คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

อรุณ บุญชม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อรุณ บุญชม
Remove ads

อรุณ บุญชม (เกิด 11 มีนาคม พ.ศ. 2492) หรือศาสนนามว่า มุฮัมมัดญะลาลุดดีน บิน ฮูเซ็น[1] (อาหรับ: محمد جلال الدين بن حسين) เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 19 แห่งราชอาณาจักรไทย ประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อดีตประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี อดีตประธานกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร

ข้อมูลเบื้องต้น ฮัจญีอรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19 ...
Remove ads

ประวัติ

อรุณเกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2492 ณ บ้านสามอิน ตำบลคลองตัน อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร[1] (ปัจจุบันคือแขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร) บิดาชื่อเซ็น บุญชม หรือ ฮัจยีฮูเซ็น บุญชม มารดาชื่อถม บุญชม หรือฮัจยะห์อาซียะห์ เป็นสัปบุรษมัสยิดฮิดายาตุ้ลอิสลาม เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร[2] จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาอัลฮะดีษและอิสลามศึกษา จากมหาวิทยาลัยมะดีนะฮ์ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช[3]

Remove ads

มัซฮับ

ท่านอาจารย์อรุณนั้น เป็นชาฟิอียะฮ์ (ผู้ยึดมัซฮับชาฟิอี) แบบแท้[ต้องการอ้างอิง] จากการแปลตำราอัลฟิกฮุลมันฮะญีย์ อันเป็นตำราฟิกฮ์ของมัซฮับชาฟิอีที่ประพันธ์โดย บรรดาฟะกีฮ์แห่งมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร[4]

การทำงาน

นายอรุณเคยทำงานเป็นอาจารย์สอนอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับระดับซานาวีย์ ที่โรงเรียนมิฟตาฮุ้ลอุลูมิดดีนียะห์ (บ้านดอน) รวมถึงเป็นวิทยากรบรรยายศาสนธรรมให้แก่สถาบันและองค์กรต่าง ๆ

นอกจากนี้ ก่อนการดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนนตรี นายอรุณเคยดำรงตำแหน่งเป็นอิหม่ามประจำมัสยิดดารุ้ลมุห์ซีนีน (สุเหร่าบ้านดอน) แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร, ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร, รองประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย, ประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี และอีกหลายตำแหน่ง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่แปลหนังสือฮะดีษซอเฮียะฮ์ (จริยวัตรท่านศาสดา) 9 เล่ม, แปลหนังสือริยาดุซซอลิฮัน (จริยธรรมอิสลาม) 7 เล่ม และแปลหนังสืออัลฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) 7 เล่ม[3]

จุฬาราชมนตรี

ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 กระทรวงมหาดไทยได้จัดการประชุมสรรหาและให้ความเห็นชอบผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนที่ 19 แทนที่อาศิส พิทักษ์คุมพล ที่ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม โดยมี ชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุม ซึ่งในครั้งนี้ มีผู้ได้รับเสนอชื่อจำนวน 3 คน และผลการลงคะแนน เป็นดังนี้

ข้อมูลเพิ่มเติม หมายเลข, ชื่อ ...

ดังนั้น จากมติที่ประชุม จึงทำให้นายอรุณดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนที่ 19[5] โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567[6]

Remove ads

อ้างอิง

Loading content...

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads