพสถิต ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวะตะแบก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวะตะแบก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวะตะแบก (นอกเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยายจิ๋ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยยายจิ๋วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนายางกลัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนายางกลักทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไร่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งนก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งนกทั้งตำบล
Thumb
ทางเดินในอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม

การศึกษา

โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 4 แห่ง

  • โรงเรียนเทพสถิตวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ
  • โรงเรียนนายางกลักพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ
  • โรงเรียนโป่งนกประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
  • โรงเรียนตรีประชาพัฒนาศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
Thumb
ผาสุดแผ่นดิน ในอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
Thumb
ป่าภายในอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม

สถานที่ท่องเที่ยว

  • อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ตั้งอยู่ในท้องที่ของตำบลโป่งนก ตำบลนายางกลัก ตำบลบ้านไร่ ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต และบางส่วนของตำบลซับใหญ่ อำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 105 ของประเทศไทย เนื้อที่ประมาณ 62,437.50 ไร่ หรือ 99.9 ตารางกิโลเมตร ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2550[16] อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เป็นที่รู้จักดีในหมู่นักท่องเที่ยวว่าเป็นทุ่งดอกปทุมมา (Curcuma alismatifolia) ที่ใหญ่และสวยงามมากแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมีลานหินงาม ซึ่งมีหินรูปร่างแปลกตามากมาย เกิดจากการกัดเซาะของหินทรายเป็นเวลานับพันปี และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญภายในอุทยาน คือ เขาพนมโดม น้ำตกเทพประทาน น้ำตกเทพนา น้ำตกเทพทองคำ จุดชมทิวทัศน์สุดแผ่นดิน ผาก่อ-รัก ลานหินหน่อ
  • หมู่บ้านดิน ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบ้านไร่ เป็นแนวคิดที่ชาวบ้านรวมตัวกันขอเงินทุนจากภาครัฐเพื่อสร้างขึ้นมา บ้านดินของที่นี่จะตั้งเรียงรายกันบนไร่เล็ก ๆ ของชาวบ้าน อากาศโปร่งโล่งสบาย บรรยากาศดี ในช่วงปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ทางทีมงานบ้านดินไทยได้ รับการประสานงานจากหมู่บ้าน (บ้านใหม่ไทยเจริญ) ซึ่งตั้งอยู่บนเขาในอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ว่าต้องการสร้างบ้านดินเพื่อใช้เป็นศูนย์ประสานงานของชุมชน เนื่องจากกรรมการหมู่บ้านเป็นชุดใหม่ และยังไม่มีที่ทำการหมู่บ้าน
  • เทพสถิต วินด์ฟาร์ม เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน โรงไฟฟ้ากังหันลมขนาดกำลังการผลิต 90 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งจากการสำรวจของโปร เวนทุมพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีความเร็วลมเฉลี่ยที่ 6.5 ไมล์ต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วลมที่มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้า ทั้งยังมีลมพัดตลอดทั้งปี โดยคาดว่าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 212,000 เมกะวัตต์ชั่วโมง (MWh) และยังมีแผนพัฒนาทุ่งกังหันลมให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิอีกด้วย
  • วัดเขาประตูชุมพล ตั้งอยู่ในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ตั้งอยู่ก่อนถึงทางขึ้นอุทยานฯ ป่าหินงามประมาณ 500 เมตรเป็นวัดที่ตั้งอยู่ท่ามกลางป่าไม้เบญจพรรณนานาชนิด มีความเป็นธรรมชาติสวยงามภายในบริเวณวัดมีศาลาปฏิบัติธรรมตั้งตระหง่าน สิ่งที่โดดเด่นภายในวัดคือ ซุ้มประตูหินธรรมชาติ ชื่อว่า “ซุ้มประตูชุมพล” มีความมเชื่อกันว่าเมื่อไปถึงแล้วให้อธิฐานขอพรพระแล้วเดินรอดซุ้มประตูชุมพล เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับตัวเองทำกิจการงานใดๆ ก็จะประสบแต่ความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีลานหินที่มีโขดหินน้อยใหญ่มากมายบรรยากาศภายในวัดยังคงเป็นแบบวัดป่า คงความเป็นธรรมชาติร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธ์เหมาะสำหรับการไปปฏิบัติธรรม พักผ่อนหย่อนใจหรือเดินเล่นเพื่อสงบจิต
  • น้ำตกเทพสถิต ตั้งอยู่หมู่บ้านซับไทร หมู่ที่ 15 ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ฤดูกาลท่องเที่ยวคือช่วงเดือนมิถุนายน - เดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน มีจุดชมวิว และสถานที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจหลายจุด
Thumb
มุมมองจากอำเภอเทพสถิต (เบื้องล่างคือจังหวัดลพบุรี)

การคมนาคม

มีถนนสายหลัก คือ ถนนสุรนารายณ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205) เริ่มจากอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ไปยังจังหวัดนครราชสีมา และมีทางรถไฟสายหลักสายชุมทางแก่งคอย - ชุมทางบัวใหญ่ตัดผ่านพื้นที่ โดยอำเภอเทพสถิตมีสถานีรถไฟทั้งหมด 3 สถานี ได้แก่

  • สถานีรถไฟช่องสำราญ ตั้งอยู่ที่บ้านช่องสำราญ ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 250.64 (จากสถานีรถไฟกรุงเทพ) ใช้ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟแบบสัญญาณหางปลา (Semaphore Signals) ซึ่งมีเสาครบถ้วน แลใช้ระบบบังคับประแจแบบสายลวด ตัวย่อสถานี คือ อช.
  • สถานีรถไฟบ้านวะตะแบก (เทพสถิต) ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยเกตุ ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต เป็นสถานีรถไฟชั้น 2 ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 263.14 (จากสถานีรถไฟกรุงเทพ) ใช้ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟแบบสัญญาณหางปลา (Semaphore Signals) ซึ่งมีเสาครบถ้วน แลใช้ระบบบังคับประแจแบบสายลวด ตัวย่อสถานี คือ แบ.
  • สถานีรถไฟห้วยยายจิ๋ว ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยยายจิ๋ว ตำบลห้วยยายจิ๋ว อำเภอเทพสถิต เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 273.13 (จากสถานีรถไฟกรุงเทพ) ใช้ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟแบบสัญญาณหางปลา (Semaphore Signals) ซึ่งมีเสาครบถ้วน แลใช้ระบบบังคับประแจแบบสายลวด ตัวย่อสถานี คือ จย.

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.