Remove ads

เขาวง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์ และเป็นอำเภอที่แยกจากอำเภอกุฉินารายณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตร ปลูกข้าวเหนียวและข้าวเจ้า ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวภูไท พูดภาษาภูไท มีอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และหัตถกรรม ทอผ้า ทำเครื่องจักสาน และไม้กวาด

ข้อมูลเบื้องต้น อำเภอเขาวง, การถอดเสียงอักษรโรมัน ...
อำเภอเขาวง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
  อักษรโรมันAmphoe Khao Wong
คำขวัญ: 
เขาวงดงอู่ข้าว สาวผู้ไทงาม น้ำตกพริ้ว ทิวเขาเรียงราย มากมายผ้าห่ม อุดมวัฒนธรรม อ่างวังคำน้ำใส
ทฤษฎีใหม่น้ำพระทัยจากในหลวง
Thumb
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอเขาวง
พิกัด: 16°42′0″N 104°5′24″E
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์
พื้นที่
  ทั้งหมด205.1 ตร.กม. (79.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
  ทั้งหมด33,885 คน
  ความหนาแน่น165.21 คน/ตร.กม. (427.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 46160
รหัสภูมิศาสตร์4606
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเขาวง หมู่ที่ 16 ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ปิด

ประวัติ

เมืองกุดสิมนารายณ์ และอำเภอเขาวง บรรพชนคนภูไท ได้อพยพโยกย้ายจากเมืองวังฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เข้ามาสู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงสืบเนื่องมาจากการมีปัญหาทางด้านการเมืองการปกครอง ท่านผู้นำพร้อมด้วยบริวารจึงพากันโยกย้ายมาหาที่ทำกินแห่งใหม่ โดยการนำของท่านราชวงศ์กอ การตั้งเมืองกุดสิมนารายณ์ราชวงศ์กอ ท้าวด้วง และท้าวต้อพร้อมด้วยสมัครพรรคพวก ที่ได้อาศัยอยู่บนหลังเขาภูพานเป็นเวลานานพอสมควร ก็ยังเห็นว่าเป็นทำเลที่ยังไม่เหมาะสม ก็เลยพากันอพยพลงมาจากหลังเขาภูพาน จึงได้มาพบสถานที่แห่งหนึ่งเป็นบริเวณกว้างมีลำน้ำสายใหญ่สายหนึง (ลำพะยัง) และลำห้วยเล็กๆอีกหลายสาย ทั้งมีกุดหนองน้ำอีหลายแห่งที่พอจะใช้สอยบริโภค ประกอบอาชีพต่างๆ อีกทั้งยังมีป่าไม้เขียวชะอุ่มร่มรื่นน่าอยู่อาศัย จึงพร้อมใจปักหลักอยู่ตรงนี้ กุดที่พบครั้งแรกมีสิม (โบสถ์) และใบเสมาแกะสลักเป็นลายจึงได้ตั้งชื่อว่าบ้านกุดสิมนารายณ์ พ.ศ. 2388 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่สามแห่งราชวงศ์จักรี มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯให้ราชวงศ์ (กอ) ราชวงศ์เมืองวัง แต่งตั้งเป็นพระธิเบศร์วงศา เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์ คุมคน 3,443 คน ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ ได้รับพระราชทานเงิน 2 ชั่ง ถาดหมาก 1 คณโฑเงินหนึ่งสัปทนการ 1 เสื้อเข้มขามก้านหนึ่ง ผ้าโพกแพรขลิบหนึ่ง ผ้าดำปักทองมีชัยหนึ่ง แพรขาวห่มหนึ่ง ผ้าปูมหนึ่ง ให้ท้าวด้วงเป็นอุปฮาด รับพระราชทานเงิน 10 ตำลึง เสื้อคัดลัดดอกลาย 1 แพรสีทับทิมติดขลิบ1ผ้าห่มขาว 1 ผ้าเชิงปม 1 พระธิเบศร์วงศ์ศา (กอ) เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์คนที่ 1 รับราชการเป็นเจ้าเมืองรวมเวลา 17ปี มีความซื่อสัตย์สุจริตตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ปกครองชาวบ้านอยู่ด้วยความสงบสุข ลุถึงพ.ศ. 2405 ก็ถึงแก่อนิจกรรม พระธิเบศร์วงศา (ด้วง) เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์คนที่ 2 (พ.ศ. 2409-พ.ศ. 2423) ทำหน้าที่เป็นอุปฮาดมาเป็นเวลา 17 ปี และรับหน้าที่รักษาการแทนเจ้าเมือง4 ปี ลุถึง พ.ศ. 2409 จศ.1228 ปีขาลอัฐศก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระบรมราชโองกาฯร โปรดเกล้าฯแต่งตั้งอุปฮาดด้วง เป็นเจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์คนที่ 2 ท่านพระธิเบศร์วงศา (ด้วง) ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่รับราชการ ปกครองชาวเมืองมาด้วยความสงบเรียบร้อยเสมอมาเป็นเวลา 14 ปี ครั้นถึง พ.ศ. 2423 จศ.124 ปีมะโรงโทศก ท่านพระธิเบศร์วงศา ด้วงก็ถึงแก่อนิจกรรม พระธิเบศร์วงศา (กินรี) เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์คน ที่ 3 (2426-2451) ลุถึงพ.ศ. 2426 จศ. 1242 ปี มะแม เบญจศก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท้าวกินรี เป็นพระธิเบศร์วงศา (ต้นตระกูล ภูไท โทธิเบศร์วงศา) เจ้าเมืองกุดสิมนาร่ายณ์ หัวเมืองชั้นตรี พร้อมแต่งตั้งท้าวเพียเป็นหัวหน้าภูไทช่วยทำการในท้าวกินรีเจ้าเมือง ได้แก่ ท้าวสาร (ต้นตระกูล ภูไท วุฒิสาร) ท้าวเสน หรือ ท้าววรเสนไชยะ (ต้นตระกูล ภูไท วรเสนไชยะ, ไชยเขตขันธุ์, ไชยขันธุ์) ท้าวหลอยหลิ่ง (ต้นตระกูล ภูไท ศรีหลิ่ง, ศรีหริ่ง) อนึ่งพระธิเบศร์วงศา (กินรี) ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ปกครองเมืองกุดสิมนารายณ์ ตั้งแต่พ.ศ. 2426-2451 รวมเป็นเวลา 25 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 เมืองกุดสิมนารายณ์ถูกยุบเป็นอำเภอกุดสิมนารายณ์ พระธิเบศร์วงศา (กินรี) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายอำเภอกุดสิมนาร่ยณ์ จนถึงพ.ศ. 2454 ท่านก็ได้ถึงแก่อนิจกรรม เป็นการสิ้นสุดระบบเจ้าเมืองภูไท

