อัตตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อัตตา (บาลี: อตฺตา; สันสกฤต: आत्मन्) แปลว่า ตัวตน ร่างกาย รูปลักษณะ ตัวเอง หรือวิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออาตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็ก ๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่าง ไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนี้โดยไม่มีสิ้นสุด (นัยพจนา. บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์)

ในศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าเรียกความเชื่อเรื่องอัตตาว่าสัสสตทิฐิ ถือเป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่ง และเรียกว่าอัตตวาทุปาทาน ซึ่งถือเป็นความยึดมั่นถือมั่นประการหนึ่ง

อัตตาในคำไทยทั่วไปใช้ในรูป อัตต, อัต เช่น อัตตาธิปไตย อัตชีวประวัติ อัตภาพ อัตโนมัติ

อัตตาในศาสนาต่าง ๆ

ศาสนาที่มีความเชื่อเรื่องตัวตนหรืออัตตา เรียกอัตตาในชื่อต่าง ๆ ดังนี้

ศาสนาตัวตน
ศาสนาฮินดูพรหมัน/อาตมัน
ศาสนาเชนชีวะ
ศาสนายูดาห์-คริสต์เนเฟช (วิญญาณ)
ศาสนาอิสลามนัฟส์
ลัทธิเต๋าเต๋า
ลัทธิอนุตตรธรรมจิตญาณ/ธรรมญาณ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.