อำเภอกุดสิมนารายณ์ เมื่อครั้งที่ตั้งอยู่บ้านกุดสิม มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองอยู่ 4 ท่านคือ

  1. พระธิเบศร์วงศา (กินรี)
  2. ขุนมาลาวินิจฉัย (ขำ พลวิจิตร)
  3. หลวงมหาดไท
  4. หลวงวิภักดิ์สถานุกุล (ลิ มัธยมนันท์)

ลุถึง พ.ศ. 2456 กลางเดือนมีนาคม ทางราชการก็ย้ายเมืองกุดสิมนารายณ์ไปตั้งอยู่ที่บ้านบัวขาว และได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอกุฉินารายณ์ ส่วนที่ตั้งอำเภอเดิมก็กลายมาเป็นตำบล ก็คือตำบลคุ้มเก่านับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2456 มาถึงวันที่1กรกฎาคม 2512 นับเป็นเวลา56 ปี ถือว่าเป็นเวลาที่นานมากจึงได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอเขาวง โดยมีเขตปกครองรวม 5 ตำบลคือ

  1. ตำบลคุ้มเก่า
  2. ตำบลสงเปลือย
  3. ตำบลนาคู
  4. ตำบลภูแล่นช้าง
  5. ตำบลหนองผือ

ต่อมากิ่งอำเภอเขาวงได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเขาวง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2517 ตามพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาวง และเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2538 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศ เรื่องแบ่งเขตท้องที่อำเภอเขาวง จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาคู โดยแยกตำบลนาคู ตำบลภูแล่นช้าง ตำบลบ่อแก้ว ตำบลโนนนาจาน และตำบลสายนาวังรวม 5 ตำบล ทำให้อำเภอเขาวงเดิมมีเขตปกครอง 11 ตำบล เหลือเขตปกครอง 6 ตำบล ได้แก่ตำบลคุ้มเก่า ตำบลกุดปลาค้าว สระพังทอง หนองผือ กุดสิมคุ้มใหม่ และตำบลสงเปลือย

Remove ads

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญเป็นที่ราบบริเวณกว้าง มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีภูเขาล้อมรอบ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ระดับสูงสุด 262 เมตร ต่ำสุด 168 เมตร ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน เนื่องจากที่ตั้งอำเภอมีภูเขาล้อมรอบ อากาศจึงค่อนข้างหนาวและลมค่อนข้างแรงตามบริเวณเชิงเขา เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุด เดือนเมษายนประมาณ 38.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด เดือนมกราคม ประมาณ 12 องศาเซลเซียส

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเขาวงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด บริเวณเทือกเขาภูพาน ห่างจากตัวเมืองกาฬสินธุ์ 91 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเขาวงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 71 หมู่บ้าน

1.คุ้มเก่า(Khum Kao)
2.สงเปลือย(Song Plueai)
3.หนองผือ(Nong Phue)
4.กุดสิมคุ้มใหม่(Kut Sim Khum Mai)
5.สระพังทอง(Saphang Thong)
6.กุดปลาค้าว(Kut Pla Khao)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเขาวงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลกุดสิม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดปลาค้าวทั้งตำบล รวมถึงบางส่วนของตำบลคุ้มเก่าและตำบลกุดสิมคุ้มใหม่
  • เทศบาลตำบลสระพังทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระพังทองทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสงเปลือย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสงเปลือยทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ (นอกเขตเทศบาลตำบลกุดสิม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้มเก่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคุ้มเก่า (นอกเขตเทศบาลตำบลกุดสิม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองผือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองผือทั้งตำบล
Remove ads

สถานที่ท่องเที่ยว

  • วัดป่าพุทธบุตร เป็นแหล่งอบรมจริยธรรม มีพิพิธภัณฑ์ปลาหิน 160 ล้านปี และแหล่งรวบรวมฟอสซิลไม้ ที่เรียกว่า ต้นไม้กลายเป็นหิน
  • อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • น้ำตกตาดทอง
  • วัดวังคำ
  • อุโมงค์ผันน้ำ ภูมิพัฒน์
  • ถนนดิสโก้

สถานที่สำคัญอื่น ๆ

  • สถานศึกษา : โรงเรียนอนุบาล 2 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษา 17 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษา 3 แห่ง วิทยาลัยอาชีวศึกษา 1 แห่ง
  • สถานพยาบาล : โรงพยาบาล 1 แห่งขนาด 90 เตียง สถานีอนามัย 5 แห่ง
  • ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา มีจำนวนวัด 25 แห่ง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.

Remove ads